GS: Independent Studies
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GS: Independent Studies by Subject "7Ps"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศไทย กรณีศึกษานักท่องเที่ยววัยสูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาให้ทราบถึงรูปแบบการท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุ โดย จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม ทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยว เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาด (7Ps) ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษานโยบายและการสนับสนุนการส่งเสริมจากภาครัฐที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งตามเขตพื้นที่พักอาศัยเป็นเขตในเมืองและเขตชนบท จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นมา เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ในการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศ ของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยเทคนิคการทดสอบไคสแคว์ (Chi - Square) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 หรือ ร้อยละ 95 ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง ประชากรที่ทำแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 60 – 65 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาอยู่ที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท ส่วนใหญ่มีเงินออมไว้ใช้เมื่อยามแก่เฒ่า มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งต่ำกว่า 5,000 บาท และพักอาศัยอยู่ในเขตชนบท ส่วนใหญ่ตัดสินใจท่องเที่ยวแบบพักผ่อนรับประทานอาหาร ลักษณะการท่องเที่ยวแบบเป็นส่วนตัวและเดินทางไปกับครอบครัว พาหนะที่ใช้เดินคือ รถยนต์ส่วนตัว โดยทราบแหล่งท่องเที่ยวจากเพื่อนหรือคนรู้จัก และให้ความสำคัญกับสถานที่ท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ จากปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด (7Ps) พบว่าในด้านผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานที่ท่องเที่ยวและที่พักมากที่สุด ในส่วนของด้านราคานั้นให้ความสำคัญกับการแสดงราคาสินค้าและบริการไว้อย่างชัดเจน ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายให้ความสำคัญในความสามารถในการซื้อแพคเกจการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่าย ด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดนั้น การมีโปรโมชั่นเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้รับความสำคัญมากที่สุด ด้านกระบวนการส่วนที่ได้รับความสำคัญมากที่สุดคือ สถานที่มีความสะดวกสบายต่อการเดินทาง ด้านบุคลากรนั้นการที่ผู้ให้บริการมีความสุภาพ เรียบร้อย มีความสำคัญมากที่สุด และสุดท้ายคือด้านภาพลักษณ์ ผู้สูงอายุส่วนให้ความสำคัญกับความสะอาดของสถานที่พักมากที่สุด และจากการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคไคสแคว์ (Chi - Square) ของปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด (7Ps) กับการตัดสินใจท่องเที่ยวท่องเที่ยวภายในประเทศไทย ของผู้สูงอายุ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และนโยบายและการสนับสนุนการส่งเสริมจากภาครัฐ พบว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด (7Ps) และนโยบายและการสนับสนุนการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยรวมส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศไทย ของกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดกาฬสินธุ์
79 476