Options
การวิเคราะห์เนื้อหาและคำศัพท์ในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ
Loading...
File(s)
Alternative Title(s)
Analysis of content and vocabulary in the basic Thai for foreigners textbooks
Author(s)
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2022
Resource Type
Research report
Language
Thai
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและคำศัพท์ในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ ในสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
1. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐานที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ โดยได้ศึกษาเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 3 ประเภท คือ 1) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับกระทรวง/ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นแบบเรียนระดับชาติ เพื่อให้เป็นแบบเรียนและคู่มือการเรียนการสอน ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นในบริบทไทยศึกษาสำหรับชาวต่างชาติ 2) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัย จากสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัย ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยในชีวิตประจำวัน Thai in daily Life 3) แบบเรียนที่ไม่มีหน่วยงานสังกัดที่สำนักพิมพ์เอกชนได้จัดพิมพ์และจำหน่าย นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ Thai for beginners ผลของการศึกษาพบว่าวิธีการเรียนรู้ และเนื้อหาแบบเรียนมีความเหมือนและความแตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน ที่ต่างกัน จึงทำให้มีประเด็นในเนื้อหาของการเรียนรู้แตกต่างกัน มีการใช้สัทอักษรในการถ่ายเสียง และฝึกการออกเสียงเนื้อหาในแบบเรียนได้ถูกต้อง แต่ด้วยจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กันคือ เรียนด้วยตนเอง กับการเรียนที่มีผู้สอนในชั้นเรียน ทำให้วิธีการเรียนรู้ต่างกันบ้าง การใช้ซีดีเพื่อช่วยสอนก็เป็นการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ออกเสียงภาษาไทยได้ถูกต้อง แต่หากผู้เรียนอยู่ในบริบทของสังคมไทยอาจไม่ต้องใช้ซีดีในการเรียนการสอน วิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐาน มีความเหมือนและความแตกต่างกัน โดยพบว่าแบบเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในหลักการคัดเลือกและเรียบเรียงคำศัพท์ที่ง่ายก่อนไปคำศัพท์ที่ยาก ให้เรียนรู้ในเรื่องใกล้ตัวหรือรอบตัวก่อน และตามด้วยคำศัพท์ที่มีประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ ซึ่งมักเป็นกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน แบบเรียนทั้ง 3 เล่ม มีหมวดคำศัพท์ที่เหมือนกันจำนวน 10 หัวข้อ ได้แก่ การทักทายแนะนำตนเองหรือคนอื่นให้รู้จักกัน ครอบครัวและญาติพี่น้อง อาหารการกินและการสั่งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้/การซื้อของและต่อรองราคา ทิศทาง/สถานที่ และการถามทาง วัน เดือน ปี /สี และเวลา การเดินทาง และยานพาหนะ/การขนส่ง คำกริยา คำถาม และคำที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน ตัวเลข และพืช (ดอกไม้/ผลไม้) เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียนที่ต่างกัน จุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กัน และบริบทในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน จึงทำให้การคัดเลือกคำศัพท์ การจัดลำดับวิธีการเรียนรู้ในหมวดหมู่คำศัพท์แตกต่างกันบ้าง
1. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐานที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ โดยได้ศึกษาเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 3 ประเภท คือ 1) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับกระทรวง/ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นแบบเรียนระดับชาติ เพื่อให้เป็นแบบเรียนและคู่มือการเรียนการสอน ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นในบริบทไทยศึกษาสำหรับชาวต่างชาติ 2) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัย จากสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัย ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยในชีวิตประจำวัน Thai in daily Life 3) แบบเรียนที่ไม่มีหน่วยงานสังกัดที่สำนักพิมพ์เอกชนได้จัดพิมพ์และจำหน่าย นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ Thai for beginners ผลของการศึกษาพบว่าวิธีการเรียนรู้ และเนื้อหาแบบเรียนมีความเหมือนและความแตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน ที่ต่างกัน จึงทำให้มีประเด็นในเนื้อหาของการเรียนรู้แตกต่างกัน มีการใช้สัทอักษรในการถ่ายเสียง และฝึกการออกเสียงเนื้อหาในแบบเรียนได้ถูกต้อง แต่ด้วยจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กันคือ เรียนด้วยตนเอง กับการเรียนที่มีผู้สอนในชั้นเรียน ทำให้วิธีการเรียนรู้ต่างกันบ้าง การใช้ซีดีเพื่อช่วยสอนก็เป็นการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ออกเสียงภาษาไทยได้ถูกต้อง แต่หากผู้เรียนอยู่ในบริบทของสังคมไทยอาจไม่ต้องใช้ซีดีในการเรียนการสอน วิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐาน มีความเหมือนและความแตกต่างกัน โดยพบว่าแบบเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในหลักการคัดเลือกและเรียบเรียงคำศัพท์ที่ง่ายก่อนไปคำศัพท์ที่ยาก ให้เรียนรู้ในเรื่องใกล้ตัวหรือรอบตัวก่อน และตามด้วยคำศัพท์ที่มีประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ ซึ่งมักเป็นกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน แบบเรียนทั้ง 3 เล่ม มีหมวดคำศัพท์ที่เหมือนกันจำนวน 10 หัวข้อ ได้แก่ การทักทายแนะนำตนเองหรือคนอื่นให้รู้จักกัน ครอบครัวและญาติพี่น้อง อาหารการกินและการสั่งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้/การซื้อของและต่อรองราคา ทิศทาง/สถานที่ และการถามทาง วัน เดือน ปี /สี และเวลา การเดินทาง และยานพาหนะ/การขนส่ง คำกริยา คำถาม และคำที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน ตัวเลข และพืช (ดอกไม้/ผลไม้) เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียนที่ต่างกัน จุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กัน และบริบทในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน จึงทำให้การคัดเลือกคำศัพท์ การจัดลำดับวิธีการเรียนรู้ในหมวดหมู่คำศัพท์แตกต่างกันบ้าง
The research entitled “An Analysis of Content and Vocabulary in the Basic Thai for Foreigners Textbooks” has two objectives: 1) to analyse and compare similarities and differences in the content of the basic Thai for foreigners textbooks; and 2) to analyse and compare similarities and differences in the selection, arrangement, and use of vocabulary and sets of vocabulary of the basic Thai for foreigners textbooks. The analysed textbooks consist of three types: 1) a textbook published by an official agency at the Ministry level, which is aimed to be a textbook and guidebook used for learning and teaching nationwide, i.e., Basic Thai for Foreigners in the Context of Thai Studies; 2) a textbook published by an educational institute, university, or institute that teaches Thai language for foreigners and aimed to be used for teaching and learning in the university, i.e., Thai in Daily Life; and 3) a textbook published and distributed by a private publishing house that is used for teaching and learning both inside and outside the country, i.e., Thai for Beginners. The study found that there are similarities and differences in these textbooks due to their different target groups. As a result, their contents and learning objectives are dissimilar. They used correct phonetic alphabets for transcription and pronunciation. However, their methods are different due to their learning objectives, i.e., self-learning and in class learning. Using compact disks as a teaching tool helps learners to pronounce Thai language correctly. But if the learners are in the context of Thai society, the compact disks may not be necessary. There are similarities and differences in the selection and arrangement of sets of basic vocabulary. The study found that most textbooks recognise the importance of the principle of selection and arrangement of the vocabulary, i.e., from simple to difficult vocabulary. They learn from the vocabulary around them before learning useful vocabulary for foreign learners, most of which are the vocabulary used for daily life. The three textbooks share 10 sets of vocabulary which are self-introduction or introducing others, family and relatives, foods and ordering food, tools/buying and negotiating for prices, directions/places and asking for directions, day month year/colours and time, travelling and vehicles/transportation, verbs/questions and common words in daily life, numbers, and plants (flowers/fruits). There are slight differences in the selection and arrangement of sets of vocabulary in these three books due to the differences in target groups, learning purposes, and learning contexts.
Sponsorship
รายงานวิจัยนี้ได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พ.ศ. 2564
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce. UTCC Central Library
Views
288
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
665
Last Week
5
5
Last Month
5
5
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024