Options
การศึกษาและกําหนดส่วนประสมทางการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่า ให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย อําเภอปง จังหวัดพะเยา
Loading...
File(s)
Author(s)
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2021
Resource Type
Independent study
Language
Thai
Abstract
การศึกษาและกำหนดส่วนประสมทางการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่าให้เป็น Smart Farmer กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุของเกษตรกรลูกค้าเงินกู้รายเก่าของ ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย ที่ไม่พัฒนาตนเองเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง 2. เพื่อกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการพัฒนาเกษตรกรลูกค้าเงินกู้รายเก่า ของ ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย ให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง กลุ่มเป้าหมายเฉพาะเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายบุคคล ซึ่งเป็นผู้กู้รายเก่าของ ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย ที่ยังไม่พัฒนาตนเองให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง โดยลูกค้าที่เป็นเกษตรกรผู้กู้รายบุคคลนั้น จะแบ่งตามพื้นที่ทั้งหมด 6 เขต มีพนักงานพัฒนาธุรกิจ ให้บริการจำนวน 4 คน โดยการเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้กู้รายคน จำนวน 200 ราย ในพื้นที่ 3 ตำบล ประกอบด้วย ต.งิม ต.ออย และ ต.ผาช้างน้อย ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลช่วง สิงหาคม 2564 – ตุลาคม 2564 และสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชน และ ผู้ประกอบการรับซื้อ รวบรวมผลผลิตในพื้นที่รวมไปถึงผู้ประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร จำนวน 20 ราย โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง มีสาเหตุจากลูกค้ายังคงยึดรูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมไม่มีความรู้ทางตลาดเพียงพอ ไม่มีผู้แนะนำให้ความรู้ซึ่งทำให้ไม่มีการวางแผนในการผลิตที่ดี รวมไปถึงการเข้าถึงทุนในการผลิตค่อนข้างน้อย แรงจูงใจที่สำคัญที่สุดคือ แรงจูงใจด้านเศรษฐกิจ โดยมุ่งไปที่รายจ่ายรวมในครัวเรือน ส่วนแรงจูงใจที่ส่งผลน้อยที่สุดคือ ด้านบุคคล และเมื่อมองในภาพรวมของปัจจัยแรงจูงใจทุกข้อ พบว่าลูกค้ามีแรงจูงใจด้านสังคมจากการเป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงน้อยที่สุด ธนาคารควรใช้แรงจูงใจโดยการเพิ่มทุนให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเข้าไปให้ความรู้ อบรม อย่างต่อเนื่องทั้งด้านการผลิต และการตลาดแก่ลูกค้าร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการพัฒนาตนเองไปเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง ที่มีความความสำคัญที่สุดสำหรับลูกค้าคือ ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาของผลผลิตประกอบกับด้านการส่งเสริมการตลาด ซึ่งหากมีการส่งเสริมทางการตลาดที่เหมาะสม และทั่วถึง จะสามารถผลักดันให้ เกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่ากลายเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องได้ง่ายขึ้น ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลน้อยที่สุดคือ การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และจากผลการสัมภาษณ์ พบว่าหากลูกค้า สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องได้ย่อมส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ ตามความต้องการของผู้รับซื้อยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองราคาผลผลิตมากขึ้น อาจมีช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลายขึ้น ธนาคารควรเพิ่มการส่งเสริมการตลาด ด้านการประชาสัมพันธ์ทางช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรปกติทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ รวมถึงผู้ประกอบการอื่นๆ นอกพื้นที่ได้รับรู้ด้วย ก็จะเป็นช่องทางที่ทำให้ลูกค้าอยากจะพัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น แนวทางการสำหรับการพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่าให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง 1. มุ่งเน้นพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในการเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง ก่อนให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ จนกระทั่งสามารถถ่ายทอด หรือเป็นต้นแบบแก่บุคคลอื่นในชุมชนและควรมีการประชาสัมพันธ์แบบเจาะลึกอย่างต่อเนื่อง 2. วางแผนพัฒนาร่วมกับหน่วยงานอื่น ธนาคารควรวางแผนร่วมกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาเกษตรกร ลูกค้าผู้กู้รายเก่าร่วมกับเกษตรกรกรรายอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อร่วมกันหาวิธีการที่บูรณาการ รวดเร็ว ได้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด และใช้ได้จริงกับสภาพพื้นที่ทำกินของเกษตรกร 3. พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ธ.ก.ส. ให้เชี่ยวชาญ และเป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อที่จะสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำลูกค้าได้ตลอดเวลา นอกจากความรู้ด้านสินเชื่อและการเงินแล้ว ควรพัฒนาความรู้ด้านการเกษตร เช่น เทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นต้น และ พนักงานควรต้องได้ทดลองและปฏิบัติจริงด้วย
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การตลาด)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
นัยน์ปพร ศรีนิ่มนวล. (2564). การศึกษาและกําหนดส่วนประสมทางการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่า ให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย อําเภอปง จังหวัดพะเยา.
นัยน์ปพร ศรีนิ่มนวล (2564). การศึกษาและกําหนดส่วนประสมทางการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่า ให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย อําเภอปง จังหวัดพะเยา.
Views
58
Last Week
1
1
Last Month
1
1
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
311
Last Week
4
4
Last Month
24
24
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024