Options
กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ = Langkasuka food identity communication strategy to promote cultural tourism in three provinces of the Southern border of Thailand
Loading...
File(s)
Alternative Title(s)
Langkasuka food identity communication strategy to promote cultural tourism in three provinces of the Southern border of Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2022
Resource Type
Doctoral thesis
Language
Thai
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการสื่อสารการส่งเสริมการท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้(2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังการสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสังเคราะห์เนื้อหาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการสร้างแนวคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 23 คน นำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมจากชนชาติต่าง ๆ ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายหรือโยกย้ายมาในดินแดนลังกาสุกะ และสืบทอดวัฒนธรรมอาหาร เกิดการปรับตัวนำเครื่องเทศ มะพร้าว กะทิ และกรรมวิธีการปรุงใช้กับอาหารและกระบวนการเดิมของผู้คนในท้องถิ่น เกิดเป็นอัตลักษณ์อาหารที่มีกลิ่นเครื่องเทศเฉพาะตัว มีสีเข้ม มีรสหวานจากการใช้น้ำตาลมะพร้าว และความเข้มข้นจากกะทิ ผสมผสานตามหลักศาสนา วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ เกิดเป็นอาหารในพิธีกรรมตามศาสนาที่ให้ความเคารพนับถือ นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมเมนูอาหารจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จำนวน 34 เมนู ทำให้สามารถแยกที่มาของอาหาร ชื่ออาหาร ส่วนผสม กรรมวิธีการปรุง และชนชาติที่มีอิทธิพลต่อเมนูเหล่านี้ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บบันทึกเนื้อหาและช่องทางการสื่อสารออนไลน์และสื่อดั้งเดิมที่ปรากฏระหว่างปี 2560-2564 ด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากสำรวจความคิดเห็นออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วประเทศ จำนวน 1,348 คน จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติ ทำให้เห็นลักษณะทางประชากรส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ระหว่าง 22-36 ปี มากที่สุด จำนวน 817 คิดเป็น ร้อยละ 60.60 เป็นเพศชาย จำนวน 672 คน คิดเป็นร้อยละ 49.90 มากกว่าเพศหญิง และ LGBTQ+ มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 983 คน คิดเป็นร้อยละ72.92 มีรายได้ของอยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท มากที่สุด มีจำนวน 976 คนคิดเป็นร้อยละ 72.40 เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 869 คน คิดเป็นร้อยละ 64.47 รองลงมา เป็นผู้ที่อาศัยในภาคใต้มากที่สุด จำนวน 675 คน คิดเป็นร้อยละ 50.10 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์เป็นช่องทางการสืบค้นเนื้อหาและเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยว จำนวน 805 คน คิดเป็นร้อยละ 66.9 เคยได้ยิน คำว่า ลังกาสุกะ จำนวน 942 คน คิดเป็นร้อยละ 69.90 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่เคยไปมากที่สุด จำนวน 567 คน คิดเป็นร้อยละ 42.10 ผลการวิจัยการสื่อสารอัตลักษณ์ด้วยการจัดองค์ประกอบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” ประกอบด้วย S: Southernmost Heritage หมายถึง มรดกภูมิปัญญาอาหารลังกาสุกะแห่งปลายด้ามขวานของไทย P: Process of Cooking หมายถึง กระบวนการขั้นตอนการปรุงอาหารลังกาสุกะ I: Ingredients หมายถึง ส่วนผสม เครื่องปรุงอาหารรสของอาหารลังกาสุกะเกิดจากการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น C: Culture of food หมายถึง อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะจากผู้คนในวัฒนธรรมเกิดการแลกเปลี่ยนและนำความรู้มาเป็นอาหารอัตลักษณ์ของตนเอง E: Experiences หมายถึง ประสบการณ์จากการปรุงอาหารแบบดั้งเดิม นำมาสร้างมูลค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่นักท่องเที่ยว และ S: Sense หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การเห็นมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรู้รส การได้กลิ่น และความรู้สึกอิ่มเอมใจที่รับรู้ถึงประสบการณ์อาหารลังกาสุกะ ข้อเสนอแนะกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะในงานวิจัยนี้ เกิดจากองค์ประกอบที่ถูกค้นพบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” นำมาสู่แบบจำลอง “SPICE model: Communications Strategies” กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ สะท้อนแนวทางเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารจากความโดดเด่นด้านต่าง ๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 6 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1) “ความภาคภูมิใจ” เกิดจาก Strengthen (S) กลยุทธ์ที่ 2) “อาหารสร้างแรงบันดาลใจ” เกิดจาก Persuasion (P)กลยุทธ์ที่ 3)“เพิ่มขีดความสามรถการแข่งขัน” เกิดจาก Increase Market (I) กลยุทธ์ที่ 4) “ฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะเตรียมพร้อมการแข่งขัน” เกิดจาก Competition (C) กลยุทธ์ที่ 5) “อาหารสร้างประสบการณ์” เกิดจาก Experiences (E) และ กลยุทธ์ที่ 6) “ร่วมแรงร่วมใจ” เกิดจาก Social Integration (S)
The research objectives were as follows: (1) to study the communication condition of tourism promotion in the three southern border provinces; (2) to study the opinions on the communication of Langkasuka food identity to promote food tourism in the three southern border provinces; and (3) to present a strategy for communication of Langkasuka food identity to promote food tourism in the three southern border provinces. The research methodology is a hybrid of qualitative and quantitative methods, with a theoretical foundation and related theories framework as a guideline for in-depth interviews with 23 key informants. The interview results were analyzed for content that Langkasuka food identity arose from a mingling of cultures from various peoples who came to trade or migrate to Langkasuka's land, and pass down food culture Spices, coconut, coconut milk, and cooking methods were adapted to the traditional food and processes of the local people. It is a food identity with a distinct spice aroma, dark color, and sweet taste from coconut sugar and the concentration of coconut milk mix born as food in religious rituals that respect religion, lifestyle, and occupation. Furthermore, food menus can be derived from the content analysis of 34 menus, allowing the origin of the food, the name of the food, the ingredients, the cooking process, and the ethnicities that influenced these menus to be distinguished. Non-participant observations documented the content and communication channels that appeared online and in traditional media between 2017 and 2021. In terms of quantitative research methodology, data were collected from online opinion polls from 1,348 respondents from all provinces of Thailand country, and the results were analyzed with statistical tools to reveal most demographic aged between 22-36 years, total 817 to representing 60.60%, were 672 males, representing 49.90 percent more than females, and LGBTQ+ had a bachelor's degree the most, 983 people accounted for percent. 72.92 with incomes between 10,001 - 30,000 baht, the most with 976 people, representing 72.40%, are the most Buddhists, 869 people, accounting for 64.47%, followed by those who live in the southern region the most. 675 people, representing 50.10%, with the majority of respondents using online communication channels as a channel for content searching and exposure to travel news, 805 people representing 66.9 percent had heard of the word Langkasuka, 942 people accounted for 69.90 percent, Narathiwat Province was the province who had been the most, with a total of 567 people, representing 42.10%. The results of the research on identity communication by composition through the model "SPICES Model: Food Identity Communication" consisted of (S): Southernmost Heritage, referring to Langkasuka food wisdom heritage of Thai ax handle (P): Process of Cooking refers to the process of cooking Langkasuka (I) : Ingredients means ingredients, food ingredients, flavor of Langkasuka food resulting from knowledge transfer from generations. To generation (C): Culture of food means the identity of Langkasuka food from people in the culture exchange and bring knowledge to be a fun food. (E): Experiences refers to the experience of traditional cooking. To create value to promote food tourism to tourists and (S): Sense refers to the use of the six senses, namely sight, hearing, touch, taste, smell, and perceived euphoria. To the Langkasuka food experience. The suggestions of communication strategies for Langkasuka food identity in this researchoriginated from elements discovered through the model "SPICES Model: Food Identity Communication" leading to the model "SPICE model: Communications Strategies", a strategy for communicating Langkasuka food identity to promote food tourism in the three southernmost provinces. Reflecting on the approach to present communication strategies from outstanding aspects in the three southern border provinces, totaling 6 strategies, The consisting of Strategy 1) "The Pride" caused by Strengthen (S), Strategy 2) "The Inspiring food" caused by Persuasion (P), Strategy 3) “Increasing competitive competitiveness” caused by Increase Market (I), Strategy 4) “The practice to increase skills and prepare for competition” caused by Competition (C), Strategy 5) “The food create experience” is caused by Experiences (E) and Strategy 6) “Joint force” is caused by Social Integration (S).
Description
ดุษฎีนิพนธ์ (นศ.ด. (นิเทศศาสตร์การตลาด)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2565.
Degree Level
Doctoral
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
รณภพ นพสุวรรณ. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ = Langkasuka food identity communication strategy to promote cultural tourism in three provinces of the Southern border of Thailand.
รณภพ นพสุวรรณ (2565). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ = Langkasuka food identity communication strategy to promote cultural tourism in three provinces of the Southern border of Thailand.
Views
175
Last Week
1
1
Last Month
7
7
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
768
Last Week
5
5
Last Month
40
40
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024