Browsing by Subject "การตลาด"
Now showing 1 - 12 of 12
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรไทยที่อยู่ในช่วงวัยเจนเนอเรชั่น X มีอายุระหว่าง 42-57 ปี จ านวน 1,145 คน ประมวลข้อมูลโดยการวิเคราะห์ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 1.1 กลุ่มตัวอย่างมีวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านความสนใจที่จะปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 75(SD=0.531) รองลงมาคือ การปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.) 50SD=0.412) และความคิดเห็นต่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 50(SD=0.501) 1.2 องค์ประกอบวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x พบว่ามี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) Happy Planner 2) Happy Safety 3) Happy Thinking 4) Happy Social Information 5) Happy Community 6) Health conscious และ 7 Happy Life 1.3 การจัดกลุ่มวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ได้ 3กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 Easygoing กลุ่มเน้นความสบาย ๆ ไม่จริงจัง เน้นการแสดงความคิดเห็นเป็นหลัก กลุ่มที่ 2 Protection กลุ่มปลอดภัยไม่เสี่ยง การดำเนินชีวิตเน้นความสนใจ เป็นหลัก มีพฤติกรรมสนใจการเข้าร่วมสังคม พบปะเพื่อนฝูง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหาความรู้เรื่องส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อการสูงวัยในอนาคต และ กลุ่มที่ 3 accept Change กลุ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลง ให้ความสนใจในเรื่องการปฏิบัติตนมากที่สุด ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตามกฎของธรรมชาติว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนกลุ่มนี้จึงพร้อมเตรียมตัว เพื่อยอมรับ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุขเน้นความสำเร็จเป็นที่ตั้ง 1. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.3 มีการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์มานานมากกว่า 4 ปีสื่อที่เปิดรับคือ ส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กทุกวัน และส่วนใหญ่ใช้ไลน์อินสตราแกรม ยูทูป สัปดาห์ละ 5-6 วัน อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์และฟังวิทยุสัปดาห์ละ 3-4 วัน ส่วนโหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน วัตถุประสงค์เพื่อติดต่อกับคนรู้จัก อัพเดตสถานะ/ข้อมูลส่วนบุคคลผลงาน/รูปภาพ/ ค้นหาข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลและเพื่อความบันเทิง/ มีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกับผู้อื่นที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ คาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลจากผู้อื่น และ น้อยที่สุดคือต้องการให้คนในสื่อสังคมออนไลน์ตระหนักว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องส าคัญ เปิดรับข่าวสารสุขภาพที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจากเฟซบุ๊ก มากที่สุด รองลงมาคือจากทางไลน์ 2. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ที่นำเสนอคือ การพัฒนาสารโดยใช้กลยุทธ์ SED คือ การสื่อสารต้องเน้นเนื้อหา 1) สร้างความมั่นใจ) Self-Confidence) ในการดำเนินชีวิตให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม 2) เพิ่มพูน (Enhance) เพื่อเพิ่มข้อมูลตามความสนใจและความรู้ในการเพิ่มศักยภาพให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม และ 3) พัฒนา (Develop) ความสนใจในการแสวงหาและเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นในการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับกลุ่มวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล โดยใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์88 478 - Publicationกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุ = Strategies for marketing and communication to promote elderly service businesses(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; 89 1098 - Publicationกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ = Langkasuka food identity communication strategy to promote cultural tourism in three provinces of the Southern border of Thailand(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการสื่อสารการส่งเสริมการท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้(2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังการสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสังเคราะห์เนื้อหาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการสร้างแนวคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 23 คน นำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมจากชนชาติต่าง ๆ ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายหรือโยกย้ายมาในดินแดนลังกาสุกะ และสืบทอดวัฒนธรรมอาหาร เกิดการปรับตัวนำเครื่องเทศ มะพร้าว กะทิ และกรรมวิธีการปรุงใช้กับอาหารและกระบวนการเดิมของผู้คนในท้องถิ่น เกิดเป็นอัตลักษณ์อาหารที่มีกลิ่นเครื่องเทศเฉพาะตัว มีสีเข้ม มีรสหวานจากการใช้น้ำตาลมะพร้าว และความเข้มข้นจากกะทิ ผสมผสานตามหลักศาสนา วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ เกิดเป็นอาหารในพิธีกรรมตามศาสนาที่ให้ความเคารพนับถือ นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมเมนูอาหารจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จำนวน 34 เมนู ทำให้สามารถแยกที่มาของอาหาร ชื่ออาหาร ส่วนผสม กรรมวิธีการปรุง และชนชาติที่มีอิทธิพลต่อเมนูเหล่านี้ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บบันทึกเนื้อหาและช่องทางการสื่อสารออนไลน์และสื่อดั้งเดิมที่ปรากฏระหว่างปี 2560-2564 ด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากสำรวจความคิดเห็นออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วประเทศ จำนวน 1,348 คน จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติ ทำให้เห็นลักษณะทางประชากรส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ระหว่าง 22-36 ปี มากที่สุด จำนวน 817 คิดเป็น ร้อยละ 60.60 เป็นเพศชาย จำนวน 672 คน คิดเป็นร้อยละ 49.90 มากกว่าเพศหญิง และ LGBTQ+ มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 983 คน คิดเป็นร้อยละ72.92 มีรายได้ของอยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท มากที่สุด มีจำนวน 976 คนคิดเป็นร้อยละ 72.40 เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 869 คน คิดเป็นร้อยละ 64.47 รองลงมา เป็นผู้ที่อาศัยในภาคใต้มากที่สุด จำนวน 675 คน คิดเป็นร้อยละ 50.10 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์เป็นช่องทางการสืบค้นเนื้อหาและเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยว จำนวน 805 คน คิดเป็นร้อยละ 66.9 เคยได้ยิน คำว่า ลังกาสุกะ จำนวน 942 คน คิดเป็นร้อยละ 69.90 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่เคยไปมากที่สุด จำนวน 567 คน คิดเป็นร้อยละ 42.10 ผลการวิจัยการสื่อสารอัตลักษณ์ด้วยการจัดองค์ประกอบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” ประกอบด้วย S: Southernmost Heritage หมายถึง มรดกภูมิปัญญาอาหารลังกาสุกะแห่งปลายด้ามขวานของไทย P: Process of Cooking หมายถึง กระบวนการขั้นตอนการปรุงอาหารลังกาสุกะ I: Ingredients หมายถึง ส่วนผสม เครื่องปรุงอาหารรสของอาหารลังกาสุกะเกิดจากการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น C: Culture of food หมายถึง อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะจากผู้คนในวัฒนธรรมเกิดการแลกเปลี่ยนและนำความรู้มาเป็นอาหารอัตลักษณ์ของตนเอง E: Experiences หมายถึง ประสบการณ์จากการปรุงอาหารแบบดั้งเดิม นำมาสร้างมูลค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่นักท่องเที่ยว และ S: Sense หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การเห็นมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรู้รส การได้กลิ่น และความรู้สึกอิ่มเอมใจที่รับรู้ถึงประสบการณ์อาหารลังกาสุกะ ข้อเสนอแนะกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะในงานวิจัยนี้ เกิดจากองค์ประกอบที่ถูกค้นพบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” นำมาสู่แบบจำลอง “SPICE model: Communications Strategies” กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ สะท้อนแนวทางเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารจากความโดดเด่นด้านต่าง ๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 6 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1) “ความภาคภูมิใจ” เกิดจาก Strengthen (S) กลยุทธ์ที่ 2) “อาหารสร้างแรงบันดาลใจ” เกิดจาก Persuasion (P)กลยุทธ์ที่ 3)“เพิ่มขีดความสามรถการแข่งขัน” เกิดจาก Increase Market (I) กลยุทธ์ที่ 4) “ฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะเตรียมพร้อมการแข่งขัน” เกิดจาก Competition (C) กลยุทธ์ที่ 5) “อาหารสร้างประสบการณ์” เกิดจาก Experiences (E) และ กลยุทธ์ที่ 6) “ร่วมแรงร่วมใจ” เกิดจาก Social Integration (S)175 768 - Publicationการจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 2) ศึกษาการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 3) ศึกษาการสร้าง Engagement ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบบันทึก ข้อมูล (Coding Form) การจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย จำนวน 24 สถานี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2561 (2) แนวคำถามสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการ จำนวน 12 คน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านโซเชียลมีเดีย จำนวน 6 คน และผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกร จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน จาก 11 สถานี โทรทัศน์ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้วนำมาประมวลผลข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูลในการวิเคราะห์ Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยและบทสัมภาษณ์เชิงลึกมาประมวลรวมกันและวิเคราะห์เนื้อหาตามเค้าโครงการนำเสนอ โดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) แล้วนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยส่วนงานที่รับผิดชอบด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งสถานีโทรทัศน์ที่มีสัดส่วนการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live ต่อวัน มากที่สุด ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง TNN 24 รวมทุกประเภทรายการ คิดเป็น 69.16% โดยประเภทรายการที่มีการนำเสนอผ่าน Facebook Live มากที่สุด คือ รายการข่าว ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง Nation TV ความยาว 12.55 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ Facebook Live ในการนำมาต่อยอดนำเสนอเป็นรายการออนไลน์เพื่อสร้างยอดวิวและสร้างรายได้ 2. การสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทการประชาสัมพันธ์มาใช้มากที่สุด รองลงมา คือ การโฆษณาตราสินค้าหรือสินค้าในรายการโทรทัศน์ และการวางสินค้าบนโต๊ะผู้ประกาศข่าว การส่งเสริมการตลาดโดยผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกรแนะนำสินค้า และการจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยให้ผู้ชมร่วมสนุกรับของรางวัล และมีการใช้ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อกำหนดราคาในการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live เป็นแพ็คเกจเพื่อให้องค์กร หน่วยงาน และผู้ผลิตสินค้าได้จัดซื้อตามขนาดและความต้องการ 3. การสร้างพันธสัมพันธ์ (Engagement) ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้วิธีการสร้างพันธสัมพันธ์ด้วยการให้ผู้ชมกดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) และ แสดงความคิดเห็น (Comment) ผ่านทาง Facebook Live เพื่อรับของรางวัลหรือร่วมสนุกชิงรางวัล ทั้งผ่านการจัดกิจกรรมและการแสดงคอนเสิร์ต
140 643 - Publicationการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัฒนธรรมเพอรานากัน = Development of innovative marketing communications via online media to promote cultural tourism : Peranakan culture case study(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัฒนธรรมเพอรานากัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อนำเสนอนวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งงานเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารซึ่งเป็นสื่อคลิปวีดีโอ 360 องศา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและเผยแพร่อยู่บนช่อง YouTube จำนวน 107 เรื่อง และระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาสื่อนวัตกรรมต้นแบบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีขั้นตอน คือ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่จะนำมาสร้างเป็นเนื้อหาเพื่อเตรียมการ สำหรับการผลิตสื่อคลิปวิดีโอด้วยเทคโนโลยี VR 360 และการบูรณาการสื่อเข้าสู่แพลดฟอร์มเมทาเวิร์ส นำสื่อนวัตกรรมต้นแบบมาทดสอบด้วยการจัดอภิปรายกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับการสื่อนวัตกรรมต้นแบบก่อนการเผยแพร่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการใช้นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่า เนื้อหาของคลิปที่แสดงให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วมกับ VDO 360 มากที่สุด ร้อยละ 43.93 รองลงมา คือ คลิปที่พาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 37.38 และน้อยที่สุด คือ คลิปแนะนำเทคโนโลยี VR 360 และคลิปที่ใช้เป็นสื่อทางการตลาด ร้อยละ 9.35 เท่ากัน ด้านเทคนิคการถ่ายทำ พบว่า รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพเคลื่อนไหวมากที่สุด ร้อยละ 33.64 รองลงมา คือ รูปแบบการสื่อสารด้วยภาพเคลื่อนไหว ร้อยละ 29.91 และ น้อยที่สุด คือ รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพนิ่งประกอบคำบรรยาย ร้อยละ 1.86 อีกทั้ง พบว่า รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพเคลื่อนไหว 360 องศา สามารถทำให้ความรู้สึกถูกกระตุ้นเร้าและสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ชมโดยผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ ด้วยวิธีการสื่อสาร ด้วยภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว แต่ยังมีข้อจำกัดของการรับรู้ทางความรู้สึกผ่านกลิ่นและรสชาติที่ไม่สามารถสัมผัสได้ผ่านสื่อนี้ 2. นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2.1 การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ นวัตกรรมต้นแบบที่ผลิตขึ้นแสดงเนื้อหาวิถีชีวิตประจำวันของหญิงสาวชาวเพื่่อรานากัน 4 ช่วง วิถีชีวิตยามเช้า จิบน้ำชายามบ่าย การเตรียมอาหารสำหรับมื้อเย็น ชุดการรับประทานอาหาร ใช้นำเสนอวัตถุทางวัฒนธรรมที่เก็บรวบรวมไว้ในบ้านชินประชา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเพื่อรานากันที่ได้รับการบำรุงรักษามาอย่างดีมาเป็นที่สถานที่ถ่ายทำด้วยเทคโนโลยี VDO 360 องศา ที่ผู้ชมสามารถเลือกมุมมองการชมภาพได้ตามต้องการแล้วจึงนำคลิปที่ผลิตสำเร็จมาบูรณาการบนแพลตฟอร์มเมทาเวิร์ส มีความยาวรวม 6.25 นาที 2.2 ผลการอภิปรายกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการทดสอบนวัตกรรม พบว่า ผู้ที่ได้รับชม VDO 360 องศา เกิดความเข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวข้องหรือการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเพื่อรานากันได้ทันที การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่วัฒนธรรม มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่สนใจได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ผ่าน VR และ Metaverse สามารถเปิดโลกวัฒนธรรมได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การศึกษา และการสืบทอดวัฒนธรรมได้ หากได้รับการพัฒนาให้เต็มรูปแบบต่อไป197 564 - Publicationการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าและความคาดหวังต่อการตอบกลับจากแบรนด์ของผู้บริโภคการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าของผู้บริโภค และ 3) เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อการตอบกลับจากแบรนด์บนเพจแบรนด์ของผู้บริโภค โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เชิงคุณภาพ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) หน่วยในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) เนื้อหาคอมเมนต์ที่ปรากฏในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2560 บนเพจทางการของเพจแบรนด์เครื่องดื่มยอดนิยม 3 เพจ ได้แก่ โค้ก จอห์นนี่วอล์คเกอร์ และอิชิตัน รวม 19,753 คอมเมนต์ 2) ผู้ร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล (Coding Sheet) คู่มือบันทึกข้อมูล (Coding Handbook) และแนวคำถามในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแบ่งคำหรือเนื้อหาที่น่าสนใจออกเป็นหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องหรือเหมือนกัน (Thematic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าของผู้บริโภค มีทั้งหมด 21 รูปแบบ ได้แก่ (1) ข้อความ (2) สติกเกอร์ (3) ภาพเคลื่อนไหวไฟล์ GIF (4) สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (5) รูปภาพ (6) วิดีโอ (7) ที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์ (8) แท็กผู้ใช้รายอื่น (9) ข้อความ และสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (10) ข้อความและรูปภาพ (11) ข้อความและวิดีโอ (12) ข้อความและที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์ (13) ข้อความและสติกเกอร์ (14) ข้อความและแท็กผู้ใช้รายอื่น (15) สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และแท็กผู้ใช้รายอื่น (16) สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และรูปภาพ (17) ข้อความ แท็กผู้ใช้รายอื่น และรูปภาพ (18) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ และรูปภาพ (19) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และแท็กผู้ใช้รายอื่น (20) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์และ (21) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ ที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์ และรูปภาพ 2. การคอมเมนต์สามารถแบ่งกลุ่มตามการมีปฏิสัมพันธ์ได้ 3 ด้าน คือ 1) การมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ และ 3) การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล 3. ความคาดหวังของผู้บริโภคต่อการตอบกลับจากแบรนด์ประกอบไปด้วย คาดหวังให้แบรนด์ตอบกลับอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ตอบกลับต้องถูกกาลเทศะ สอดคล้องกับบุคลิกภาพของแบรนด์ อ่านคอมเมนต์ของผู้บริโภคก่อนจะตอบกลับ หากผู้บริโภคถามช่องทางไหน แบรนด์ควรตอบกลับช่องทางนั้น ตอบกลับแบบไม่มีเงื่อนไข ตอบกลับด้วยความใส่ใจและจริงใจ คาดหวังให้เจ้าของแบรนด์มาตอบกลับเอง และคาดหวังให้ความสำคัญกับคอมเมนต์ด้านบวกและด้านลบเท่าๆ กัน
92 1303 - Publicationการรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; การศึกษาเรื่อง “การรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามมุมมองของเจเนอเรชันซี ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ เพื่อศึกษา 1) การรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) การรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นเจเนอเรชันซีซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมปลาย อายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า เจเนอเรชันซีเปิดรับสื่อโซเชียลมีเดียหลายประเภทในชีวิตประจำ แต่มีการรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านเครื่องมือการโฆษณาออนไลน์ค่อนข้างน้อย แต่มีรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านการรีวิวโดยผู้ใช้จริง และผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ทั้งที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ในส่วนการรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า เจเนอเรชันซีตระหนักดีว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำการสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้และเชิญชวนให้พวกเขาสมัครเรียน เจเนอเรชันซี มีบทบาทเชิงรุกในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาการเรียนและสถาบันการศึกษาที่ตนเองสนใจ จึงมักเริ่มต้นด้วยการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของนักศึกษาจากอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาติดตาม เช่น รุ่นพี่โรงเรียนที่ปัจจุบันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา53 444 - Publicationการวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์และอิทธิพลของการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลี กรณีศึกษา : ศิลปินเกาหลีวง GOT7งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย 2 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดบน Facebook Instagram Twitter และการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการนำเสนอสินค้า 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลี โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ด้วยการใช้เครื่องมือลงรหัสสำหรับวิเคราะห์เนื้อหา (Coding Sheet) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561- 31 มกราคม 2562 จำนวนโพสต์รวมกันทั้งสิ้น 380 โพสต์ และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มที่เป็นแฟนคลับ และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นแฟนคลับ จำนวน 10 คน ผลวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการนำเสนอสินค้า ทางด้านการใช้กลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาโดยใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีผ่านช่องทาง Twitter มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น Facebook, Instagram ตามลำดับ ในส่วนของการสื่อสารการตลาด ได้แก่ ประเภทให้ข้อมูลทั่วไป รองลงมาเป็นประเภทให้ข้อมูลด้านการส่งเสริมการตลาดประเภทให้ข้อมูลด้านสินค้า ประเภทให้ข้อมูลด้านสถานที่ ประเภทให้ข้อมูลด้านราคา ตามลำดับ ด้านการนำเสนอข้อมูลโดยใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบภาพ (Picture) รองลงมาเป็นการนำเสนอในรูปแบบคลิปวีดีโอ การนำเสนอในรูปแบบข้อความ (Text) และการนำเสนอในรูปแบบการฝากลิงค์ ตามลำดับ ด้านการนำเสนอเนื้อหา พบว่า วันพฤหัสบดีมีการนำเสนอเนื้อหามากที่สุด ทางด้านช่วงเวลาการนำเสนอเนื้อหา พบว่า ช่วงเวลา 18.01 - 21.00 น. มีการนำเสนอเนื้อหามากที่สุด ทางด้านการนำเสนอต่อเดือน พบว่า เดือนเมษายนมีการนำเสนอเนื้อหามากที่สุด 2) อิทธิพลของการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลี ทางด้านทัศนคติต่อการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการนำเสนอสินค้า พบว่า การใช้ศิลปินเกาหลีเป็นผู้นำเสนอสินค้าสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์ได้ ทางด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ พบว่า สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ได้ รวมถึงสามารถเปิดใจยอมแบรนด์ ทางด้านความตั้งใจซื้อหลังรับชมโฆษณา พบว่า มีผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค
395 1456 - Publicationการศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ในเขตกรุงเทพมหานครงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคนวัยทำงานที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้และไม่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ จำนวน 430 คน โดยใช้วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างโดยอาศัยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Binary Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 25 ถึง 33 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ 15,001 ถึง 25,000 บาท พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เคยบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Colligi Collagen ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้เพื่อบำรุงสุขภาพ ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ 2 เดือนต่อครั้ง มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้ง 1,001 ถึง 1,500 บาท ซื้อจากช่องทางออนไลน์ ผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ ตนเอง และมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสินค้าจากรายการโทรทัศน์ สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้ที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้และผู้ที่ไม่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงระดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ให้ระดับความสำคัญเหมือนกัน คือ ด้านราคา รองลงมา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศและอายุที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ สินค้าผลิตจากธรรมชาติ 100% และสินค้ารสชาติดี ด้านราคา มีการแสดงราคาสินค้าระบุไว้ชัดเจน ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายและมีรูปแบบการชำระเงินได้หลายช่องทาง ด้านการส่งเสริมการตลาด มีการจัดโปรโมชั่นลดราคา แถมสินค้าและมีการจัดกิจกรรม Event ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอมาโด้ในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ถึง 0.10
307 2203 - Publicationการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ = Marketing communication for elderly product(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 ท่าน ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแรก ได้แก่ นักกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ กลุ่มที่สอง ได้แก่ นักวิชาการ และกลุ่มที่สาม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ คือ ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการใช้สื่อ ความต้องการ และสุขภาพ โดยพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุ มีความสนใจเนื้อหาด้านสุขภาพ ใช้งานสื่อร่วมสมัยพร้อม ๆ กับการเปิดรับสื่อดั้งเดิม โดยใช้สื่อเหล่านี้เพื่อเสริมความรู้ ฆ่าเวลา หาความบันเทิง และเชื่อมโยงทางสังคม นอกจากนี้ยังมีวิธีการเปิดรับสารที่สอดคล้องกับวัย สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ส่งสารต้องมีความรู้ในเรื่องที่กำลังสื่อสาร มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของการสื่อสาร มีความสอดคล้องกับลักษณะวิถีชีวิตและความต้องการเปิดรับสารของผู้สูงอายุ และมีบุคลิกลักษณะทางการสื่อสารที่ดี ด้านเนื้อหาจะต้องมีความเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน มีวิธีการเล่าเรื่องและเนื้อหาที่ชวนให้ติดตาม สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก และมีความน่าเชื่อถือ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา ควรใช้ข้อความขนาดใหญ่ เนื้อหาไม่มาก ใช้สีสดใสดึงดูดใจ มีภาพประกอบ และการออกแบบเรียบง่าย ส่วนช่องทางในการสื่อสาร ใช้สื่อออนไลน์ได้แก่ Line Facebook และ Youtube และสื่อดั้งเดิมโดยใช้โทรทัศน์เป็นหลัก40 326 - Publicationรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ = A Causal relationship model of factors affecting the effectiveness of online business marketing communications(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ และ 2) พัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์เป็นการวิจัยแบบผสานได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.916 จากผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน และผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารการตลาด การตลาดออนไลน์ ผู้ดูแลระบบของแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงและกลุ่ม Youtuber จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) การออกแบบเทคโนโลยี การยอมรับเทคโนโลยีและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ ได้แก่ CAP FC ประกอบด้วย (1) C: Commerce Cost เลือกสื่อสังคมออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงงบประมาณในการทำโฆษณา (2) A: Admin Communication ให้มีการใช้ Chatbot สำหรับตอบคำถามพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้ข้อมูล (3) P: Platform Marketing Mix พัฒนาช่องทางออนไลน์ของตนเอง และทำส่งเสริมการขายผ่านแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียง (4) F: Follower Consumer สร้างผู้ติดตาม และ (5) C: Communication Social เลือกช่องทางการสื่อสารออนไลน์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย48 529 - Publicationแนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม = Marketing communication guidelines for enhancing sustainability in community markets in Thailand : a case study of Tong Chom Market(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยเรื่อง “แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม ผลการวิจัย พบว่า โครงการตลาดต้องชมมีการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ และสื่อสารผ่านการจัดกิจกรรมพิเศษ ทั้งนี้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโครงการตลาดต้องชม อยู่ในระดับปานกลาง และประเภทของสื่อที่ใช้เปิดรับข่าวสารตลาดต้องชมมากที่สุด ได้แก่ สื่อออนไลน์ และสื่อบุคคล สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของตลาดต้องชม พบว่า ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านผู้รับสาร ส่งผลต่อความยั่งยืนของตลาดต้องชม โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความยั่งยืนของตลาดต้องชมในอนาคตได้ร้อยละ 69 และแนวทางทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม มีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง คือ 1) แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของโครงการตลาดต้องชม สำหรับกรมการค้าภายใน เรียกว่าโมเดล CHOM และ 2) แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนสำหรับตลาดต้องชม เรียกว่าโมเดล CHOMarke145 1086