Options
การศึกษาวิเคราะห์ภววิทยาของความสุขและสุขภาวะที่ดีในมโนทัศน์ทางปรัชญาว่าด้วยโคฟุกุ ของ นิชิดะ คิตะโร
Loading...
File(s)
Alternative Title(s)
Analytical study of ontology of happiness and well-being in Nishida Kitaro’s philosophical conception of Kofuku
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2022
Resource Type
Research report
Language
Thai
Abstract
งานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขและสุขภาวะที่ดีด้วยวิธีการทางสถิติเพียงอย่างเดียวในกรณีของประเทศญี่ปุ่นทำให้พบว่า สำนึกเชิงอัตวิสัยด้านความสุขไม่สัมพันธ์ตัวบ่งชี้เชิงภววิสัยของสุขภาวะที่ดี ข้อค้นพบที่สวนทางกันเช่นนี้ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับความสุขหรือสุขภาวะที่ดีในแบบญี่ปุ่นได้หวนกลับไปสู่ท่าทีเชิงภววิทยา ที่ให้ความสำคัญกับการเข้าใจธรรมชาติของชีวิตซึ่งดำรงอยู่ในโลก ณ ตรงนี้/เวลานี้ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์เอกสารปฐมภูมิของนิชิดะ คิตะโร ผ่านการพินิจพิเคราะห์มโนทัศน์โคฟุกุในกระบวนทัศน์ทางปรัชญาของเขา ซึ่งได้ข้อสรุปจากการสืบสอบดังต่อไปนี้ ประการที่ 1) โคฟุกุในแง่ของความมีอยู่จริง คือ ทุกข์สุขแห่งเอกภาพของชีวิต ส่วนประการที่ 2) โคฟุกุในแง่ของความดี คือ ความปรารถนาที่มีต่ออุดมคติของสภาวะอันดี และประการสุดท้าย 3) โคฟุกุในแง่ของศาสนา คือ การสำแดงให้เห็นถึงประสบการณ์ทางศาสนาที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อีกทั้งข้อค้นพบของการวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ความสุขและสุขภาวะที่ดีในทัศนะทางภววิทยาแบบญี่ปุ่นของนิชิดะ คิตะโร จะมุ่งให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติการณ์ของสัตและกัมมันตภาวะของโลกที่ชีวิตดำรงอยู่ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงภววิทยาของสุขภาพจิต สุขภาพกาย และสังคมที่ดีในมุมองของปรัชญาญี่ปุ่นได้
Many studies about happiness and well-being that solely based on statistical methods in Japan suggest that the subjective senses of happiness is not correlate with the objective indicators of well-being. This contradiction alternates the study of happiness and well-being in Japan turn back to ontological attitude such that the attention is paid to the understanding of the nature of life that is existing in the world as being in the here and the now. The aim of this research is to study Nishida Kitaro’s primary source documents in order to consider conception namely Kofuku in his philosophical paradigm. As a result, the conclusion of this research can be given as following. (1) Kofuku, by mean of reality, is the suffering and happiness as the unity of life. (2) Kofuku, by mean of goodness, is the desire for ideal of being good. and (3) Kofuku, by mean of religion, is the manifestation of religious experience becoming a part of live. Moreover, the finding of this research shows that happiness and well-being in Japanese ontological perspective of Nishida Kitaro pays attention to the understanding about acting of being and living world activities. It contributes to understanding ontology of mental health, physical health, and social well-being in perspective of Japanese philosophy
Sponsorship
รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนส่งเสริมการวิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พ.ศ. 2565
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce. UTCC Central Library
Views
129
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
351
Last Week
2
2
Last Month
4
4
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024