logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Independent Studies
  5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศไทย กรณีศึกษานักท่องเที่ยววัยสูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์
 
Options

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศไทย กรณีศึกษานักท่องเที่ยววัยสูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์

Loading...
Thumbnail Image
File(s)
 312225.pdf (915.97 KB)
Author(s)
ขวัญชนก โสภาคะยัง
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2020
Resource Type
Independent study
Language
Thai
Abstract
การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาให้ทราบถึงรูปแบบการท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุ โดย จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม ทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยว เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาด (7Ps) ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษานโยบายและการสนับสนุนการส่งเสริมจากภาครัฐที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งตามเขตพื้นที่พักอาศัยเป็นเขตในเมืองและเขตชนบท จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นมา เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ในการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศ ของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยเทคนิคการทดสอบไคสแคว์ (Chi - Square) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 หรือ ร้อยละ 95 ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง ประชากรที่ทำแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 60 – 65 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาอยู่ที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท ส่วนใหญ่มีเงินออมไว้ใช้เมื่อยามแก่เฒ่า มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งต่ำกว่า 5,000 บาท และพักอาศัยอยู่ในเขตชนบท ส่วนใหญ่ตัดสินใจท่องเที่ยวแบบพักผ่อนรับประทานอาหาร ลักษณะการท่องเที่ยวแบบเป็นส่วนตัวและเดินทางไปกับครอบครัว พาหนะที่ใช้เดินคือ รถยนต์ส่วนตัว โดยทราบแหล่งท่องเที่ยวจากเพื่อนหรือคนรู้จัก และให้ความสำคัญกับสถานที่ท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ จากปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด (7Ps) พบว่าในด้านผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานที่ท่องเที่ยวและที่พักมากที่สุด ในส่วนของด้านราคานั้นให้ความสำคัญกับการแสดงราคาสินค้าและบริการไว้อย่างชัดเจน ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายให้ความสำคัญในความสามารถในการซื้อแพคเกจการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่าย ด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดนั้น การมีโปรโมชั่นเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้รับความสำคัญมากที่สุด ด้านกระบวนการส่วนที่ได้รับความสำคัญมากที่สุดคือ สถานที่มีความสะดวกสบายต่อการเดินทาง ด้านบุคลากรนั้นการที่ผู้ให้บริการมีความสุภาพ เรียบร้อย มีความสำคัญมากที่สุด และสุดท้ายคือด้านภาพลักษณ์ ผู้สูงอายุส่วนให้ความสำคัญกับความสะอาดของสถานที่พักมากที่สุด และจากการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคไคสแคว์ (Chi - Square) ของปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด (7Ps) กับการตัดสินใจท่องเที่ยวท่องเที่ยวภายในประเทศไทย ของผู้สูงอายุ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และนโยบายและการสนับสนุนการส่งเสริมจากภาครัฐ พบว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด (7Ps) และนโยบายและการสนับสนุนการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยรวมส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศไทย ของกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดกาฬสินธุ์
Subject(s)
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การตัดสินใจ
นักท่องเที่ยว -- การตัดสินใจ
นักท่องเที่ยว -- กาฬสินธุ์
การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ -- การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว -- ไทย
ผู้สูงอายุ
Keywords(s)
  • รูปแบบการท่องเที่ยว

  • กลยุทธ์ทางการตลาด

  • 7Ps

Access Rights
Open access
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce. UTCC Central Library
URI
https://hdl.handle.net/20.500.14437/4298
Views
79
Last Week
1
Last Month
6
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Downloads
476
Last Week
13
Last Month
41
Acquisition Date
Sep 26, 2024
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS