CA: Dissertations
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing CA: Dissertations by Author "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์"
Now showing 1 - 7 of 7
Results Per Page
Sort Options
- Publication7 ทศวรรษ อัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ สู่ฉากทัศน์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564 – 2573) = 7 decades of television news brand identity to the scenario in the next decade (2021 – 2030)(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 โดยเป็นการวิจัยเชิงอนาคต (futures research) ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน ได้แก่ผู้บริหารองค์กรสื่อโทรทัศน์ จำนวน 10 คน ผู้บริหารองค์กรสื่อออนไลน์ จำนวน 3 คน ผู้บริหารองค์กรวิชาชีพสื่อ จำนวน 2 คน และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 มี 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านวิสัยทัศน์ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรมุ่งนำเสนอข่าวเพื่อตอบสนองกลุ่มคนรุ่นใหม่ และมีเนื้อหาพิเศษที่ผู้ชมต้องเสียค่าใช้จ่ายในการชม 2. ด้านวัฒนธรรม 2.1 องค์กรข่าว ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง กองบรรณาธิการทำงานอย่างคล่องตัว ต้องบูรณาการทุกสื่อรวมกัน โดยผลิตข่าวให้สอดคล้องกับช่องทางการนำเสนอในแต่ละช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้ความสำคัญกับศิลปะในการผลิตข่าวโทรทัศน์มีการสร้างแฟนคลับรายการข่าว 2.2 คนข่าว คนข่าวควรมีทักษะในการสืบค้นข้อมูล มีความสนใจเรื่องเทคโนโลยีมีทักษะการทำงานในหลายแพลตฟอร์ม มีทักษะในการเล่าเรื่องข้ามสื่อ นำเสนอข่าวด้วยทักษะความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล 3. ด้านตำแหน่งทางการตลาด มองกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเฉพาะ สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม 4. ด้านบุคลิกภาพ กำหนดบุคลิกภาพรายการที่สอดคล้องกับบุคลิกของผู้ชม เช่น บุคลิกภาพแบบไม่เป็นทางการ เป็นกันเอง เป็นคนรุ่นใหม่ มีสาระบันเทิง มีนวัตกรรม อธิบายให้เข้าใจง่าย เล่าสนุก เป็นต้น 5. ด้านความสัมพันธ์ ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรนำเสนอเนื้อหาเชื่อมกับทุกแพลตฟอร์ม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม สร้างการมีส่วนร่วมแบบทันทีทันใด สร้างรูปแบบให้ติดตามข่าวแบบเพลย์ลิสต์ นำข้อมูลของผู้บริโภคในโลกออนไลน์มาใช้ในการสร้างสรรค์รายการข่าว สร้างตราสินค้าคนข่าว สร้างช่องทางให้ประชาชนรายงานข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 6. ด้านวิธีการนำเสนอ กำหนดเนื้อหาตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย มีเนื้อหาที่เชื่อมประสบการณ์ผู้ชม มีแขกรับเชิญที่น่าสนใจ การนำเสนอ ใช้รูปแบบการเล่า ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่มีศิลปะ อธิบาย วิเคราะห์ให้เข้าใจง่าย คำนึงถึงรสนิยมคนดูและมีวิธีการนำเสนอที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการรายงาน49 311 - Publicationการพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์ สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมธุรกิจและสภาพการสื่อสารการตลาดแบรนด์ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย 2. เพื่อศึกษาความแข็งแกร่งของแบรนด์ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และ 3. เพื่อพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มที่ศึกษา คือ แบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องของไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ 1) ผู้ส่งออกที่ได้รับรางวัลผู้ส่งออกและผู้เชี่ยวชาญธุรกิจส่งออก จำนวน 7 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม 2) ผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น จำนวน 632 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และ 3) นักวิชาการด้านการสื่อสารการตลาดและนักวิชาชีพด้านการสื่อสารการตลาด จำนวน 9 คน เพื่อให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาโมเดลการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ส่งออกไทยมีพันธิมิตรที่ดีกับผู้จำหน่ายในต่างประเทศและช่วยสื่อสารแบรนด์ ผู้บริโภคมั่นใจต่อแบรนด์จากสัญลักษณ์มาตรฐานการผลิตและข้อความ Made in Thailand ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้การสื่อสารแบรนด์ได้หลายช่องทางและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น 2) โดยภาพรวมและทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ ความภักดี การตระหนักรู้ การรับรู้คุณภาพ และสิ่งเชื่อมโยงกับแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของประเทศไทยมีความแข็งแกร่งอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าแบรนด์สินค้าจากประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 3) นวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องของไทย ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบทตลาดต่างประเทศ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และเส้นทางการสื่อสารการตลาดมุ่งสู่ความภักดีต่อแบรนด์จากอิทธิพลร่วมกันระหว่างการตระหนักรู้ ความภักดี และสิ่งเชื่อมโยงกับแบรนด์ภายใต้การสร้างประสบการณ์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค134 878 - Publicationการสร้างตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” = Tourism route branding retracing the Naga beliefs “The Naga Routes”(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคและสภาพการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับพญานาค (2) เพื่อสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” (3) เพื่อสร้างตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาแบบพหุวิธี กล่าวคือ ผู้วิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า โดยรวบรวมข้อมูลจาก 3 แหล่ง ดังนี้ (1) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร กลุ่มตัวอย่างคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพญานาค รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 91 เอกสาร (2) การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับพญานาคในเส้นทางนาคาวิถี รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 23 คน (3) การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ แหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคในเส้นทางนาคาวิถีรวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 138 แห่ง ผลการศึกษาพบแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคและผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 99 แห่ง สามารถนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวโดยใช้วิธีการจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวได้ทั้งสิ้น 9 เส้นทาง (ฉาก) ได้แก่ ฉากที่ 1 “อาศิรกังวาน” ฉากที่ 2 “ศาสนคาร” ฉากที่ 3 “ธรณีสัณฐาน” ฉากที่ 4 “เกจิอาจารย์” ฉากที่ 5 “อุรังคนิทาน” ฉากที่ 6 “เทศกาล” ฉากที่ 7 “บุญญาภิสังขาร” ฉากที่ 8 “โบราณสถาน” และ ฉากที่ 9 “คูหาสถาน” ด้านตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 รูปลักษณ์ของจุดหมายปลายทาง ได้แก่ (1) ชื่อตราสินค้า “The Naga route” (เส้นทางนาคาวิถี) (2) ตราสัญลักษณ์เป็นภาพนัยยะเพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์จ ทั้ง 4 ด้าน คือ ธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมของพญานาค ธรรมชาติของพื้นที่ และธรรมชาติของสังคม (3) คำขวัญ “นาคาวิถี: ค้นหาตัวตน” องค์ประกอบที่ 2 คุณประโยชน์จากคุณสมบัติของจุดหมายปลายทาง “การได้เรียนรู้ธรรมชาติ” องค์ประกอบที่ 3 คุณประโยชน์ทางอารมณ์“การส่งมอบความวางใจ”องค์ประกอบที่ 4 คุณค่าของจุดหมายปลายทาง “นักท่องเที่ยวจะได้คำตอบของความหมายในการเป็นมนุษย์คนหนึ่งผ่านเรื่องราวของพญานาค” องค์ประกอบที่ 5 แก่นแท้ของจุดหมายปลายทาง“ความวางใจในธรรมชาติ”90 628 - Publicationการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ = Marketing communication for elderly product(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 ท่าน ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแรก ได้แก่ นักกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ กลุ่มที่สอง ได้แก่ นักวิชาการ และกลุ่มที่สาม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ คือ ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการใช้สื่อ ความต้องการ และสุขภาพ โดยพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุ มีความสนใจเนื้อหาด้านสุขภาพ ใช้งานสื่อร่วมสมัยพร้อม ๆ กับการเปิดรับสื่อดั้งเดิม โดยใช้สื่อเหล่านี้เพื่อเสริมความรู้ ฆ่าเวลา หาความบันเทิง และเชื่อมโยงทางสังคม นอกจากนี้ยังมีวิธีการเปิดรับสารที่สอดคล้องกับวัย สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ส่งสารต้องมีความรู้ในเรื่องที่กำลังสื่อสาร มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของการสื่อสาร มีความสอดคล้องกับลักษณะวิถีชีวิตและความต้องการเปิดรับสารของผู้สูงอายุ และมีบุคลิกลักษณะทางการสื่อสารที่ดี ด้านเนื้อหาจะต้องมีความเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน มีวิธีการเล่าเรื่องและเนื้อหาที่ชวนให้ติดตาม สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก และมีความน่าเชื่อถือ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา ควรใช้ข้อความขนาดใหญ่ เนื้อหาไม่มาก ใช้สีสดใสดึงดูดใจ มีภาพประกอบ และการออกแบบเรียบง่าย ส่วนช่องทางในการสื่อสาร ใช้สื่อออนไลน์ได้แก่ Line Facebook และ Youtube และสื่อดั้งเดิมโดยใช้โทรทัศน์เป็นหลัก40 326 - Publicationรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ = A Causal relationship model of factors affecting the effectiveness of online business marketing communications(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ และ 2) พัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์เป็นการวิจัยแบบผสานได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.916 จากผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน และผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารการตลาด การตลาดออนไลน์ ผู้ดูแลระบบของแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงและกลุ่ม Youtuber จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) การออกแบบเทคโนโลยี การยอมรับเทคโนโลยีและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ ได้แก่ CAP FC ประกอบด้วย (1) C: Commerce Cost เลือกสื่อสังคมออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงงบประมาณในการทำโฆษณา (2) A: Admin Communication ให้มีการใช้ Chatbot สำหรับตอบคำถามพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้ข้อมูล (3) P: Platform Marketing Mix พัฒนาช่องทางออนไลน์ของตนเอง และทำส่งเสริมการขายผ่านแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียง (4) F: Follower Consumer สร้างผู้ติดตาม และ (5) C: Communication Social เลือกช่องทางการสื่อสารออนไลน์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย48 529 - Publicationแนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับผู้บริโภคไทย = Guideline for creating marketing communication literacy of dietary supplement with Thai consumer(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเส้นทางการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย 2) ศึกษาการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผ้บริโภคไทย ประกอบด้วยสถานการณ์การรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาด ระดับการรู้เท่าทันสื่อ และรูปแบบ การตัดสินใจซื้อ 3) ค้นหาแนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับผู้บริโภคไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้บริโภคไทย จำนวน 10 คน นักวิชาการและนักวิชาชีพ จำนวน 9 คน เชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคไทยที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกรอบทฤษฎี และสถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ผู้บริโภคมีประสบการณ์บนเส้นทางการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้เนื้อหา 2) ด้านการพิจารณาและตัดสินใจซื้อจากแหล่งข้อมูล 3) ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาและตัดสินใจซื้อ 4) ด้านการรับรู้ผ่านช่องทางการสื่อสาร 5) ด้านการสนับสนุน 6) ด้านการซื้อซ้ำ 7) ด้านการซื้อ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า สถานการณ์การร้เท่าทันการสื่อสารการตลาด ในมุมมองนักวิชาการ/นักวิชาชีพ มองว่าผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันผู้ส่งสาร ได้แก่ กลยุทธ์และวัตถุประสงค์ การสื่อสาร แหล่งที่มาของข้อมูล และกลุ่มอิทธิพล ด้านการรู้เท่าทันสาร ได้แก่ เนื้อหาบนฉลาก ผลิตภัณฑ์ ข่าวปลอม และทักษะการตรวจสอบข่าวปลอม ด้านการรู้เท่าทันช่องทางหรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การรู้และเข้าใจข้อจำกัดการโฆษณา ความน่าเชื่อถือของช่องทางต่าง ๆ และการรู้เท่าทันการสื่อสารแบบปากต่อปาก ด้านการรู้เท่าทันตัวเอง ได้แก่ การรู้เท่าทันอารมณ์ สถานการณ์การรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคเอง พบว่า ด้านการรู้เท่าทันผู้ส่งสาร ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ และผู้ส่งสารประเภทบุคคล เช่น พนักงานขายหน้าร้าน และกลุ่มอิทธิพล เป็นผู้ส่งสารที่ไม่น่าเชื่อถือ ด้านการรู้เท่าทันสาร ได้แก่ ข้อมูลบนฉลาก เช่น วันหมดอายุ ผู้ผลิต เป็นต้น แหล่งที่มาของข้อมูล สารประกอบของผลิตภัณฑ์ และภาษาบนฉลากผลิตภัณฑ์ ด้านการรู้เท่าทันช่องทางหรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาด ได้แก่ เลือกรับหรือปฏิเสธช่องทางได้ ตรวจสอบเนื้อหาที่ได้รับกับผู้เชี่ยวชาญ การใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบ ด้านการรู้เท่าทันตนเอง ได้แก่ เรื่องค่านิยมทางสังคม เช่น ความสวย ความหล่อ ความผอม การรู้เท่าทันสุขภาพของตนเอง และการใส่ใจสุขภาพ ผลการศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากการประเมินตนเองของผู้บริโภค พบว่า ระดับการรู้เท่าทันอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษารูปแบบการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย ประกอบด้วย 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการซื้อแบบกระตือรือร้น 2) รูปแบบการซื้อแบบเน้นการประเมินข้อมูล 3) รูปแบบการซื้อแบบเปิดรับข้อมูลทุกช่องทาง 4) รูปแบบการซื้อแบบพิจารณาใคร่ครวญอย่างละเอียดรอบคอบ 5) รูปแบบการซื้อแบบเน้นความสะดวกสบาย 6) รูปแบบการซื้อแบบพิจารณาแค่ฉลากผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า แนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถสรุปแนวทางการสร้างได้ 7 แนวทางดังนี้ 1) การสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามรูปแบบการซื้อของผู้บริโภค 2) การสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามเส้นทางการตัดสินใจซื้อ 3) การสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ – กิเลสตัวเอง 4) การสร้างการรู้เท่าทันสุขภาพ หรือความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้บริโภค 5) การสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6) การสร้างการรู้เท่าทันเชิงปฏิบัติการด้านกฎหมายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 7) การสร้างการรู้เท่าทันคุณธรรมให้ผู้ส่งสารและผู้บริโภค73 1986 - Publicationแนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม = Marketing communication guidelines for enhancing sustainability in community markets in Thailand : a case study of Tong Chom Market(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยเรื่อง “แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม ผลการวิจัย พบว่า โครงการตลาดต้องชมมีการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ และสื่อสารผ่านการจัดกิจกรรมพิเศษ ทั้งนี้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโครงการตลาดต้องชม อยู่ในระดับปานกลาง และประเภทของสื่อที่ใช้เปิดรับข่าวสารตลาดต้องชมมากที่สุด ได้แก่ สื่อออนไลน์ และสื่อบุคคล สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของตลาดต้องชม พบว่า ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร และด้านผู้รับสาร ส่งผลต่อความยั่งยืนของตลาดต้องชม โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความยั่งยืนของตลาดต้องชมในอนาคตได้ร้อยละ 69 และแนวทางทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของตลาดนัดชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาตลาดต้องชม มีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง คือ 1) แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนของโครงการตลาดต้องชม สำหรับกรมการค้าภายใน เรียกว่าโมเดล CHOM และ 2) แนวทางการสื่อสารการตลาดเพื่อความยั่งยืนสำหรับตลาดต้องชม เรียกว่าโมเดล CHOMarke145 1086