HM: Research Reports
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing HM: Research Reports by Author "#PLACEHOLDER_PARENT_METADATA_VALUE#"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationเรื่องเล่าในบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล = The Narratives in Sermons of Pra Paisal Wisalo(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; งานวิจัยเรื่อง “เรื่องเล่าในบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล” เกิดจากการผู้วิจัยได้รับฟังบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล ที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ต่างๆโดยเฉพาะช่องยูทูบ ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าพระไพศาล วิสาโล มักนำเรื่องราวต่างๆมาประกอบการเทศน์อยู่เสมอจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการเทศน์ของท่าน ผู้วิจัยจึงรวบรวมบทธรรมเทศนาเฉพาะตอนที่ปรากฏเรื่องเล่าทำให้พบว่ามีเรื่องเล่าหลายประเภทที่ประกฏในบทธรรมเทศนา อีกทั้งเรื่องเล่ายังปรากฏในส่วนต่างๆ ของบท ตลอดจนทำหน้าที่แตกต่างกัน จึงได้ศึกษาวิเคราะห์และปรากฏผลการศึกษาวิเคราะห์ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า บทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล มีจุดมุ่งหมายของการเทศน์แบ่งออกเป็น 4 จุดมุ่งหมาย ได้แก่ 1 เรื่องที่มุ่งให้ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติตน 2 เรื่องที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างสภาวะสมดุลทางใจ 3 เรื่องที่มุ่งเน้นในการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น 4 เรื่องประเภทสุดท้ายคือเรื่องเกี่ยวกับวัฏสงสาร นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วน คือ ส่วนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดเนื้อหาแตกต่างกัน เนื้อหาในส่วนต้นมี 3 แบบ ได้แก่ ก) ส่วนต้นที่เล่าเรื่องต่างๆเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหา ข) ส่วนต้นที่ใช้หลักธรรมในการนำเข้าสู่เนื้อหา และ ค) ส่วนต้นที่ใช้การพรรณนาความสำคัญเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาในส่วนเนื้อหา พบว่ามี 2 แบบ ได้แก่ ก) ส่วนเนื้อหาที่สาธยายหลักธรรม ข) ส่วนเนื้อหาที่เล่าเรื่องราว ส่วนท้ายขแบ่งออกเป็น ก) เนื้อหาสรุปความคิด ข) บทสรุปแบบเรื่องเล่า และ ค) ส่วนท้ายแบบแนะนำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องเล่าปรากฏอยู่ในทุกส่วนของบทธรรมเทศนา โดยเรื่องเล่าแต่ละเรื่องที่ปรากฏในส่วนต่างๆทำหน้าที่ 2 ประการ คือ 1 เรื่องเล่าทำหน้าที่นำเข้าสู่หัวข้อธรรมะ และ 2 เรื่องเล่าเป็นตัวอย่างประกอบหลักธรรม อย่างไรก็ตาม การคัดสรรเรื่องเล่ามาประกอบการเทศน์นั้นเป็นเรื่องเล่าที่แตกต่างกัน 6 ประเภท ได้แก่ ก) เรื่องเล่าของบุคคลทั่วไปที่ไม่ระบุตัวตนได้ข) พุทธประวัติ พุทธสาวก และ ประวัติพระภิกษุในปัจจุบัน ค) เรื่องของลูกศิษย์ หรือบุคคลที่เป็นที่รู้จักในสังคม ง) เรื่องสมมติ เช่น นิทาน เรื่องเล่าจากลิทธิเซน จ) เรื่องในประวัติศาสตร์ ฉ) เรื่องของคนที่พระไพศาล วิสาโล รู้จักหรือญาติโยมที่ท่านคุ้นเคย ทั้งนี้เรื่องที่มาเล่าประกอบด้วยความขัดแย้งที่ตัวละครต้องประสบ 3 แบบ คือ 1 ความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ 1) ตัวละครประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ไม่พบความสุขที่แท้จริง 2) ตัวละครต้องพบความทุกข์ทางใจที่หาทางออกไม่ได้ 2 ความขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ในสังคม และ 3 ตัวละครขัดแย้งกับธรรมชาติ เช่น ความทุพลภาพ ความชรา เป็นต้น ซึ่งพระไพศาล วิสาโล ได้ชี้ให้เห็นว่าธรรมะคือทางของของความขัดแย้งต่างๆเหล่านี้81 589