GS: Independent Studies
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GS: Independent Studies by Subject "Green Credit"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationแนวทางการเพิ่มปริมาณสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดชลบุรี(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสินเชื่อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการให้สินเชื่อภาคการเกษตร เพื่อเสนอแนวทางเพิ่มปริมาณลูกค้า ที่มาใช้บริการขอสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 388 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลการใช้บริการสินเชื่อ นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาแปลงเป็นค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางแจกแจงความถี่ วิเคราะห์ข้อมูลของระดับความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกใช้บริการสินเชื่อ ซึ่งลักษณะแบบสอบถามจะเป็นการประมาณค่า 5 ระดับ (Likert Scale) วิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหา ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 ตัวอย่าง ผล การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 71.13 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 36.08 สถานภาพสมรส ร้อยละ 71.13 จบการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษา ร้อยละ 42.53 มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพเกษตรกร 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 39.43 รายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 34.02 ด้านพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อ ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 100 วงเงินสินเชื่อรวมอยู่ที่ 200,000 – 500,000 บาท ร้อยละ 36.60 เป็นประเภทวงเงินกู้ระยะสั้น ร้อยละ 79.90 โดยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนกิจการภาค การเกษตร ร้อยละ 88.14 และหลักประกันที่ใช้ค้ำประกัน คืออสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 71.13 ส่วนผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อสีเขียว ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่า ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 4.44 จากการสัมภาษณ์พบว่า ปัญหาที่สำคัญจากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด คือ ปัจจัยด้านกระบวนการบริการและปัจจัยด้านบุคลากร และได้เสนอแนวทางการเพิ่มปริมาณสินเชื่อสีเขียว โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะความรู้ความสามารถในการปฏิบัติด้านสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการให้คุณภาพการบริการที่ดี จะส่งผลให้ธนาคารมีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น108 544