Options
แนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน
Loading...
File(s)
Author(s)
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2020
Resource Type
Independent study
Language
Thai
Abstract
การศึกษาค้นคว้าอิสระ แนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน เกิดจากการที่ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธินสูญเสียรายได้จากการที่ลูกค้าองค์กรสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ ในจํานวนที่ลดลง เมื่อเทียบกับจํานวนการเปิดบัญชีลูกค้าองค์กรที่เพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับ กลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน มีแนวโน้มลดลง และเพื่อหาแนวทาง การเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มลูกค้าองค์กรที่เคยเปิดบัญชี กับธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธินในปี 2560 ถึงปี 2563 จํานวน 125 หน่วยงาน ใช้เครื่องมือ สํารวจแบบเจาะจงเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการใช้บริการ ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์แบบสอบถาม และกลุ่มลูกค้าองค์กร ที่เคยเปิดบัญชีกับธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน จํานวน 15 หน่วยงาน พนักงานธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน จํานวน 3 คน ผู้บริหารธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน 2 คน รวมทั้งหมด 20 คน ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์โดยการสุ่มแบบอิสระ ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุที่ทําให้กลุ่มลูกค้าองค์กรส่วนใหญ่ไม่สนใจสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ มาจากการคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ในอัตราที่สูง มีขั้นตอนการใช้งานบริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีช่องทางการให้บริการ ที่ไม่หลากหลาย ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าองค์กรที่สมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์มีจํานวนน้อย จึงมีการสร้างทางเลือกสําหรับแก้ไขปัญหา 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ต่างๆ 2. การจัดทําป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ 3. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ซึ่งแนวทางที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา คือ แนวทางที่ 1. การประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ต่างๆ เนื่องจากการจัดพนักงานออกประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ เป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่กลุ่ม ลูกค้าองค์กร และสามารถจัดรายการส่งเสริมการขายยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียมแรกเข้าและ ค่าธรรมเนียมรายปีของบริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์หากมีการสมัครใช้บริการ และแนะนํา ขั้นตอนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์โดยพนักงานที่มีความชํานาญ เพื่อเป็นการกระตุ้น ยอดการสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์
The independent study on guidelines for increasing the proportion of electronic banking services for customers of the Government Savings Bank Phaholyothin Office was carried out because the Government Savings Bank Phaholyothin Office lost revenue from corporate customers applying for electronic banking when compared to the increasing number of corporate account openings. The objectives were to figure out why the proportion of electronic banking services for corporate customers of the Government Savings Bank Phaholyothin Office tended to decrease and to find ways to increase the proportion of electronic banking services for corporate customers of the Government Savings Bank Phaholyothin Office. The samples in this study were composed of corporate customers who previously opened an account with the Government Savings Bank Phaholyothin Office during 2017-2020, totaling 125 departments. A specific survey tool was used to collect data with a questionnaire on the marketing mix of electronic banking services for corporate customers. In a questionnaire analysis, descriptive analysis, frequency distribution, and percentage were used. Corporate customers who previously opened an account with the Government Savings Bank Phaholyothin Office consisted of 15 departments, 3 employees of Government Savings Bank Phaholyothin Office, 2 executives of the Government Savings Bank Phaholyothin Office, totaling 20 people, interviewed by using free random sampling. The results of the study demonstrated the reasons why most corporate customers were not interested in applying for electronic banking services as follows. There is a fee for opening an account, and the annual fee is costly. There is also a complicated process for using electronic banking services, and service channels are not various. As a result, corporate customers who applied for electronic banking services resulted in a small number. Therefore, 3 alternative solutions were created: 1. public relations outside the organization in various places, 2. the preparation of billboards for public relations in various places, and 3. the advertisement through various media platforms. Solution 1. public relations outside the organization in various places was chosen since sending employees to publicize off-site can increase service channels for corporate customers and can promote to exempt the fee to open an account and annual fee of electronic banking services if there is an application, and expert employees can advise on the process of using electronic banking services to boost the number of electronic banking application.
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การเงิน)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2563.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Open access
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder
University of the Thai Chamber of Commerce
Physical Location
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ปนัดดา คงวิชา. (2563). แนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน.
ปนัดดา คงวิชา (2563). แนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน.
Views
51
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024
Downloads
401
Last Week
4
4
Last Month
13
13
Acquisition Date
Sep 26, 2024
Sep 26, 2024