GS: Independent Studies
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
- Publicationปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบ ประกอบด้วยของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารต่างประเทศ และบริษัทเงินทุน ในประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงแนวทางและข้อควรระวังในการควบคุมปริมาณหนี้เสียในระดับมหภาคของประเทศไทย โดยการสร้างสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) เพื่อคำนวณค่าทางสถิติ และหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ถึง ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 รวม 44 ไตรมาส จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของปริมาณหนี้เสียไตรมาสก่อนหน้า (NPLt-1) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 ดัชนีความเชื่อมันผู้บริโภค (cci) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (invest) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีมูลค่าการส่งออกใน 4 ไตรมาสก่อนหน้า (ext-4) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.10 และการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่แท้จริงของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศใน 2 ไตรมาสก่อนหน้า (realgdpt-2) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ ซึ่งถูกยอมรับที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนเงินให้กู้ต่อเงินออม (ls) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 และพบว่า R-squared เท่ากับ 0.7602 หมายความว่า ตัวแปรต้นสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ หรือปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ ได้ร้อยละ 76.02156 1413 - Publicationการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนธุรกิจขนส่งสินค้าในเขตจังหวัดนนทบุรี(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษา “การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนธุรกิจขนส่งสินค้า ในเขตจังหวัดนนทบุรี” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการวางแผน แนวทาง และกลยุทธ์ทางด้านการตลาดในการจัดตั้งธุรกิจขนส่งสินค้า การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการลงทุน และความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจขนส่งสินค้า โดยใช้เกณฑ์การวัดความคุ้มค่าของโครงการ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าสมควรลงทุนหรือไม่ ประกอบด้วย ระยะเวลาคืนทุนแบบปรับค่าของเวลา มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนอัตราผลตอบแทนภายใน เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการในระยะเวลาที่กำหนด โดยกำหนดระยะเวลาโครงการ 10 ปี ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจขนส่งสินค้าในเขตจังหวัดนนทบุรีนั้น มีระยะเวลาคืนทุน 2 ปี กับ 6.45 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 10,662,283.10 มีอัตราส่วนผลตอบแทนของต้นทุนเท่ากับ 1.28 และมีอัตราผลตอบแทนของโครงการเท่ากับร้อยละ 44.76 จึงสมควรลงทุนในโครงการนี้ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ เมื่อกำหนดให้ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณการ โดยแบ่งการทดสอบเป็น 12 สถานการณ์ ดังนี้ สถานการณ์ที่ 1 – 10 ได้แก่ ผลตอบแทนลดลง 5% และ 10% ต้นทุนคงที่, ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 5% และ 10% ผลตอบแทนคงที่, ผลตอบแทนลดลง 5% และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 5%, ผลตอบแทนลดลง 5% และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 10%, ผลตอบแทนลดลง 10% และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 5%, ผลตอบแทนลดลง 10% และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 10% และผลตอบแทนลดลง 20% และต้นทุนคงที่ ผลการศึกษาพบว่า เหมาะสมที่จะลงทุนในโครงการธุรกิจขนส่งสินค้าในเขตจังหวัดนนทบุรีและเนื่องจากมี 2 กรณีที่ไม่น่าลงทุนจากทั้งหมด 12 สถานการณ์ ได้แก่สถานการณ์ที่ 11 ผลตอบแทนลดลง 20% และต้นทุนเพิ่มขึ้น 5% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับ 538,630.87 อัตราส่วนผลตอบแทนของต้นทุนมีค่า 0.98 และอัตราผลตอบแทนของโครงการมีค่าเท่ากับร้อยละ 2.03 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าอัตราคิดลดของโครงการ, สถานการณ์ที่ 12 ผลตอบแทนลดลง 20% และต้นทุนเพิ่มขึ้น 10% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับ -1,920,989.24 อัตราส่วนผลตอบแทนของต้นทุนมีค่า 0.94 และอัตราผลตอบแทนของโครงการมีค่าเท่ากับร้อยละ -8.53 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าอัตราคิดลดของโครงการดังนั้น โครงการลงทุนธุรกิจขนส่งสินค้าในเขตจังหวัดนนทบุรี จึงมีความเป็นไปได้และยังน่าสนใจในการลงทุน130 939 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนเกษียณของคนวัยทำงานในจังหวัดนครราชสีมา = Factors affecting to retirement planning of employee in Nakhon-Ratchasima Province(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งสำคัญคือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง และในอนาคต 20 ปีข้างหน้า สัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยจะสูงถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Ageing Society) อย่างมีนัยสำคัญและรวดเร็ว นำมาสู่ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม การที่ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนของวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุลดลงอย่างต่อเนื่อง จากในปี 2556 มีวัยแรงงาน 4 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน ลดลงเหลือวัยแรงงาน 3 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คนในปี 2564 แล้วคาดดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเป็นวัยแรงงาน 1.8 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน ในปี 2583 การเตรียมตัวเพื่อการเกษียณอายุของบุคคลคงไม่อาจพึ่งพาได้แต่สวัสดิการจากภาครัฐ ดังนั้นแต่ละบุคคลควรเป็นผู้กำหนดและวางแผนสำหรับการเกษียณอายุด้วยตนเอง ทั้งการวางแผนด้านการเงินและสุขภาพ การวางแผนสำหรับการเกษียณอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อทำให้การดำเนินชีวิตยังคงเป็นไปอย่างปกติสุขการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน (Financial literacy) เพื่อศึกษาถึงระดับของการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยเกษียณ และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้คนตัดสินใจเริ่มต้นวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุของคนวัยทำงานในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 401 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ F-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินโดยภาพรวม แต่ในด้านของการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นและประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ยังมีความเข้าใจในระดับน้อย สำหรับการศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยเกษียณพบว่า โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยเกษียณอยู่ที่ระดับปานกลาง และเมื่อแยกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลพบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ และสถานภาพมีระดับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยเกษียณไม่แต่กต่างกัน แต่ปัจจัยด้านการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก มีระดับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยเกษียณมากที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจวางแผนการเพื่อการเกษียณมากที่สุดคือ ความน่าเชื่อถือของสถานบันการเงิน ผู้ที่ให้คำปรึกษาด้านการเงินและรวมถึงระดับความรู้ความเข้าใจด้านการเงินส่วนบุคคลของผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการเงิน โดยมีคะแนนอยู่ที่ระดับ 4.44 คือ สำคัญมากที่สุด ปัจจัยรองลงมาที่มีผลต่อการตัดสินใจวางแผนการเงินคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจส่วนบุคคล ในคำถามประกอบด้วย รายได้ ค่าใช้จ่าย ภาระหนี้สิน และจำนวนคนที่อยู่ในอุปการะ จะมีผลต่อระดับการตัดสินใจวางแผนการเงินที่คะแนน 4.34 คือระดับ มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05112 736 - Publicationการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์การพัฒนาระบบน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโคกล่าม – บ้านแสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การค้นคว้าอิสระ เรื่อง การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโคกล่าม – บ้านแสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์การพัฒนาระบบน้ำ และประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการพัฒนาระบบน้ำโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างจากเกษตรกรที่รับประโยชน์จากน้ำ จำนวน 20 ราย และการเก็บข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวกับต้นทุนและประโยชน์จากการดำเนินโครงการฯ ทั้งจากเอกสาร รายงาน หนังสือ และวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์ และความคุ้มค่าโครงการ ผลการศึกษา พบว่า กรณีที่อัตราคิดลดร้อยละ 2.82 มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนโครงการรวมเท่ากับ 9,878,438.05 บาท เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ทั้งหมดของการลงทุน พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (NPV) เท่ากับ 51,350,788.78 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน (B/C ratio) เท่ากับ 5.2 และระยะเวลาคืนทุนคิดลด (DPB) คือ 2 ปี 1 เดือน ส่วนกรณีที่มีอัตราคิดลดร้อยละ 10 ตามที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใช้กับโครงการของภาครัฐ พบว่า ต้นทุนของโครงการ รวมเท่ากับ 9,233,645.45 บาท มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (NPV) 32,114,993 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน (B/C ratio) เท่ากับ 3.25 และระยะเวลาคืนทุนคิดลด (DPB) คือ 3 ปี 7 เดือน ซึ่งทั้ง 2 กรณี มีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 72.84 เมื่อพิจารณา NPV มากกว่า 0, IRR มากกว่าต้นทุน, B/C ratio มากกว่า 1 และ DPB ไม่เกิน 5 ปี แสดงว่าการลงทุนสำหรับพัฒนาระบบน้ำที่มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2564 เกิดความคุ้มค่า เนื่องจากมีผลประโยชน์ที่ได้รับสูงกว่าต้นทุนที่จ่ายออกไป31 510 - Publicationผลกระทบของนโยบายการเงินที่มีต่อราคาสินทรัพย์ในประเทศไทย(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายการเงินที่ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ต่างๆ ในประเทศไทย โดยครอบคลุมถึงผลกระทบของนโยบายการเงินที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยและปริมาณเงิน ที่ส่งผลต่อราคาสกุลเงินดิจิตัลบิตคอย (BTC/THB), ดัชนีราคาบ้านเฉลี่ย, ราคาทองคำในประเทศไทย และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตั้งแต่ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2565 ทั้งสิ้น 144 เดือน โดยการประมาณความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว(Cointegration) และการทดสอบการปรับตัวระยะสั้นเพื่อให้กลับเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว (Error correction Model: ECM) ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองราคาสกุลเงินดิจิทัลบิตคอย (BTC/THB) จากการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว พบว่าแบบจำลองมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว และมีการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพระยาว แบบจำลองดัชนีราคาบ้านเฉลี่ย (HOUSE) จากการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว พบว่าแบบจำลองดัชนีราคาบ้านเฉลี่ย (HOUSE) กับตัวแปรอิสระนั้นไม่มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยาวต่อกัน แบบจำลองราคาทองคำในประเทศไทย(GOLD) จากการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว พบว่าราคาทองคำในประเทศไทย กับตัวแปรอิสระนั้นมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยาวต่อกัน และมีการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อกลับเข้าสู่ ดุลยภาพระยะยาว แบบจำลองดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จากการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว พบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวกับตัวแปรอิสระ และแบบจำลองมีการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว71 1275