Browsing by Subject "หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้"
Now showing 1 - 13 of 13
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการทําเหมืองข้อมูลเพื่อพยากรณ์โอกาสลูกค้ามีหนี้ค้างชําระ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ;สุวรรณี อัศวกุลชัย; ; ; ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีวิสัยทัศน์ว่า “เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” ภาระหนี้สินเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรที่เป็นลูกค้าของธ.ก.ส. การที่เกษตรกรที่เป็นลูกค้าไม่สามารถส่งชําระหนี้คืนให้กับธ.ก.ส.ได้ ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดก็ตามล้วนส่งผลต่อการดําเนินงานของธ.ก.ส.และยังอาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือในการดูแลคุณภาพชีวิตของเกษตรกรด้วย ทั้งนี้ หากสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยําหรือใกล้เคียงความเป็นจริงว่าลูกค้าคนใดมีโอกาสที่จะเป็นหนี้ค้างชําระ ก็จะช่วยให้สามารถป้องกันหรือแก้ไขก่อนที่จะเป็นหนี้ค้างชําระได้ ดังนั้น ในบทความนี้ได้ประยุกต์ใช้เหมืองข้อมูลในการพยากรณ์โอกาสลูกค้ามีหนี้ค้างชําระ ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์สําหรับใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชําระต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาปัจจัยที่ทําให้ลูกค้ามีหนี้ค้างชําระ และประยุกต์การทําเหมืองข้อมูลมาใช้ในการพยากรณ์โอกาสลูกค้ามีหนี้ค้างชําระ ดําเนินงานการศึกษาโดยใช้แนวทางของกระบวนการ CRISP-DM ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรรายย่อยมาจํานวน 860 คน ทําการจัดชุดข้อมูลเป็น 3 ชุด เลือกกลุ่มตัวอย่างมาร้อยละ 70 80 และ 90 ของจํานวนกลุ่มตัวอย่างที่มี 860 คน เป็นชุดข้อมูลสําหรับฝึกสอน (Training set) กันข้อมูลส่วนหนึ่งไว้สําหรับเป็นชุดทดสอบ (Test set) 86 คน ไม่ซ้ำกับชุดฝึกสอน แต่ใช้สําหรับทดสอบกับชุดฝึกสอนทุกชุด ทําการสร้างแอตทริบิวต์ขึ้นมาใหม่ อีก 28 แอตทริบิวต์ สําหรับใช้เป็นปัจจัยในการพยากรณ์ ใช้วิธีการ One Hot Encoding แปลงแอตทริบิวต์ข้อมูลที่เป็น Nominal Number และใช้หลักการของ Max-Min Nomalization ปรับบรรทัดฐานข้อมูลที่มีช่วงแตกต่างกันมาก ใช้โปรแกรม WEKA Version 3.8.5 ช่วยในการสร้างและวิเคราะห์แบบจําลอง ใช้เทคนิคการสร้างแบบจําลอง 3 เทคนิค ไดแก่ Decision Tree j48, Support Vector Machine (SVM) และ Naïve Bayes และทําการวัดประสิทธิภาพแบบจําลองโดยใช้วิธี 10-fold cross-validation ผลการศึกษา พบว่า แบบจําลองที่ใช้ข้อมูลจากเกษตรกรรายย่อย ที่ใช้ชุดทดสอบจํานวน 688 คน (80% จากจํานวน 860 คน) โดยใช้เทคนิค Support Vector Machine (SVM) ซึ่งใช้ฟังก์ชั่นเคอร์เนลแบบเชิงเส้น (Linear kernel) ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เมื่อทดสอบด้วยชุดทดสอบ 86 คน โดยมีค่า Accuracy, Kappa statistic และ ROC Area เท่ากับ 81.3953% 0.4452 และ 0.774 ตามลําดับ131 573 - Publicationการประยุกต์เหมืองข้อมูลเพื่อพยากรณ์ปัจจัยที่ทําให้เกิดหนี้ค้าง ภายใต้การให้บริการด้านสินเชื่อโครงการสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending)(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ;สุวรรณี อัศวกุลชัย; ; ; การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาหนี้ค้าง (NPL) ผ่านโครงการพัฒนาระบบสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) ในกลุ่มลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดลพบุรี และเพื่อประยุกต์เหมืองข้อมูลในการอนุมัติสินเชื่อในการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินกู้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าเงินกู้ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อฉุกเฉินที่มีอยู่ในระบบสารสนเทศของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดลพบุรี จำนวน 9,002 ราย จากการที่ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวลงใน Line Official ของ ธ.ก.ส. เพื่อสมัครสินเชื่อฉุกเฉิน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างแบบจำลองการเรียนรู้ผ่านโปรแกรม Weka เพื่อหาความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้ค้าง (NPL) ผลการศึกษา จากการทดลองใช้ตัวแบบพยากรณ์ จำนวน 3 แบบ ได้แก่ เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree), เทคนิคเบย์อย่างง่าย (Naïve Bayesain classifier) และเทคนิคซัพพอร์ตเวกเตอร์เเมชชีน (Support vector machine; SVM) พบว่า เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) มีค่าความถูกต้องในการทำนาย (Correctly Classified Instances) มากที่สุด93 526 - Publicationการศึกษาการแก้ไขการเกิดหนี้ค้างชําระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการแก้ไขการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ร่วมกับเชิงคุณภาพ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหา จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มลูกหนี้ที่เป็นกลุ่มสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประจำปี 2563 ที่จำนวน 372 ราย เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 บัญชี คิดเป็น 53.76% รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 15 ตัวอย่าง และทำการสัมภาษณ์ ลูกค้าเชิงลึกที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 ตัวอย่าง พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอก 2. ปัจจัยภายใน 3. ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งด้านปัจจัยภายนอกโดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในทั้งหมด 3 ปัจจัย โดยอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 ประกอบไปด้วย 1.ภาวะเศรษฐกิจซบเซา 2.รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ 3.ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ส่วนการสัมภาษณ์ลูกค้า และพนักงาน พบว่าปัจจุบันลูกค้าประสบปัญหาในการชำระค่างวดสินเชื่อ โดยมีสาเหตุจากการมีรายได้ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ, การแพร่ระบาดของโรค covid-19 เป็นต้น โดยต้องการเข้ามาตรการประนอมหนี้ หรือพักชำระหนี้กับธนาคาร ทั้งนี้ลูกค้ายังต้องการได้รับคำแนะนำ หรือแนวทางการช่วยเหลือที่ดีจากพนักงาน โดยแนวทางแก้ไขที่ผู้ศึกษาได้เลือก คือ การให้ลูกค้าที่มีปัญหาการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคาร สงเคราะห์เข้าร่วมมาตรการประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์70 543 - Publicationการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) กรณีศึกษา ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) กรณีศึกษา ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยการสร้างสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) มาประมาณค่าสัมประสิทธิของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) เพื่อคำนวณค่าทางสถิติ และหาความสัมพันธ์ของตัวแปร การศึกษานี้ใช้ข้อมูลรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2552 ถึง ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2564 รวม 52 ไตรมาส ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ปี 2552-2564 รายไตรมาส ได้แก่ เงินให้สินเชื่อมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ดัชนีราคาผู้บริโภค มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ อัตราการว่างงาน ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจไม่มีความสัมพันธ์กับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และพบว่า R-Squared มีค่าเท่ากับ 0.897722 หมายถึง ตัวแปรอิสระสามารถอธิบายตัวแปรตามหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPLs) ได้ร้อยละ 89.752 550 - Publicationการศึกษาหาสาเหตุและแนวทางการลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของลูกหนี้สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลําปาง(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุและแนวทางการลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของลูกหนี้สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลำปาง เพื่อนำผล ที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการลดปริมาณหนี้ NPLs และลดการกันสำรองของธนาคาร โดยทำการเก็บ รวมรวมข้อมูลแบบสอบถามจากลูกหนี้ NPLs สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลำปาง จำนวน 300 คน โดยคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตร Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์พนักงาน จำนวน 10 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT ทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix แนวคิดเกี่ยวกับมูลเหตุของการค้าง ชำระหนี้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางประกอบในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาล ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด COVID-19 ตามลำดับ จากการประมวลผลและสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก พบว่าแนวทางในการลดปริมาณหนี้ NPLs มีทางเลือก 2 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก (SO) การจัดประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ สื่อออนไลน์ แอปพลิเคชัน MyMo การโทรสอบถาม ทำหนังสือเชิญชวน และการลงพื้นที่เพื่อให้ คำแนะนำ ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนฟ้อง การเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของธนาคาร เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระและลดปริมาณหนี้ NPLs ของธนาคาร แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ (ST) ทีมงานศูนย์หนี้ฯ ได้จัดตารางลงพื้นที่ในการติดตามหนี้ ร่วมกับสาขาต่าง ๆ เนื่องจากสาขาที่ดูแลลูกค้าจะรู้จักลูกค้าในพื้นที่ดี มีข้อมูลลูกหนี้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ลูกหนี้มีความรู้ ความเข้าใจการวางแผนการเงิน ลดโอกาสการค้างชำระ และลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคาร83 663 - Publicationการศึกษาเพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์และจัดกลุ่มการเข้าสู่สภาวะความเสี่ยง(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; ; ; การศึกษาเพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และจัดกลุ่มการเข้าสู่สภาวะความเสี่ยง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดลูกค้า NPL เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีผลก่อให้เกิดแนวโน้มลูกค้า NPL และแนวทางในการลดความเสี่ยง โดยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง 3 แบบ (Decision Tree (J48), K-Nearest Neighbor และ Naïve Bayes) เพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL ผลการศึกษา คือ ประสิทธิภาพการพยากรณ์ของโมเดล Decision Tree (J48) ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำสูงสุดที่ 98.23% โมเดล K – Nearest Neighbor : KNN ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำ 93.80% โมเดล Naive Bayes ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำ 90.26% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจากการศึกษาจะพบว่าลูกค้าทุกกลุ่มอาชีพ และมีเงินเดือน 10,000 – 20,000 บาท จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในด้าน NPL มากที่สุด ถ้าพิจารณาเจาะจงที่อาชีพพนักงานประจำมั่นคง ซึ่งเป็นตัวอย่างข้อมูลที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด พบว่าลูกค้ากลุ่มพนักงานธุรกิจเอกชน จดทะเบียน (>2 ปี/พนง.>20 คน) เป็นฐานที่มีความเสี่ยงด้าน NPL สูง และเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาทำสินเชื่อ ในการศึกษาครั้งต่อไป ธนาคารควรจะนำข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อลดความเสี่ยงด้าน NPL ที่สูงได้ดีขึ้น ประสิทธิภาพการพยากรณ์แล้ว พบว่าโมเดล Decision Tree (J48) มีประสิทธิภาพการพยากรณ์ดีที่สุด ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำสูงที่สุด147 783 - Publicationการศึกษาแนวทางการลดอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ธ.ก.ส. สาขาสามง่าม(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่เกษตรกรลูกค้าไม่สามารถส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยได้ตามกำหนด และเพื่อศึกษาแนวทางเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสามง่าม จังหวัด พิจิตร จากการสอบถามเกษตรกรลูกค้า จำนวน 286 คน และพนักงาน ธ.ก.ส. จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสอบถาม พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจซบเซา สินค้าอุปโภค บริโภคราคาสูงขึ้น ราคา ผลผลิตตกต่ำ และเกิดภัยธรรมชาติ ปัจจัยด้านตัวผู้กู้ ได้แก่ รายได้ลดลง มีภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสูงขึ้น มีหนี้สินนอกระบบหรือมีหนี้สินมากกว่า 1 แห่ง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรลูกค้า และพนักงาน ธ.ก.ส. 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) จัดทำประกันภัยพืชผล 2) จัดหาปัจจัยการผลิตในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และ 3) ประกันราคาผลผลิต สำหรับแนวทางเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า มีทั้งหมด 2 แนวทาง คือ 1) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยขยายระยะเวลาชำระหนี้ และกำหนดงวดชำระใหม่ให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดและแหล่งที่มาของรายได้ และ 2) รับทายาทเกษตรกรเข้ามาเป็นลูกค้าเพื่อทดแทนลูกค้าเดิมที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยวิธีการรับใช้หนี้หรือเปลี่ยนตัวลูกหนี้49 296 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษางานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ 2. ศึกษาแนวทางแก้ไขและ ควบคุมหนี้ค้างชำระเพื่อไม่ให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน พบว่า เนื้อหาจากการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ มากที่สุดคือ ปัจจัยภายนอก (𝑥̅ =4.10 SD= 0.654) สาเหตุจากสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี และการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค covid-19 แนวทางแก้ไขและควบคุมหนี้ค้างชำระเพื่อไม่ให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) คือการเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือจากธนาคาร เพื่อให้ลูกหนี้สามารถกลับมาชำระให้เป็นปกติ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผู้ศึกษาได้เลือก คือ การเพิ่มมาตรการในการประนอมหนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้155 561 - Publicationปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบ ประกอบด้วยของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารต่างประเทศ และบริษัทเงินทุน ในประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงแนวทางและข้อควรระวังในการควบคุมปริมาณหนี้เสียในระดับมหภาคของประเทศไทย โดยการสร้างสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) เพื่อคำนวณค่าทางสถิติ และหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ถึง ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 รวม 44 ไตรมาส จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของปริมาณหนี้เสียไตรมาสก่อนหน้า (NPLt-1) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 ดัชนีความเชื่อมันผู้บริโภค (cci) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (invest) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีมูลค่าการส่งออกใน 4 ไตรมาสก่อนหน้า (ext-4) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.10 และการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่แท้จริงของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศใน 2 ไตรมาสก่อนหน้า (realgdpt-2) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ ซึ่งถูกยอมรับที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนเงินให้กู้ต่อเงินออม (ls) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 และพบว่า R-squared เท่ากับ 0.7602 หมายความว่า ตัวแปรต้นสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ หรือปริมาณหนี้เสีย (NPL) ทั้งระบบภายในประเทศ ได้ร้อยละ 76.02156 1413 - Publicationสาเหตุและแนวทางแก้ไขปริมาณลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปริมาณลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย เกิดจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ลดลง โดยจากผลการดำเนินงานในปี 2563 มีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อทั้งหมดร้อยละ 3.60 ของสินเชื่อรวม ซึ่งธนาคารต้องดำเนินการตั้งสำรองเพื่อรองรับไว้มากกว่าร้อยละ 200 ของ NPLs ทั้งหมดของธนาคาร วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1. เพื่อศึกษาสาเหตุการเกิดหนี้ค้างชำระของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ทั้ง 3 สาขา 2. เพื่อนำข้อมูลมากำหนดแนวทางการปรับปรุง และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อลดปริมาณการเกิดลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์แบบ Mixed Method ได้แก่ 1. การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ที่มียอดค้างชำระเกิน 90 วัน จากรายการในระบบ Intranet ของธนาคาร จำนวน 156 บัญชี จากทั้งหมด 250 บัญชี 2. สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริหาร และพนักงานบริหารหนี้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้ลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้มาจาก 3 สาเหตุหลัก และ 9 สาเหตุรอง คือ 1) ปัจจัยภายนอก สาเหตุรอง คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี นโยบายการควบคุมโรคระบาดของรัฐบาล และนโยบายการช่วยเหลือของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย 2) ปัจจัยภายใน (ธนาคาร) สาเหตุรอง คือ อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป 3) ปัจจัยส่วนบุคคล สาเหตุรอง คือ ไม่มีรายได้พิเศษอื่นนอกจากงานประจำ ถูกลดค่าจ้าง/ลาออกจากงานประจำ และมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และผู้ศึกษาได้เลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการประชาสัมพันธ์รายละเอียดมาตรการประนอมหนี้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และเงินงวดที่ปรับลดลงเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเพื่อให้ลูกค้าสามารถผ่อนชำระได้77 466 - Publicationแนวทางการลดหนี้ค้างชําระสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID-19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; ตามที่ธนาคารได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้ปล่อยสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) เพื่อ ช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เมื่อติดตามผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) มีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูง ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหนี้ค้างชำระและเงินกันสำรองหนี้ของธนาคารสูงขึ้นด้วยเช่นกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขหนี้ให้สู่สถานะปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและมูลเหตุสำคัญของลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ สินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำมากำหนดแนวทางเพื่อให้ลูกหนี้กลับมาชำระให้แก่ธนาคารได้และมีแนวทางลดหนี้ค้างชำระให้แก่ธนาคาร ผู้ศึกษาได้เก็บตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างลูกหนี้สินเชื่อผู้มีอาชีพอสิระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ราย โดยลงพื้นที่ตาม แหล่งการค้าและชุมชน เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด และ 2) กลุ่มตัวอย่าง พนักงานธนาคารออมสินที่สังกัดกลุ่มบริหารหนี้และกฎหมาย จำนวน 103 ราย เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ โดยส่งไปยังช่องทางการสื่อสารของหน่วยงาน ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะข้อมูลทั่วไปของลูกหนี้และของพนักงานที่แตกต่างกัน มีการเลือกสาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้ค้างชำระที่แตกต่างกัน สรุปสาเหตุได้ 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และเศรษฐกิจซบเซา 2) ปัจจัยที่เกิดจากตัวลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้มี รายได้ลดลงแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานติดตามลูกหนี้แล้วพบว่าไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ และ 3) ปัจจัยภายในธนาคาร ได้แก่ จำนวนพนักงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ต้องการเข้ามาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระและมีความต้องการให้มาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้, มีสิทธิประโยชน์ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ หรือค่าบริการในการเข้าแก้ไขหนี้ค้างชำระ และเงื่อนไขข้อตกลง ระหว่างธนาคารกับลูกหนี้ที่เหมาะสม ทั้งนี้ พนักงานที่ปฏิบัติงานควรมีแผนการติดตามแก้ไขหนี้ค้างชำระ ที่ชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ สามารถสื่อสารถึงเงื่อนไขและ ประโยชน์ในการชำระหนี้ให้ลูกหนี้เข้าใจ มีหลักการวิเคราะห์แก้ไขหนี้ให้ลูกหนี้อย่างเที่ยงตรง ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางการลดหนี้ค้างชำระที่ควรดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ให้มีความสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ก่อน ดังนี้ 1) แนวทางการโปรโมชั่นช่วยลูกหนี้ เช่น ลดเงินต้น ลดเบี้ย ปรับ ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้ และปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน, 2) แนวทางการจัดไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง และ 3) แนวทางสร้างช่องทางการขายสร้างรายได้ให้แก่ลูกหนี้ ส่วนแนวทางที่ควร ดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและแก้ไขหนี้ให้แก่ธนาคารในระยะยาว ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการหนี้ (Debt Management System) และ 2) แนวทางการ ยกระดับความรู้และพัฒนาทักษะบุคลากรด้านบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ทั้งนี้แนวทางทั้งหมดมุ่งเน้นให้ เกิดการบูรณาการการแก้ไขหนี้ค้างชำระ ช่วยให้ลูกหนี้กลับมาชำระหนี้ได้ และปรับปรุงระบบการบริหาร หนี้ให้ดียิ่งขึ้นและ สามารถนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของธนาคารสามารถรองรับสถานการณ์ในระยะยาวได้อีกด้วย ทั้งการพัฒนา กระบวนการดำเนินงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงการบริการของธนาคารกับลูกค้าทุกประเภทได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น113 661 - Publicationแนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ค้างชําระสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สําหรับผู้มีอาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจํา ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19)(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาเรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ค้างชำระสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มี อาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อ ศึกษาสาเหตุการค้างชำระสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) (2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ค้างชำระสินเชื่อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของธนาคารออมสินสาขาเซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่ เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่าง งานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บแบบสอบถามกับ ลูกหนี้ค้างชำระสินเชื่อ จำนวน 83 ราย และงานวิจัยเชิง คุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับลูกหนี้ค้าง ชำระของธนาคารออมสินสาขาเซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุการค้างชำระ คือ 1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจใน ปัจจุบันที่มีภาวะถดถอย สถานการณ์ด้านการเมืองมีความไม่แน่นอน การจ้างงานลดลง 2. ปัญหา เกี่ยวกับพนักงานติดตามหนี้ การให้ความสำคัญในการติดตามหนี้ของพนักงาน พนักงานขาดประสบการณ์ ขาดความรู้ในการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้ลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการ ชำระหนี้ และจำนวนพนักงานไม่เพียงพอต่อการติดตามหนี้ 3. ปัญหาจากลูกหนี้ รายได้ลดลง ถูกลด เงินเดือนหรือให้ออกจากงาน มีหนี้สินกับสถาบันการเงิน การไปกู้ให้ผู้อื่น การมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ การนำเงินกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการกู้เงิน 4. ปัญหาด้านการดำเนินธุรกิจ การเลิกกิจการ การขาด ความรู้ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ การประกาศให้หยุดกิจการจากภาวะโควิด และมี แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา คือ แนวทางเชิงรุก ธนาคารออกมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มี ความหลากหลาย สอดคล้องกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน และความต้องการของลูกหนี้ แนวทางเชิงแก้ไข การพัฒนาพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญในการติดตามหนี้ไกล่เกลี่ยลูกหนี้ และเพิ่มจำนวนพนักงานให้เพียงพอต่อปริมาณลูกหนี้ของธนาคารออมสิน แนวทางเชิงรับ การทำโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ อย่างการสร้างอาชีพ การจัดโครงการสอนการบริหารจัดการรายได้ให้กับลูกหนี้ธนาคารออมสิน และ แนวทางเชิงป้องกัน การจัดทำรูปแบบการติดตามหนี้ที่เป็นรูปธรรมให้พนักงานนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน106 553 - Publicationแนวทางป้องกันหนี้ค้างชำระตามโครงการสินเชื่อฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสามง่าม(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุหนี้ค้างชำระ ศึกษาแนวทางแก้ไขและป้องกันหนี้ค้างชำระตามโครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสามง่าม กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตร Taro Yamane’s โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 146 ราย และสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องในการจ่ายสินเชื่อ จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดทำผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหามาวิเคราะห์ SWOT Analysis กำหนดกลยุทธ์แก้ไขปัญหาโดยใช้ Tows Matrix ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระโดยรวมจากตัวผู้กู้ รายได้จากการประกอบอาชีพลดลงไม่พอต่อค่าใช้จ่าย มีหนี้สินหลายทาง สาเหตุรองลงมา ด้านสภาพแวดล้อม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ สาเหตุที่น้อยที่สุดจากการให้บริการด้านสินเชื่อ ระยะเวลาส่งชำระไม่ตรงกับการเก็บเกี่ยวผลผลิต และพนักงานไม่เร่งรัดติดตามหนี้เมื่อถึงกำหนดชำระ มีสาเหตุจากพนักงานมีปริมาณงานที่รับผิดชอบเยอะ แนวทางแก้ไขปัญหาคือ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน โดยขยายระยะเวลา ชำระหนี้ร่วมกับจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรและทายาทเกษตรกร เพื่อการเพิ่มมูลค่าการผลิต และความรู้ด้านการเงิน เป็นการสร้างวินัยทางการเงินที่ดีส่งผลให้ธนาคารลดการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้43 260