Options
กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x
Loading...
File(s)
Alternative Title(s)
Marketing communication strategies to create graceful aging lifestyle awareness of the Generation-x
Author(s)
Advisor(s)
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2022
Resource Type
Doctoral thesis
Language
Thai
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรไทยที่อยู่ในช่วงวัยเจนเนอเรชั่น X มีอายุระหว่าง 42-57 ปี จ านวน 1,145 คน ประมวลข้อมูลโดยการวิเคราะห์ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 1.1 กลุ่มตัวอย่างมีวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านความสนใจที่จะปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 75(SD=0.531) รองลงมาคือ การปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.) 50SD=0.412) และความคิดเห็นต่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 50(SD=0.501) 1.2 องค์ประกอบวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x พบว่ามี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) Happy Planner 2) Happy Safety 3) Happy Thinking 4) Happy Social Information 5) Happy Community 6) Health conscious และ 7 Happy Life 1.3 การจัดกลุ่มวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ได้ 3กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 Easygoing กลุ่มเน้นความสบาย ๆ ไม่จริงจัง เน้นการแสดงความคิดเห็นเป็นหลัก กลุ่มที่ 2 Protection กลุ่มปลอดภัยไม่เสี่ยง การดำเนินชีวิตเน้นความสนใจ เป็นหลัก มีพฤติกรรมสนใจการเข้าร่วมสังคม พบปะเพื่อนฝูง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหาความรู้เรื่องส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อการสูงวัยในอนาคต และ กลุ่มที่ 3 accept Change กลุ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลง ให้ความสนใจในเรื่องการปฏิบัติตนมากที่สุด ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตามกฎของธรรมชาติว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนกลุ่มนี้จึงพร้อมเตรียมตัว เพื่อยอมรับ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุขเน้นความสำเร็จเป็นที่ตั้ง 1. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.3 มีการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์มานานมากกว่า 4 ปีสื่อที่เปิดรับคือ ส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กทุกวัน และส่วนใหญ่ใช้ไลน์อินสตราแกรม ยูทูป สัปดาห์ละ 5-6 วัน อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์และฟังวิทยุสัปดาห์ละ 3-4 วัน ส่วนโหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน วัตถุประสงค์เพื่อติดต่อกับคนรู้จัก อัพเดตสถานะ/ข้อมูลส่วนบุคคลผลงาน/รูปภาพ/ ค้นหาข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลและเพื่อความบันเทิง/ มีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกับผู้อื่นที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ คาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลจากผู้อื่น และ น้อยที่สุดคือต้องการให้คนในสื่อสังคมออนไลน์ตระหนักว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องส าคัญ เปิดรับข่าวสารสุขภาพที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจากเฟซบุ๊ก มากที่สุด รองลงมาคือจากทางไลน์ 2. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ที่นำเสนอคือ การพัฒนาสารโดยใช้กลยุทธ์ SED คือ การสื่อสารต้องเน้นเนื้อหา 1) สร้างความมั่นใจ) Self-Confidence) ในการดำเนินชีวิตให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม 2) เพิ่มพูน (Enhance) เพื่อเพิ่มข้อมูลตามความสนใจและความรู้ในการเพิ่มศักยภาพให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม และ 3) พัฒนา (Develop) ความสนใจในการแสวงหาและเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นในการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับกลุ่มวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล โดยใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์
The objectives of this research were 1) to study the graceful aging lifestyle of people in Gen-X age, 2) to study the media exposure behavior of people in Gen-x age, and 3) to propose marketing communication strategies to promote the graceful aging lifestyle of Gen-X people. Data were collected using a questionnaire from a sample of the Thai population in the age range of Gen X, aged between 42-57 years, totaling 1,145 people. Data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and exploratory component analysis. The study results were as follows: 1. Lifestyle for graceful aging of Gen-x 1.1 The respondents had a graceful aging lifestyle at a higand 7) a happy life component 1.3 Classifying lifestyles for graceful aging of people in Gen-x Gen-x ages into three groups. Group 1 Easygoing focuses on being casual and not taking things seriously, mainly on expressing opinions. Group 2 Protection, safe group, not risky Living life focuses primarily on interests. Behaviors are interested in social participation and meeting friends to participate in knowledge-seeking activities to promote the quality of life for future aging. The third group is Accept Change, which accepts changes and is most interested in performing graceful aging activities. They take the change in physical condition as the laws of nature are inevitable and accept and adapt to social situations and the environment happily, focusing on success. 2. Media exposure behavior of people in Gen-X age found that most, 88.3%, have been exposed to social media for over four years. Most of them use Facebook every day. And most of them use Line, Instagram, and YouTube 5-6 days a week, read newspapers, watch TV and listen to the radio for 3-4 days a week. Most use smartphones. The purpose is to contact acquaintances, update status/personal information/pictures/work, search for information/exchange information, and entertainment. The health information search aims to share health knowledge with others on social media, followed by the expectation to receive information from others. The least is to want people on Social media to recognize that health care is essential. Most were exposed to health news related to the elderly from Facebook, followed by Line. 3. Marketing communication strategies to create awareness of lifestyles for graceful aging individuals in the Gen-X group presented the SED principle as a message strategy. The development of messages using the SED strategy is contentoriented communication. It comprises 1) Build Confidence; having the self-confidence to live a graceful elderly life. 2) Enhance and adds information according to interest and knowledge to increase the potential to be a graceful older adult. And 3) Develop interest in seeking and accessing basic information about graceful aging. This message must be created by following each individual's lifestyle and using social media to reach this group
Description
ดุษฎีนิพนธ์ (นศ.ด. (นิเทศศาสตร์การตลาด)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2565.
Degree Level
Doctoral
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ศิดานุช กิตติเสรีกุล. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x = Marketing communication strategies to create graceful aging lifestyle awareness of the Generation-x.
ศิดานุช กิตติเสรีกุล (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x = Marketing communication strategies to create graceful aging lifestyle awareness of the Generation-x.
Views
88
Last Month
1
1
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
478
Last Week
7
7
Last Month
28
28
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024