Options
การศึกษาผลกระทบด้านรายได้ของแรงงานและชั่วโมงการทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (พ.ศ 2561 – 2564)
Loading...
File(s)
Author(s)
Advisor(s)
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะเศรษฐศาสตร์
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2022
Resource Type
Independent study
Language
Thai
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาผลกระทบด้านรายได้และชั่วโมงการทำงานของแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อศึกษาแรงงานที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้และชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษางานค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีลักษะเป็นอนุกรมเวลา (Time Series Data) ใช้ข้อมูลการสำรวจสภาวะแรงงาน (Labour Force Survey :LFS) ใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2561 – 2564 เป็นระยะเวลา 4 ปี จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นผลของรายได้และชั่วโมงการทำงานของแรงงานเพื่อเปรียบเทียบกันระหว่างรายได้และชั่วโมงการทำงานของแรงงานในช่วง 4 ปี ซึ่งจะสะท้อนผลเป็นรายประชากรเพื่อเปรียบเทียบรายได้และชั่วโมงการทำงานของแต่ละปี และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ใช้วิธีการวิเคราะห์วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มกับ T-Test และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า งานวิเคราะห์ความแตกต่างจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 รายได้และชั่วโมงการทำงาน จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยรายได้ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแตกต่างกับชั่วโมงการทำงานที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางกลับกันเห็นได้ชัดว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 กระทบกับแรงงานในประเด็นเรื่องการศึกษา ที่แตกต่างกันในแต่ละระดับการศึกษา หรือที่มีการศึกษาแตกต่างกัน โดยแรงงานที่มีการศึกษาที่ไม่สูง อาทิเช่น ไม่มีการศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงลบ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงให้เห็นว่าแรงงานที่มีการศึกษาไม่สูงมากมีโอกาสเสี่ยงที่จะรายได้ลดน้อยลง สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญและมีผลต่อรายได้ ระดับการศึกษามีผลต่อการจ้างงาน เมื่อมองกลับกันแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาที่สูงแม้จะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ผลกระทบด้านรายได้ของแรงงานไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ส่วนประเด็นค่าเฉลี่ยชั่วโมงการทำงานทั้งสิ้นต่อสัปดาห์ของแรงงานมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติในเชิงลบที่ระดับ 0.01 ทั้งด้านภูมิภาค เขตการปกครอง สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาที่สำเร็จ อาชีพ และอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ทุกกลุ่มแรงงาน มีชั่วโมงการทำงานลดลง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19ที่เกิดขึ้น นายจ้างมักปรับตัวโดยการปรับเปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน มากกว่าเพิ่มหรือลดคนงานแบบฉับพลัน ส่วนหนึ่งอาจมาจากการหาแรงงาน ที่มีทักษะที่เหมาะสมกับงานนั้น ผลจากการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่าผลกระทบด้านรายได้ของแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้แก่ ประสบการณ์การทำงาน ภูมิภาค เขตเทศบาล สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาที่สำเร็จ อาชีพ อุตสาหกรรม พบว่า ประเด็นการศึกษาและอาชีพมีผลต่อรายได้ของแรงงานมากที่สุดโดยการเปลี่ยนแปลงของแรงงานก่อนและระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในแง่ของการศึกษา วุฒิการศึกษาส่งผลต่อค่าจ้างของแรงงาน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดยิ่งทำให้ระดับการศึกษามีผลต่อรายได้ที่มากขึ้นทำให้เกิดความแตกต่างกันในด้านรายได้ยิ่งมากขึ้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่ารายได้ของแรงงานที่มีการศึกษาตั้งแต่ต่ำอนุปริญญาถึงสูงกว่าปริญญาตรีมีรายได้ที่เหนือกว่ากลุ่มแรงงานที่ไม่มีการศึกษา เทียบกับก่อนเกิดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างชัดเจน ดังนั้น ระดับการศึกษาของแรงงานจะส่งผลให้มีความแตกต่างของรายได้ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดโควิด – 19
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2565
Degree Level
Masters
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
จิรภัทร บุญอาจ. (2565). การศึกษาผลกระทบด้านรายได้ของแรงงานและชั่วโมงการทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (พ.ศ 2561 – 2564)
Views
36
Last Month
3
3
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
274
Last Week
1
1
Last Month
40
40
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024