logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Independent Studies
  5. การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ต่อปัจจัยด้านความตั้งใจขอสินเชื่อ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สํานักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 จังหวัดเชียงราย
 
Options

การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ต่อปัจจัยด้านความตั้งใจขอสินเชื่อ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สํานักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 จังหวัดเชียงราย

Loading...
Thumbnail Image
File(s)
 317530.pdf (1.13 MB)
Author(s)
มณีนุช มณีวรรณ.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2021
Resource Type
Independent study
Language
Thai
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความต้องการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว และ (3) เพื่อประเมินน้ำหนักความสัมพันธ์ของ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อปัจจัยด้านความต้องการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับลูกค้าและบุคคลที่สนใจขอสินเชื่อของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 385 ราย มีสถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น แบบพหุ (Multiple Linear Regression) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.40 อายุ 21 – 30 ปี ร้อยละ 44.80 มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 85.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 35.50 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ภาพรวมในระดับมากที่สุด โดยมีความต้องการด้านบุคลากร เป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการบริการ การส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ และ ราคา มีความต้องการในระดับมากถึงมากที่สุด และมีความตั้งใจขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว ในภาพรวมในระดับมากที่สุด ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการบริการ และด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อความตั้งใจขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คำสำคัญ
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การตลาด)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Subject(s)
ธนาคารออมสิน
ส่วนแบ่งทางการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การตัดสินใจ
สินเชื่อการค้า
ธุรกิจขนาดย่อม -- การตลาด
ธุรกิจขนาดกลาง -- การตลาด
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
มณีนุช มณีวรรณ. (2564). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ต่อปัจจัยด้านความตั้งใจขอสินเชื่อ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สํานักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 จังหวัดเชียงราย.
มณีนุช มณีวรรณ (2564). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ต่อปัจจัยด้านความตั้งใจขอสินเชื่อ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สํานักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 จังหวัดเชียงราย.
URI
https://hdl.handle.net/20.500.14437/8901
Views
51
Last Week
2
Last Month
4
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Downloads
596
Last Week
21
Last Month
64
Acquisition Date
Sep 26, 2024
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS