Options
แนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับผู้บริโภคไทย = Guideline for creating marketing communication literacy of dietary supplement with Thai consumer
Loading...
File(s)
Alternative Title(s)
Guideline for creating marketing communication literacy of dietary supplement with Thai consumer
Author(s)
Advisor(s)
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2023
DOI
10.14458/UTCC.the.2023.1
Resource Type
Dissertation
Language
Thai
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเส้นทางการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย 2) ศึกษาการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผ้บริโภคไทย ประกอบด้วยสถานการณ์การรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาด ระดับการรู้เท่าทันสื่อ และรูปแบบ การตัดสินใจซื้อ 3) ค้นหาแนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับผู้บริโภคไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้บริโภคไทย จำนวน 10 คน นักวิชาการและนักวิชาชีพ จำนวน 9 คน เชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคไทยที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกรอบทฤษฎี และสถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ผู้บริโภคมีประสบการณ์บนเส้นทางการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้เนื้อหา 2) ด้านการพิจารณาและตัดสินใจซื้อจากแหล่งข้อมูล 3) ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาและตัดสินใจซื้อ 4) ด้านการรับรู้ผ่านช่องทางการสื่อสาร 5) ด้านการสนับสนุน 6) ด้านการซื้อซ้ำ 7) ด้านการซื้อ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า สถานการณ์การร้เท่าทันการสื่อสารการตลาด ในมุมมองนักวิชาการ/นักวิชาชีพ มองว่าผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันผู้ส่งสาร ได้แก่ กลยุทธ์และวัตถุประสงค์ การสื่อสาร แหล่งที่มาของข้อมูล และกลุ่มอิทธิพล ด้านการรู้เท่าทันสาร ได้แก่ เนื้อหาบนฉลาก ผลิตภัณฑ์ ข่าวปลอม และทักษะการตรวจสอบข่าวปลอม ด้านการรู้เท่าทันช่องทางหรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การรู้และเข้าใจข้อจำกัดการโฆษณา ความน่าเชื่อถือของช่องทางต่าง ๆ และการรู้เท่าทันการสื่อสารแบบปากต่อปาก ด้านการรู้เท่าทันตัวเอง ได้แก่ การรู้เท่าทันอารมณ์ สถานการณ์การรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคเอง พบว่า ด้านการรู้เท่าทันผู้ส่งสาร ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ และผู้ส่งสารประเภทบุคคล เช่น พนักงานขายหน้าร้าน และกลุ่มอิทธิพล เป็นผู้ส่งสารที่ไม่น่าเชื่อถือ ด้านการรู้เท่าทันสาร ได้แก่ ข้อมูลบนฉลาก เช่น วันหมดอายุ ผู้ผลิต เป็นต้น แหล่งที่มาของข้อมูล สารประกอบของผลิตภัณฑ์ และภาษาบนฉลากผลิตภัณฑ์ ด้านการรู้เท่าทันช่องทางหรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาด ได้แก่ เลือกรับหรือปฏิเสธช่องทางได้ ตรวจสอบเนื้อหาที่ได้รับกับผู้เชี่ยวชาญ การใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบ ด้านการรู้เท่าทันตนเอง ได้แก่ เรื่องค่านิยมทางสังคม เช่น ความสวย ความหล่อ ความผอม การรู้เท่าทันสุขภาพของตนเอง และการใส่ใจสุขภาพ ผลการศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากการประเมินตนเองของผู้บริโภค พบว่า ระดับการรู้เท่าทันอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษารูปแบบการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย ประกอบด้วย 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการซื้อแบบกระตือรือร้น 2) รูปแบบการซื้อแบบเน้นการประเมินข้อมูล 3) รูปแบบการซื้อแบบเปิดรับข้อมูลทุกช่องทาง 4) รูปแบบการซื้อแบบพิจารณาใคร่ครวญอย่างละเอียดรอบคอบ 5) รูปแบบการซื้อแบบเน้นความสะดวกสบาย 6) รูปแบบการซื้อแบบพิจารณาแค่ฉลากผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า แนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถสรุปแนวทางการสร้างได้ 7 แนวทางดังนี้ 1) การสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามรูปแบบการซื้อของผู้บริโภค 2) การสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามเส้นทางการตัดสินใจซื้อ 3) การสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ – กิเลสตัวเอง 4) การสร้างการรู้เท่าทันสุขภาพ หรือความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้บริโภค 5) การสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6) การสร้างการรู้เท่าทันเชิงปฏิบัติการด้านกฎหมายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 7) การสร้างการรู้เท่าทันคุณธรรมให้ผู้ส่งสารและผู้บริโภค
Objectives of this research were 1. to study the customer journey of Thai consumers to purchase dietary supplements 2. to study the literacy of marketing communication about dietary supplements among Thai consumers. It consists of marketing communication literacy scenarios. Media literacy levels and purchasing decision patterns. 3. Find ways to build marketing communication literacy of dietary supplements with Thai consumers. This research is mixed research. Qualitative with focus group method, participants included 10 Thai consumers, 9 academics and professionals. Quantitative by survey method, the sample group was Thai consumers aged 18 years and over. Analyze data with theoretical framework and statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation and factor analysis. The results of the research according to first objective found that consumers had experiences on the decision-making journey of dietary supplements in 7 aspects: 1. Perception of content 2. Consideration and decision to buy from sources 3. Factors used in considering and making purchasing decisions 4. Awareness through communication channels 5. Support 6. Repurchase 7. Purchase. All aspects were at a high level. The results of the research according to the second objective found that the situation of marketing communication literacy from the perspective of academicians and professionals. It is seen that consumers must be aware of the messengers including strategies and communication objectives. source of information and influence groups. Information literacy, including content on product labels, fake news, and fake news detection skills. Channel literacy or marketing communication tools include knowing and understanding the limitations of advertising. The credibility of various channels and word-of-mouth communication literacy. The aspect of selfawareness is being aware of emotions. The situation of marketing communication literacy from the point of view of consumers, it was found that the messenger literacy was the credibility of the messenger, product origin and personal messengers such as store sales staff and influence groups is an unreliable messenger. Information literacy, including information on labels such as expired date, manufacturers, etc. Sources of information, product ingredients and the language on the product label. Channel literacy or marketing communication tools, being able to choose to accept or reject channels, review the received material with experts and using a variety of media to examine and compare. The aspect of self-awareness includes social values such as beauty, handsomeness, thinness, self-awareness of one's health and health care. The results of the study on the level of media literacy about dietary supplements from self-evaluation of consumers found that the level of media literacy was at a high level. The results of the study of dietary supplement purchasing patterns of Thai consumers consisted of 6 patterns: 1. Active consumer 2. Information Evaluator 3. Information Collector 4. Introspective Consumer 5. Convenience-oriented consumer 6) Labelchecking consumer. The results of the research according to the third objective found that the approach to create literacy in marketing communications for dietary supplements can be summarized as 7 approaches as follows: 1. Creation of dietary supplement marketing communication literacy according to consumer purchasing patterns 2. Creation of dietary supplement marketing communication literacy along the path of decision making 3. Creating emotional awareness – Self desire 4. Creating Health Awareness 5. Creation of a learning center for dietary supplement marketing communication literacy 6. Creation of literacy on dietary supplement laws 7. Creation of moral literacy to messengers and consumers
Description
ดุษฎีนิพนธ์ (นศ.ด. (นิเทศศาสตร์การตลาด)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2566.
Degree Level
Doctoral
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ปวรพล สอนระเบียบ. (2566). แนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับผู้บริโภคไทย = Guideline for creating marketing communication literacy of dietary supplement with Thai consumer.
Views
73
Last Week
3
3
Last Month
24
24
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
1986
Last Week
63
63
Last Month
1064
1064
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024