Options
กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากผลกระทบวิกฤต COVID-19 ผ่านมุมมองผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
Loading...
File(s)
Alternative Title(s)
Marketing communication strategies to enhance competitiveness after the effect of covid-19 crisis through the perspectives of high-ranking executives in modern trade business
Author(s)
School of Communication Arts
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาดดิจิทัล.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2022
Resource Type
Research report
Language
Thai
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากผลกระทบวิกฤต COVID-19 ผ่านมุมมองผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เป็นแนวทางในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) และการค้นคว้าหลักฐานจากเอกสารต่าง ๆ (documentary research) สำหรับการนำเสนอผลวิจัยจะเรียงลำดับตามกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ทั้ง 5ขั้นตอน ประกอบด้วย การทบทวนแผนการตลาด การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาด การกำหนดเครื่องมือสื่อสารการตลาด การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา และการประเมินผล ผลวิจัย พบว่า ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่มีการทบทวนแผนการตลาด (review of the marketing plan) ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิมเพื่อให้สอดรับกับวิกฤติ COVID-19 ที่อยู่บนความไม่แน่นอน ยากต่อการคาดเดา และไม่รู้จุดสิ้นสุดของปัญหา เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ (situation analysis) โดยใช้ “SWOT Analysis” พบว่า จุดแข็งหรือความได้เปรียบ (strengths) ของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์และความสามารถของผู้นำที่กล้าปรับตัวอย่างรวดเร็ว 2) การมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ 3) จำนวนสาขาที่ครอบคลุมและความแข็งแกร่งของสาขา 4) การพัฒนาช่องทางเชื่อมต่อโลกออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันในรูปแบบ Omni-Channel 5) ความเชี่ยวชาญและความสามารถของบุคลากร สำหรับจุดอ่อน (weaknesses) ประกอบด้วย 1) สาขาจำนวนมากกลายเป็นภาระของธุรกิจ 2) ทักษะของพนักงานไม่เอื้อต่อการปรับตัวอย่างกะทันหัน 3) ระบบบริหารจัดการร้านค้าปลีกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ 4) ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ผ่านโอกาส (opportunities) ต่อไปนี้ 1) ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตและทำงานที่บ้านอย่างต่อเนื่อง 2) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเร่งให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเอาชนะข้อจำกัด 3) กระแสสังคมสร้างความนิยมให้กับผลิตภัณฑ์ 4) การจับมือเป็นพันธมิตรและการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น ส่วนอุปสรรค (threats) ต่อการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) ความไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ เกิดขึ้นแบบฉับพลันของสถานการณ์ COVID-19 2) ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและกำลังซื้อลดลง 3) คู่แข่งเพิ่มสูงขึ้น 4) มาตรการกระตุ้นและพื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐ 5) การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้การทบทวนแผนการตลาดยังครอบคลุมถึงการกำหนดวัตถุประสงค์การตลาดที่ชัดเจน (specific marketing objectives) โดยพบว่าวิกฤต COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่กำหนดวัตถุประสงค์การตลาดมุ่งเน้นเรื่องยอดขาย (sales) และกำไร (profit) เป็นหลัก ส่วนการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target market) หรือ “ลูกค้าที่ใช่” (core customer) จะวิเคราะห์ผ่าน “STP Process” ครอบคลุมถึงการกำหนดกลยุทธ์การตลาด marketing strategy) ที่พยายามใช้ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด เพี่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ขั้นตอนที่สอง การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาด (determining objective) พบว่า มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การตลาดที่มุ่งเรื่องยอดขายและกำไรเป็นสำคัญ เริ่มต้นจากเพื่อสร้างการรับรู้(awareness) และสิ้นสุดตรงเพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อ (action) ส่วนการกำหนดเครื่องมือสื่อสารการตลาด (marketing communication tools) ในขั้นตอนที่สามนั้น ทำให้ทราบว่าแผนสื่อสารการตลาดที่เคยวางไว้ล่วงหน้าถูกรื้อใหม่ทั้งหมด โดยมีการปรับแผนให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียกสั้น ๆ ว่า “Covid Plan” และธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ( IMC) ที่ผสมผสานเครื่องมือแต่ละประเภทเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนถัดมา การกำหนดงบประมาณและระยะเวลา (determining budgets and timing) พบว่า ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่กำหนดงบประมาณด้านการสื่อสารการตลาดไว้ 2 รูปแบบ คือ งบประมาณจากบนลงล่าง (top-down approach) และงบประมาณจากล่างสู่บน (bottom-up approach) ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง นโยบาย และวัฒนธรรมการทำงานของแต่ละองค์กร ตลอดจน ปรับระยะเวลาการดำเนินงานของทุกแผนให้สั้นลงเพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและประเมินผล สำหรับการประเมินผล (evaluation) ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย พบว่า ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่จะประเมินความสำเร็จของแผนสื่อสารการตลาดในภาพรวม (overall evaluation) โดยพิจารณาจากยอดขายและกำไรเป็นหลัก ส่วนการประเมินผลแต่ละเครื่องมือสื่อสารการตลาด (task evaluation) พบว่า เครื่องมือแต่ละประเภทมีเกณฑ์ในการประเมินผลแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะครอบคลุม 3 เรื่อง คือ การรับรู้(awareness) ความผูกผัน (engagement) และยอดขาย (sales) สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ซ่อนอยู่ภายใต้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากผลกระทบวิกฤต COVID-19 ประกอบด้วย 1. วิสัยทัศน์ของผู้นำ 2. ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่มีความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี นวัตกรรม บุคลากร และฐานข้อมูลลูกค้า 3. การดำเนินกลยุทธ์การตลาดที่ยึดหลักแนวคิด “ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” (customer centric) 4. การนำข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า (customer insight) มาใช้ประโยชน์ในการบริหารความสัมพันธ์ เพื่อมอบประสบการณ์เชิงบวกแบบไร้รอยต่อ (seamless experience) 5. การใช้เครื่องมือการประชาสัมพันธ์ผ่านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) หรือการสร้างสรรค์คุณค่าร่วม (CSV) ควบคู่กับเครื่องมือการส่งเสริมการขาย 6. การสร้างสรรค์เนื้อหาสารหรือคอนเทนต์ที่เล่นกับอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า (emotional marketing) จากวิกฤต COVID-19 7. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่กระชับ สามารถปรับตามสถานการณ์หรือพฤติกรรมผู้บริโภคในขณะนั้นได้ทันที
This research is aimed to study marketing communication strategies to enhance competitiveness after the effect of covid-19 crisis through the perspectives of high-ranking executives in modern trade business by using qualitative research methodology to guide the study, gather the data through in-depth interview and conduct documentary research for presentation. The research results will be ordered by 5 steps of marketing communication strategies, consisting of the review of the marketing plan, determining objectives of marketing communication, identifying marketing communication tools, determining budgets and timing and evaluation. From the research, it was founded that modern retail trade had a review of the marketing plan from different perspectives in order to align with covid-19 crisis which is based on uncertain, difficult to predict and endless problems. When analyzing situation by using SWOT analysis, it was founded that strengths or competitive advantages of modern trade consist of 1) Vision and capability of leaders with courage to adjust quickly 2) Readiness of technology, innovation and customer data base to drive business 3) Wide coverage numbers and strength of branches 4) Development of interfacing channels between off-line and on-line in forms of omni-channel and 5) Expertise and capability of employees For weaknesses, they include 1) A lot numbers of branches may become burden of business 2) Skills of employees have not yet support immediate adaptation 3) Retail store management has not been developed completely 4) Modern trade involves a lot of stakeholders. However, the effect of COVID-19 crisis helped enhance competitiveness of modern trade through following opportunities 1) Most people will spend their life and work from home continuously 2) The advancement of technology catalyze on-line platform development to overcome constraints 3) Societal trend builds popularity on products 4) The hand-shake alliance and cooperation of business increases. For threats of the operation, they are 1) Uncertainty and unpredictability of COVID-19 situation happened immediately 2) Consumers spent carefully and had decreasing purchasing power 3) Numbers of competitors increased 4) Measures of stimulating and recovering economy of public sector 5) The enforcement of the Personal Data Protection Act, B.E.2562 or PDPA. Hence, the review of marketing plan covers specific marketing objectives where COVID-19 crisis causes modern trade to identify marketing objectives focusing mainly on sales and profit. To identify target market or core customers, the analysis through STP Process covers identifying marketing strategies which attempt to use product, price, place and marketing promotion to create competitive advantages. From the second step; determining objectives of marketing communication, it was founded that the alignment of marketing objectives focusing mainly on sales and profit started from building awareness and ending at taking the purchasing action. The identifying of marketing communication tools of step three helped us know that the laid-out marketing communication plan in advance was revamped completely by adjusting it to be more flexible and align with stipulated situation. And, it was called Covid Plan. Moreover, modern trade business foresaw the importance of Integrated Marketing Communication: IMC which combined different types of tools in order to enhance competitiveness from the effect of COVID-19. In the following step of determining budgets and timing, it was founded that modern trade business identified 2 types of marketing communication, i.e. topdown and bottom-up approaches in budgeting. The identified types depended on structure, policies and culture of each organization trying to shorten operation plan and make it easy to follow-up and evaluate. For the evaluation part, which is the last step, it was founded that modern trade business would evaluate success of the overall marketing communication (overall evaluation) by considering mainly sales and profit. For the evaluation of each marketing communication tool (task evaluation), it was founded that each tool had different evaluation criteria which mostly cover 3 areas; Awareness, Engagement and Sales. The key success factors behind the marketing communication strategies in order to increase the competitiveness after the impact of COVID-19 pandemic comprise of 1. Vision of the leaders 2. The Modern trade business with readiness in terms of investment, technology, innovation, human resources and customer database 3. Implementation of Marketing strategies based on “customer centric” concept 4. The use of customer insight for customer relationship management to deliver a seamless experience to customers 5. The use of public relations tools through Corporate Social Responsibility : CSR or Creating Shared Value : CSV together with any type of sales promotion tools 6. The creation of message or content that touches on emotion and feelings of customers (emotional marketing) from the COVID-19 pandemic crisis 7. Marketing communication strategies that are concise and adaptable to customers’ behaviors or situations at the moment immediately.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากผลกระทบวิกฤต COVID-19 ผ่านมุมมองผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ = Marketing communication strategies to enhance competitiveness after the effect of covid-19 crisis through the perspectives of high-ranking executives in modern trade business. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Views
103
Last Month
2
2
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
561
Last Week
9
9
Last Month
26
26
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024