Options
การศึกษาแนวทางการลดอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ธ.ก.ส. สาขาสามง่าม
Loading...
File(s)
Author(s)
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2021
Resource Type
Independent study
Language
Thai
Abstract
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่เกษตรกรลูกค้าไม่สามารถส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยได้ตามกำหนด และเพื่อศึกษาแนวทางเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสามง่าม จังหวัด พิจิตร จากการสอบถามเกษตรกรลูกค้า จำนวน 286 คน และพนักงาน ธ.ก.ส. จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสอบถาม พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจซบเซา สินค้าอุปโภค บริโภคราคาสูงขึ้น ราคา ผลผลิตตกต่ำ และเกิดภัยธรรมชาติ ปัจจัยด้านตัวผู้กู้ ได้แก่ รายได้ลดลง มีภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสูงขึ้น มีหนี้สินนอกระบบหรือมีหนี้สินมากกว่า 1 แห่ง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรลูกค้า และพนักงาน ธ.ก.ส. 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) จัดทำประกันภัยพืชผล 2) จัดหาปัจจัยการผลิตในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และ 3) ประกันราคาผลผลิต สำหรับแนวทางเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า มีทั้งหมด 2 แนวทาง คือ 1) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยขยายระยะเวลาชำระหนี้ และกำหนดงวดชำระใหม่ให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดและแหล่งที่มาของรายได้ และ 2) รับทายาทเกษตรกรเข้ามาเป็นลูกค้าเพื่อทดแทนลูกค้าเดิมที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยวิธีการรับใช้หนี้หรือเปลี่ยนตัวลูกหนี้
This independent study it aims to analyze why customer cannot submit principal and interest payments in due course and study ways to increase the ability to pay their debts. A case study of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, Sam Ngam Branch, Phichit Province. A questionnaire was used as a study 286 of customers who have NPLs and 10 of BAAC officers. The result of the study shown that the factors influencing NPLs the most is environmental factors: sluggish economic conditions, higher consumer goods, depressed productivity prices and natural disasters. Debtor factors: low income, high expense and have debt more than 1 bank. Suggestions from questionnaire responders are 1) Providing crop insurance 2) Providing inputs at cheaper prices in the market to reduce production costs and 3) Insure productivity prices. The guideline to increase farmers' ability to pay off debt. There are two approaches: 1) Improving the debt structure by extending the repayment period and rescheming the period in accordance with the borrower's cash flow and source of income and 2) Accepting farmer heirs as borrower customers to replace existing borrower customers over 60 years of age by means of debt service or replacement of debtors.
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การเงิน)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
สุภาพร ปันโปธา. (2564). การศึกษาแนวทางการลดอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ธ.ก.ส. สาขาสามง่าม.
สุภาพร ปันโปธา (2564). การศึกษาแนวทางการลดอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ธ.ก.ส. สาขาสามง่าม.
Views
49
Last Month
2
2
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
296
Last Week
5
5
Last Month
34
34
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024