CA: Dissertations
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing CA: Dissertations by Author "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์."
Now showing 1 - 7 of 7
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรไทยที่อยู่ในช่วงวัยเจนเนอเรชั่น X มีอายุระหว่าง 42-57 ปี จ านวน 1,145 คน ประมวลข้อมูลโดยการวิเคราะห์ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 1.1 กลุ่มตัวอย่างมีวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านความสนใจที่จะปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 75(SD=0.531) รองลงมาคือ การปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.) 50SD=0.412) และความคิดเห็นต่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 50(SD=0.501) 1.2 องค์ประกอบวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x พบว่ามี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) Happy Planner 2) Happy Safety 3) Happy Thinking 4) Happy Social Information 5) Happy Community 6) Health conscious และ 7 Happy Life 1.3 การจัดกลุ่มวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ได้ 3กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 Easygoing กลุ่มเน้นความสบาย ๆ ไม่จริงจัง เน้นการแสดงความคิดเห็นเป็นหลัก กลุ่มที่ 2 Protection กลุ่มปลอดภัยไม่เสี่ยง การดำเนินชีวิตเน้นความสนใจ เป็นหลัก มีพฤติกรรมสนใจการเข้าร่วมสังคม พบปะเพื่อนฝูง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหาความรู้เรื่องส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อการสูงวัยในอนาคต และ กลุ่มที่ 3 accept Change กลุ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลง ให้ความสนใจในเรื่องการปฏิบัติตนมากที่สุด ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตามกฎของธรรมชาติว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนกลุ่มนี้จึงพร้อมเตรียมตัว เพื่อยอมรับ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุขเน้นความสำเร็จเป็นที่ตั้ง 1. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.3 มีการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์มานานมากกว่า 4 ปีสื่อที่เปิดรับคือ ส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กทุกวัน และส่วนใหญ่ใช้ไลน์อินสตราแกรม ยูทูป สัปดาห์ละ 5-6 วัน อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์และฟังวิทยุสัปดาห์ละ 3-4 วัน ส่วนโหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน วัตถุประสงค์เพื่อติดต่อกับคนรู้จัก อัพเดตสถานะ/ข้อมูลส่วนบุคคลผลงาน/รูปภาพ/ ค้นหาข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลและเพื่อความบันเทิง/ มีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกับผู้อื่นที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ คาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลจากผู้อื่น และ น้อยที่สุดคือต้องการให้คนในสื่อสังคมออนไลน์ตระหนักว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องส าคัญ เปิดรับข่าวสารสุขภาพที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจากเฟซบุ๊ก มากที่สุด รองลงมาคือจากทางไลน์ 2. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ที่นำเสนอคือ การพัฒนาสารโดยใช้กลยุทธ์ SED คือ การสื่อสารต้องเน้นเนื้อหา 1) สร้างความมั่นใจ) Self-Confidence) ในการดำเนินชีวิตให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม 2) เพิ่มพูน (Enhance) เพื่อเพิ่มข้อมูลตามความสนใจและความรู้ในการเพิ่มศักยภาพให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม และ 3) พัฒนา (Develop) ความสนใจในการแสวงหาและเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นในการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับกลุ่มวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล โดยใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์88 478 - Publicationกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุ = Strategies for marketing and communication to promote elderly service businesses(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; 89 1098 - Publicationกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ = Langkasuka food identity communication strategy to promote cultural tourism in three provinces of the Southern border of Thailand(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการสื่อสารการส่งเสริมการท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้(2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังการสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสังเคราะห์เนื้อหาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการสร้างแนวคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 23 คน นำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมจากชนชาติต่าง ๆ ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายหรือโยกย้ายมาในดินแดนลังกาสุกะ และสืบทอดวัฒนธรรมอาหาร เกิดการปรับตัวนำเครื่องเทศ มะพร้าว กะทิ และกรรมวิธีการปรุงใช้กับอาหารและกระบวนการเดิมของผู้คนในท้องถิ่น เกิดเป็นอัตลักษณ์อาหารที่มีกลิ่นเครื่องเทศเฉพาะตัว มีสีเข้ม มีรสหวานจากการใช้น้ำตาลมะพร้าว และความเข้มข้นจากกะทิ ผสมผสานตามหลักศาสนา วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ เกิดเป็นอาหารในพิธีกรรมตามศาสนาที่ให้ความเคารพนับถือ นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมเมนูอาหารจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จำนวน 34 เมนู ทำให้สามารถแยกที่มาของอาหาร ชื่ออาหาร ส่วนผสม กรรมวิธีการปรุง และชนชาติที่มีอิทธิพลต่อเมนูเหล่านี้ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บบันทึกเนื้อหาและช่องทางการสื่อสารออนไลน์และสื่อดั้งเดิมที่ปรากฏระหว่างปี 2560-2564 ด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากสำรวจความคิดเห็นออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วประเทศ จำนวน 1,348 คน จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติ ทำให้เห็นลักษณะทางประชากรส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ระหว่าง 22-36 ปี มากที่สุด จำนวน 817 คิดเป็น ร้อยละ 60.60 เป็นเพศชาย จำนวน 672 คน คิดเป็นร้อยละ 49.90 มากกว่าเพศหญิง และ LGBTQ+ มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 983 คน คิดเป็นร้อยละ72.92 มีรายได้ของอยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท มากที่สุด มีจำนวน 976 คนคิดเป็นร้อยละ 72.40 เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 869 คน คิดเป็นร้อยละ 64.47 รองลงมา เป็นผู้ที่อาศัยในภาคใต้มากที่สุด จำนวน 675 คน คิดเป็นร้อยละ 50.10 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์เป็นช่องทางการสืบค้นเนื้อหาและเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยว จำนวน 805 คน คิดเป็นร้อยละ 66.9 เคยได้ยิน คำว่า ลังกาสุกะ จำนวน 942 คน คิดเป็นร้อยละ 69.90 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่เคยไปมากที่สุด จำนวน 567 คน คิดเป็นร้อยละ 42.10 ผลการวิจัยการสื่อสารอัตลักษณ์ด้วยการจัดองค์ประกอบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” ประกอบด้วย S: Southernmost Heritage หมายถึง มรดกภูมิปัญญาอาหารลังกาสุกะแห่งปลายด้ามขวานของไทย P: Process of Cooking หมายถึง กระบวนการขั้นตอนการปรุงอาหารลังกาสุกะ I: Ingredients หมายถึง ส่วนผสม เครื่องปรุงอาหารรสของอาหารลังกาสุกะเกิดจากการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น C: Culture of food หมายถึง อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะจากผู้คนในวัฒนธรรมเกิดการแลกเปลี่ยนและนำความรู้มาเป็นอาหารอัตลักษณ์ของตนเอง E: Experiences หมายถึง ประสบการณ์จากการปรุงอาหารแบบดั้งเดิม นำมาสร้างมูลค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่นักท่องเที่ยว และ S: Sense หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การเห็นมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรู้รส การได้กลิ่น และความรู้สึกอิ่มเอมใจที่รับรู้ถึงประสบการณ์อาหารลังกาสุกะ ข้อเสนอแนะกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะในงานวิจัยนี้ เกิดจากองค์ประกอบที่ถูกค้นพบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” นำมาสู่แบบจำลอง “SPICE model: Communications Strategies” กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ สะท้อนแนวทางเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารจากความโดดเด่นด้านต่าง ๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 6 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1) “ความภาคภูมิใจ” เกิดจาก Strengthen (S) กลยุทธ์ที่ 2) “อาหารสร้างแรงบันดาลใจ” เกิดจาก Persuasion (P)กลยุทธ์ที่ 3)“เพิ่มขีดความสามรถการแข่งขัน” เกิดจาก Increase Market (I) กลยุทธ์ที่ 4) “ฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะเตรียมพร้อมการแข่งขัน” เกิดจาก Competition (C) กลยุทธ์ที่ 5) “อาหารสร้างประสบการณ์” เกิดจาก Experiences (E) และ กลยุทธ์ที่ 6) “ร่วมแรงร่วมใจ” เกิดจาก Social Integration (S)175 768 - Publicationการจัดการตราสินค้าบุคคลของ ธงไชย แมคอินไตย์ และความผูกพันมั่นคงของแฟนคลับ = Personal brand management of Thongchai McIntyre and Fan Club's loyalty(University of the Thai Chamber of Commerce, 2023)
; ; ; ; งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ศึกษาด้วยวิธีวิทยาผสมผสานระหว่างวิธีวิทยาการวิเคราะห์การสนทนาและวิธีวิทยาการศึกษาเรื่องเล่า มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของ ธงไชย แมคอินไตย์ และ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาด้านความผูกพันมั่นคงของแฟนคลับ ธงไชย แมคอินไตย์ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ธงไชย แมคอินไตย์ ผู้จัดการส่วนตัว ผู้ร่วมงาน และแฟนคลับ รวมจำนวน 37 คน ผลการวิจัย พบว่า ธงไชย แมคอินไตย์ มีอัตลักษณ์ตราสินค้าบุคคลในฐานะศิลปินนักร้อง ครบสมบูรณ์ 4 ด้าน ซึ่งเป็นไปตามค่านิยมและวัฒนธรรมประเพณีไทย ปรากฏผ่านผลงาน ความสามารถและตัวตน และการสนับสนุนจากบริษัทค่ายเพลงต้นสังกัด ดังนี้ 1) นักร้องที่มีความสมบูรณ์แบบด้วยคุณสมบัติ คุณลักษณะพิเศษ และเป็นต้นแบบที่มีความร่วมสมัยอยู่เสมอ และทรงอิทธิพลต่อผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 2) แสดงภาพสะท้อนองค์กรต้นสังกัดด้วยผลงานคุณภาพ นวัตกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมจนสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตราสินค้าย่อยในกลุ่มผลงานของ ธงไชย แมคอินไตย์ 3) ตัวตนที่สะท้อนความสัมพันธ์ในฐานะ พี่ชาย ด้วยบุคลิกภาพ 7 ด้านคือ ความจริงใจ ความตื่นเต้นเร้าใจ ความสามารถ ความลุ่มลึก ความเข้มแข็ง ความกตัญญู และความโอบอ้อมอารี และ 4) มีน้ำเสียงที่โดดเด่น และสัญลักษณ์เทียบได้กับตัวอักษร B หรือ Bird ภาพนกนางนวล และโทนสีฟ้า-น้ำเงิน ซึ่งนำมาประกอบตราสัญลักษณ์คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด (BABB BIRD BIRD) มีฉายาบันเทิงคือ ซูเปอร์สตาร์ตลอดกาล และการรักษาชื่อเสียงที่สั่งสมมายาวนาน การพัฒนาด้านความผูกพันมั่นคงของแฟนคลับ ธงไชย แมคอินไตย์ พบว่า ผู้สร้างความผูกพันมั่นคงที่ยั่งยืน คือ ตัวตนศิลปิน ตัวแทนศิลปิน ผลงาน และเครือข่ายแฟนคลับ โดยมีแฟนคลับ 3 กลุ่ม คือ ผู้ติดตามใกล้ชิดเข้าถึงข้อมูลผ่านผู้จัดการส่วนตัวศิลปิน ผู้ติดตามใกล้ชิดผ่านสื่อต่าง ๆและผู้ติดตามทั่วไป สื่อสารผ่านกิจกรรมและสื่อออนไลน์ของศิลปิน และช่องทางสื่อสารของเครือข่ายแฟนคลับ และมีปัจจัยสร้างความผูกพันมั่นคง ได้แก่ ด้านเหตุผล คือ 1) การสร้างความมั่นใจ ด้วยผลงานคุณภาพ ความเป็นมืออาชีพ การสนับสนุนจากค่ายเพลงต้นสังกัด อิทธิพลจากครอบครัวแฟนคลับ และ 2) การแสดงความซื่อสัตย์และความจริงใจ คือ ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและดูแลผู้อื่นอย่างจริงใจ เปิดเผยข้อมูลความจริงใจ การแสงความเมตตากรุณา และปราศจากชื่อเสียงเชิงลบ ด้านอารมณ์ คือ 1) การสร้างความภูมิใจ จากชื่อเสียงและความนิยมที่สั่งสมยาวนาน การประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี เป็นต้นแบบ และ 2) การสร้างความหลงใหล ด้วยการปฏิบัติต่อผู้อื่นเสมือนคนในครอบครัว มอบความพิเศษเฉพาะบุคคล สร้างคุณค่าแห่งการรอคอย และมีความเสมอต้นเสมอปลาย255 537 - Publicationการพัฒนาตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวในอุตสาหกรรมข่าวของประเทศไทย = The Development of Thai News organization’s corporate brand credibility indicator(University of the Thai Chamber of Commerce, 2023)
; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสร้างโมเดลตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวสำหรับอุตสาหกรรมข่าวของประเทศไทย จากกระบวนการพัฒนา ดังนี้ 1.) การสังเคราะห์ตัวชี้วัดจากการวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยตั้งแต่ปี ค.ศ.1953-2022 โดยสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลทางวิชาการในระบบออนไลน์ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะงานวิจัยที่มีการใช้ตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือ และ งานวิจัยที่มุ่งแสวงหาตัวชี้วัด จากเกณฑ์ดังกล่าว มีงานวิจัยของต่างประเทศที่ศึกษาทั้งสิ้น 107 เรื่อง และประเทศไทย 12 เรื่อง ใช้แบบจำแนกข้อมูลเป็นเครื่องมือ โดยทดสอบด้วยค่าความเชื่อมั่นได้เป็น 0.80 - 1.00 ตามสูตรของโฮสติ (Holsti, 1969) 2). การสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิชาการ และนักวิชาชีพด้านข่าว และ ตราสินค้าสื่อมวลชน 3.) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างตัวชี้วัด กับข้อกำหนดด้านจริยธรรมขององค์กรวิชาชีพด้านข่าวในประเทศไทย แนวคิดเกี่ยวกับตราสินค้าและผลการสัมภาษณ์เชิงลึก 4.) การวิจัยเชิงสำรวจ 2 ครั้งกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักวิชาการ และ นักวิชาชีพด้านข่าว ครั้งละ 300 คน (Comrey & Lee, 1992) โดยครั้งที่ 1 เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยใช้เครื่องมือที่ได้จากกระบวนการพัฒนาในข้อ1-3 และการสำรวจครั้งที่ 2 เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและสร้างโมเดลตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวสำหรับอุตสาหกรรมข่าวของประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือที่ได้จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจากการวิจัยเชิงสำรวจ ครั้งที่ 1 ผลการศึกษา พบว่าโมเดลตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวฯประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ“คุณลักษณะด้านเนื้อหาข่าว” มี12ตัวชี้วัด “คุณลักษณะของสื่อหรือองค์กร” มี 13 ตัวชี้วัด “คุณลักษณะด้านบุคลากรข่าว” มี 7 ตัวชี้วัด และพบว่า โมเดลตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของตราสินค้าองค์กรข่าวในอุตสาหกรรมข่าวของประเทศไทยจากการวิจัยในครั้งนี้ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่า 2เท่ากับ 940.89 df = 362 2/df = 2.59 p-value = 0.00 ค่า RMSEA = 0.07 ค่า SRMR = 0.05 ส่วนในดัชนีกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ค่า NFI = 0.97 ค่า CFI = 0.98 ซึ่งผลการศึกษานี้องค์กรสื่อสามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างและรักษาความน่าเชื่อถือขององค์กรอันเป็นคุณสมบัติหลักของสื่อมวลชน91 422 - Publicationการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัฒนธรรมเพอรานากัน = Development of innovative marketing communications via online media to promote cultural tourism : Peranakan culture case study(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัฒนธรรมเพอรานากัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อนำเสนอนวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งงานเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารซึ่งเป็นสื่อคลิปวีดีโอ 360 องศา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและเผยแพร่อยู่บนช่อง YouTube จำนวน 107 เรื่อง และระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาสื่อนวัตกรรมต้นแบบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีขั้นตอน คือ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่จะนำมาสร้างเป็นเนื้อหาเพื่อเตรียมการ สำหรับการผลิตสื่อคลิปวิดีโอด้วยเทคโนโลยี VR 360 และการบูรณาการสื่อเข้าสู่แพลดฟอร์มเมทาเวิร์ส นำสื่อนวัตกรรมต้นแบบมาทดสอบด้วยการจัดอภิปรายกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับการสื่อนวัตกรรมต้นแบบก่อนการเผยแพร่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการใช้นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่า เนื้อหาของคลิปที่แสดงให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วมกับ VDO 360 มากที่สุด ร้อยละ 43.93 รองลงมา คือ คลิปที่พาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 37.38 และน้อยที่สุด คือ คลิปแนะนำเทคโนโลยี VR 360 และคลิปที่ใช้เป็นสื่อทางการตลาด ร้อยละ 9.35 เท่ากัน ด้านเทคนิคการถ่ายทำ พบว่า รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพเคลื่อนไหวมากที่สุด ร้อยละ 33.64 รองลงมา คือ รูปแบบการสื่อสารด้วยภาพเคลื่อนไหว ร้อยละ 29.91 และ น้อยที่สุด คือ รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพนิ่งประกอบคำบรรยาย ร้อยละ 1.86 อีกทั้ง พบว่า รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพเคลื่อนไหว 360 องศา สามารถทำให้ความรู้สึกถูกกระตุ้นเร้าและสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ชมโดยผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ ด้วยวิธีการสื่อสาร ด้วยภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว แต่ยังมีข้อจำกัดของการรับรู้ทางความรู้สึกผ่านกลิ่นและรสชาติที่ไม่สามารถสัมผัสได้ผ่านสื่อนี้ 2. นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2.1 การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ นวัตกรรมต้นแบบที่ผลิตขึ้นแสดงเนื้อหาวิถีชีวิตประจำวันของหญิงสาวชาวเพื่่อรานากัน 4 ช่วง วิถีชีวิตยามเช้า จิบน้ำชายามบ่าย การเตรียมอาหารสำหรับมื้อเย็น ชุดการรับประทานอาหาร ใช้นำเสนอวัตถุทางวัฒนธรรมที่เก็บรวบรวมไว้ในบ้านชินประชา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเพื่อรานากันที่ได้รับการบำรุงรักษามาอย่างดีมาเป็นที่สถานที่ถ่ายทำด้วยเทคโนโลยี VDO 360 องศา ที่ผู้ชมสามารถเลือกมุมมองการชมภาพได้ตามต้องการแล้วจึงนำคลิปที่ผลิตสำเร็จมาบูรณาการบนแพลตฟอร์มเมทาเวิร์ส มีความยาวรวม 6.25 นาที 2.2 ผลการอภิปรายกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการทดสอบนวัตกรรม พบว่า ผู้ที่ได้รับชม VDO 360 องศา เกิดความเข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวข้องหรือการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเพื่อรานากันได้ทันที การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่วัฒนธรรม มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่สนใจได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ผ่าน VR และ Metaverse สามารถเปิดโลกวัฒนธรรมได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การศึกษา และการสืบทอดวัฒนธรรมได้ หากได้รับการพัฒนาให้เต็มรูปแบบต่อไป197 564 - Publicationการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ประกอบการ SME ไทยเพื่อมุ่งสู่ตลาดโลก = Communication of Thai identity through graphic design on skincare packaging of Thai entrepreneurs for the global market(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; ; 72 394