Browsing by Subject "สินเชื่อการค้า"
Now showing 1 - 8 of 8
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การเพิ่มจํานวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID –19” ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดศรีสะเกษ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการขอใช้บริการและหาแนวทางเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19” ธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการนิติบุคคลในจังหวัด ศรีสะเกษ ที่เข้ามาใช้บริการธนาคารออมสินในพื้นที่บริการ 9 สาขาและกลุ่มลูกค้านิติบุคคลในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวนรวม 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผ่าน Google Form มีจำนวนแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 352 ชุด และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT และทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประกอบการวิจัยในครั้งนี้ด้วย ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ประกอบธุรกิจ ค้าปลีก/ค้าส่ง และมียอดขายระหว่าง 300,000 บาท แต่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้จักผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่รู้จักผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่ได้ยื่นขอใช้บริการผลิตภัณฑ์เนื่องจากไม่ทราบเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ ว่าธุรกิจของตนเข้าเงื่อนไขการยื่นขอสินเชื่อหรือไม่ ในส่วนของระดับการมีอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการผลิตภัณฑ์แปลผลตาม Likert's scale ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความสำคัญได้แก่ 1) ราคา 2) องค์ประกอบทางกายภาพ 3) บุคลากร 4) ช่องทางการจัดจำหน่าย 5) ผลิตภัณฑ์ 6) การส่งเสริมการตลาด และ 7) การบริการ ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์พนักงานเกี่ยวกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ค่อนข้างเยอะ 2) ด้านราคา ผลิตภัณฑ์คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับลูกค้าได้ 3) ด้านช่องทางการบริการ พบว่า สถานการณ์ COVID –19 เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการลูกค้า 4) ด้านส่งเสริมการตลาด มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดค่อนข้างน้อย 5) ด้านการบริการ ยังขาดการเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 6) ด้านบุคลากร พนักงานในสาขายังรู้จักรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อนโยบาย ฯ ค่อนข้างน้อย 7) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ยังขาดเครื่องมือที่ทันสมัยในการให้บริการลูกค้า ความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการให้บริการ พบว่าปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาใหม่มากราย มีการแข่งขันกันสูง การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ส่งผลให้คู่แข่งขันพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการให้บริการลูกค้า และข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อนโยบายฯ ในระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1) ระดับองค์กร ควรมีการผ่อนปรนเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ มีกลยุทธ์โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น พัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับการให้บริการลูกค้ามากขึ้น 2) ระดับธุรกิจหรือทีมงาน ควรมีการจัดประชุม ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ธนาคารและหาแนวทางหาลูกค้าเข้ามาใช้บริการ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่าย มีรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ครบถ้วน 3) ระดับปฏิบัติการ (พนักงาน) พนักงานควรมีบริการหลังการใช้บริการ กระตือรือร้นที่จะให้บริการและเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการและหากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ ออกมาเป็น 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ แนวทางที่ 2 กลยุทธ์เชิงแก้ไข - จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ผ่านสื่อการเรียนรู้ E-learning ของธนาคารให้กับพนักงานเมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน - ทีมงานศูนย์สินเชื่อ ฯ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กับพนักงานสาขาให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน – ทีมงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ58 737 - Publicationการศึกษาการแก้ไขการเกิดหนี้ค้างชําระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการแก้ไขการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ร่วมกับเชิงคุณภาพ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหา จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มลูกหนี้ที่เป็นกลุ่มสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประจำปี 2563 ที่จำนวน 372 ราย เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 บัญชี คิดเป็น 53.76% รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 15 ตัวอย่าง และทำการสัมภาษณ์ ลูกค้าเชิงลึกที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 ตัวอย่าง พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอก 2. ปัจจัยภายใน 3. ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งด้านปัจจัยภายนอกโดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในทั้งหมด 3 ปัจจัย โดยอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 ประกอบไปด้วย 1.ภาวะเศรษฐกิจซบเซา 2.รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ 3.ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ส่วนการสัมภาษณ์ลูกค้า และพนักงาน พบว่าปัจจุบันลูกค้าประสบปัญหาในการชำระค่างวดสินเชื่อ โดยมีสาเหตุจากการมีรายได้ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ, การแพร่ระบาดของโรค covid-19 เป็นต้น โดยต้องการเข้ามาตรการประนอมหนี้ หรือพักชำระหนี้กับธนาคาร ทั้งนี้ลูกค้ายังต้องการได้รับคำแนะนำ หรือแนวทางการช่วยเหลือที่ดีจากพนักงาน โดยแนวทางแก้ไขที่ผู้ศึกษาได้เลือก คือ การให้ลูกค้าที่มีปัญหาการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคาร สงเคราะห์เข้าร่วมมาตรการประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์70 543 - Publicationการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ต่อปัจจัยด้านความตั้งใจขอสินเชื่อ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สํานักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 จังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความต้องการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว และ (3) เพื่อประเมินน้ำหนักความสัมพันธ์ของ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อปัจจัยด้านความต้องการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับลูกค้าและบุคคลที่สนใจขอสินเชื่อของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 385 ราย มีสถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น แบบพหุ (Multiple Linear Regression) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.40 อายุ 21 – 30 ปี ร้อยละ 44.80 มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 85.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 35.50 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ภาพรวมในระดับมากที่สุด โดยมีความต้องการด้านบุคลากร เป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการบริการ การส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ และ ราคา มีความต้องการในระดับมากถึงมากที่สุด และมีความตั้งใจขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว ในภาพรวมในระดับมากที่สุด ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการบริการ และด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อความตั้งใจขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คำสำคัญ51 596 - Publicationการศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อธุรกิจ ของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 15 ธนาคารออมสิน ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อธุรกิจ ของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 15 ธนาคารออมสิน ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านสินเชื่อธุรกิจของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 15 และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test, One Way ANOVA โดยใช้แผนผังก้างปลาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา จากนั้นวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรโดยใช้ SWOT Analysis และนำผลที่ได้มากำหนดกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาโดยใช้ TOWS Matrix ผลการศึกษา พบว่าสาเหตุของปัญหาสินเชื่อธุรกิจที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร สามารถแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลัก ได้แก่ ปัญหาด้านพนักงาน ปัญหาด้านกระบวนการทำงาน ปัญหาด้านเครื่องมือ ปัญหาด้านนโยบาย ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ โดยเสนอแนวทางในการแก้ไขด้านนโยบาย คือ ธนาคารควรกำหนดให้มีนโยบาย ระเบียบ คำสั่ง ที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติ และยังทำให้พนักงานมีแนวทางในการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ธนาคารควรสร้างแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการของกลุ่มลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ จากการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และเพิ่มยอดอนุมัติและทำสัญญาสินเชื่อธุรกิจให้กับธนาคาร42 360 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา สาเหตุของปัญหาของยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสินที่ลดลง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ใช้บริการสินเชื่อไทรทอง จํานวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้แผนผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหา และนํามาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการตีความเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองเพื่อการอุปโภคบริโภค จากการแนะนําจากพนักงานธนาคาร โดยมีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสินเชื่อไทรทองกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทอื่น ๆ ก่อนการตัดสินใจ ซึ่งส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองด้วยตนเอง และจะแนะนําบุคคลอื่นให้มาใช้บริการสินเชื่อไทรทองเช่นกัน สําหรับส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยในทุกด้าน ด้านที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อไทรทองอันดับแรกคือ ด้านพนักงานธนาคาร รองลงมาคือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ และ ด้านผลิตภัณฑ์ ตามลําดับ แนวทางในการเพิ่มยอดสินเช่ือไทรทองของธนาคารออมสิน จํานวน 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสินเชื่อไทรทอง โดยเพิ่มช่องทางการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อไทรทองให้แก่พนักงานธนาคารออมสิน และแนวทางที่ 2 การเพิ่มช่องทางการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการจ้างบริษัทมาพัฒนาระบบช่องทางการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์100 435 - Publicationแนวทางการลดหนี้ค้างชําระสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID-19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; ตามที่ธนาคารได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้ปล่อยสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) เพื่อ ช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เมื่อติดตามผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) มีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูง ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหนี้ค้างชำระและเงินกันสำรองหนี้ของธนาคารสูงขึ้นด้วยเช่นกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขหนี้ให้สู่สถานะปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและมูลเหตุสำคัญของลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ สินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำมากำหนดแนวทางเพื่อให้ลูกหนี้กลับมาชำระให้แก่ธนาคารได้และมีแนวทางลดหนี้ค้างชำระให้แก่ธนาคาร ผู้ศึกษาได้เก็บตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างลูกหนี้สินเชื่อผู้มีอาชีพอสิระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ราย โดยลงพื้นที่ตาม แหล่งการค้าและชุมชน เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด และ 2) กลุ่มตัวอย่าง พนักงานธนาคารออมสินที่สังกัดกลุ่มบริหารหนี้และกฎหมาย จำนวน 103 ราย เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ โดยส่งไปยังช่องทางการสื่อสารของหน่วยงาน ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะข้อมูลทั่วไปของลูกหนี้และของพนักงานที่แตกต่างกัน มีการเลือกสาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้ค้างชำระที่แตกต่างกัน สรุปสาเหตุได้ 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และเศรษฐกิจซบเซา 2) ปัจจัยที่เกิดจากตัวลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้มี รายได้ลดลงแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานติดตามลูกหนี้แล้วพบว่าไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ และ 3) ปัจจัยภายในธนาคาร ได้แก่ จำนวนพนักงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ต้องการเข้ามาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระและมีความต้องการให้มาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้, มีสิทธิประโยชน์ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ หรือค่าบริการในการเข้าแก้ไขหนี้ค้างชำระ และเงื่อนไขข้อตกลง ระหว่างธนาคารกับลูกหนี้ที่เหมาะสม ทั้งนี้ พนักงานที่ปฏิบัติงานควรมีแผนการติดตามแก้ไขหนี้ค้างชำระ ที่ชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ สามารถสื่อสารถึงเงื่อนไขและ ประโยชน์ในการชำระหนี้ให้ลูกหนี้เข้าใจ มีหลักการวิเคราะห์แก้ไขหนี้ให้ลูกหนี้อย่างเที่ยงตรง ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางการลดหนี้ค้างชำระที่ควรดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ให้มีความสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ก่อน ดังนี้ 1) แนวทางการโปรโมชั่นช่วยลูกหนี้ เช่น ลดเงินต้น ลดเบี้ย ปรับ ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้ และปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน, 2) แนวทางการจัดไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง และ 3) แนวทางสร้างช่องทางการขายสร้างรายได้ให้แก่ลูกหนี้ ส่วนแนวทางที่ควร ดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและแก้ไขหนี้ให้แก่ธนาคารในระยะยาว ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการหนี้ (Debt Management System) และ 2) แนวทางการ ยกระดับความรู้และพัฒนาทักษะบุคลากรด้านบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ทั้งนี้แนวทางทั้งหมดมุ่งเน้นให้ เกิดการบูรณาการการแก้ไขหนี้ค้างชำระ ช่วยให้ลูกหนี้กลับมาชำระหนี้ได้ และปรับปรุงระบบการบริหาร หนี้ให้ดียิ่งขึ้นและ สามารถนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของธนาคารสามารถรองรับสถานการณ์ในระยะยาวได้อีกด้วย ทั้งการพัฒนา กระบวนการดำเนินงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงการบริการของธนาคารกับลูกค้าทุกประเภทได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น113 661 - Publicationแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อการค้าต่างประเทศ กรณีจํานวนเงินอนุมัติและทําสัญญาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารกําหนดของกลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ ธนาคารออมสิน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้จำนวนเงินอนุมัติและทำสัญญาของ สินเชื่อการค้าต่างประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด สำหรับเป็นแนวทางการเพิ่มปริมาณยอดสินเชื่อการค้าต่างประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนำปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 7P’s) มาศึกษาและวิเคราะห์ผ่านทางข้อมูลปฐมภมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารภายในหน่วยงาน จำนวน 8 ท่าน และ แบบสอบถามจากกลุ่มลูกค้า จำนวน 54 นิติบุคคล และนำมาเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลทุติยภูมิ โดยการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยภายนอก โดยเปรียบเทียบเป้าหมายระหว่างผลดำเนินงานจริงกับผลการดำเนินงานที่ธนาคารกำหนด ปี 2561 – 2563 ผลการศึกษา พบว่าจำนวนเงินอนุมัติและทำสัญญาของสินเชื่อการค้าต่างประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากการที่พนักงานสินเชื่อขาดความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ ในการอำนวยสินเชื่อ ไม่เข้าใจในธุรกิจของลูกค้า ทำให้มีการกำหนดวงเงินและเงื่อนไขสินเชื่อที่ ไม่ตรงกับความต้องการ และไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าปฏิเสธการใช้สินเชื่อกับธนาคาร จึงนำมาสู่การแก้ไขปัญหา โดยเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธนาคาร ด้วยการพัฒนาศักยภาพพนักงานด้วยการจัดอบรม Workshop จะทำให้พนักงานเข้าใจในลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติผ่านการปฏิบัติงาน และได้รับคำแนะนำจากคนที่มีประสบการณ์ เพื่อให้พนักงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน และสามารถกำหนดวงเงินและเงื่อนไขให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าสนใจที่จะใช้บริการสินเชื่อการค้าต่างเทศของธนาคารออมสิน71 486 - Publicationแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อธุรกิจวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ของธนาคารออมสิน สาขาโคกอุดม ที่มีแนวโน้มลดลง(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; งานวิจัยนี้เกิดจากการให้บริการสินเชื่อธุรกิจของธนาคารออมสิน สาขาโคกอุดม ที่มีผลต่อการดำเนินงานสินเชื่อธุรกิจวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทที่มีแนวโน้มลดลง ส่งผลกระทบต่อสินเชื่อรวมสุทธิ ทำให้ผลการประเมิน (KPIs) ของธนาคารไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้ศึกษาต้องการหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยใช้แบบสอบถามลูกค้า 20 ตัวอย่าง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากพนักงาน และผู้บริหารระดับสูง จำนวน 3 ตัวอย่าง โดยการออกแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่สินเชื่อธุรกิจมีแนวโน้มลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจซบเซา การบริหารจัดการของรัฐบาลกับโรคระบาด COVID-19 ทำให้ความสามารถในการทำกำไร สภาพคล่อง และผลประกอบการธุรกิจของลูกค้าลดลง นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการให้บริการสินเชื่อธุรกิจของธนาคาร ดังนี้ 1.ลูกค้าไม่มีความเข้าใจในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการขอกู้ 2.สถาบันการเงินขาดความยืดหยุ่นในเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา 3.ลูกค้าเผชิญกับปัญหาบางประการ เช่น กิจการถูกปิด การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของภาครัฐ และหาแนวทางการแก้ไขออกมาเป็น 2 ทางเลือก คือ 1.การส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานสินเชื่อ 2.การปรับเปลี่ยนกระบวนการด้านสินเชื่อ และตัดสินใจใช้ทั้ง 2 ทางเลือก เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในส่วนของพนักงานและกระบวนการสินเชื่อ67 608