logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Independent Studies
  5. การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
 
Options

การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

Loading...
Thumbnail Image
File(s)
 317482.pdf (1.04 MB)
Author(s)
พุฒินี ชุณหโสภาค.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2021
Resource Type
Independent study
Language
Thai
Abstract
การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เกิดจากปัญหาการชะลอการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประชากรในจังหวัดเชียงราย จึงมีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อหาแนวในการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2. ธนาคารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีมาตราส่วนประมาณค่า ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบว่า จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 21-40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือน 30,001-50,000 บาท โดยส่วนมากรู้จักสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีช่องทางการรับรู้ผ่านทางออนไลน์ อินเตอร์เน็ต Facebook เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก สนใจในสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการออม ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ คือ รางวัลพิเศษ งบประมาณการซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ต่อครั้งอยู่ที่จำนวน 5,001 – 10,000 บาท ส่วนสาเหตุของผู้ที่ไม่สนใจซื้อส่วนใหญ่ คือ ราคาของสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโดยส่วนมากจะออมเงินไว้กับบัญชีธนาคาร ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดเกี่ยวกับสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยในภาพรวมและรายด้านมีค่าอยู่ในระดับมาก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากให้ความสำคัญ โดยมีการจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปค่าเฉลี่ยน้อย ได้ดังนี้ อันดับที่ 1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อันดับที่ 2 ด้านกระบวนการให้บริการ อันดับที่ 3 ด้านบุคลากร อันดับที่ 4 ด้านราคา อันดับที่ 5 ด้านลักษณะทางกายภาพ อันดับที่ 6 ด้านผลิตภัณฑ์ อันดับที่ 7 ด้านการส่งเสริมการตลาด จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านราคา มีส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์มากที่สุด
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การเงิน)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Subject(s)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
การส่งเสริมการขาย
การออมกับการลงทุน
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
พุฒินี ชุณหโสภาค. (2564). การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย.
พุฒินี ชุณหโสภาค (2564). การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย.
URI
https://hdl.handle.net/20.500.14437/8871
Views
114
Last Month
1
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Downloads
405
Last Week
5
Last Month
24
Acquisition Date
Sep 26, 2024
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS