Browsing by Subject "ลูกค้าธนาคาร"
Now showing 1 - 7 of 7
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การเพิ่มจํานวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID –19” ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดศรีสะเกษ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการขอใช้บริการและหาแนวทางเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19” ธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการนิติบุคคลในจังหวัด ศรีสะเกษ ที่เข้ามาใช้บริการธนาคารออมสินในพื้นที่บริการ 9 สาขาและกลุ่มลูกค้านิติบุคคลในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวนรวม 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผ่าน Google Form มีจำนวนแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 352 ชุด และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT และทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประกอบการวิจัยในครั้งนี้ด้วย ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ประกอบธุรกิจ ค้าปลีก/ค้าส่ง และมียอดขายระหว่าง 300,000 บาท แต่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้จักผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่รู้จักผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่ได้ยื่นขอใช้บริการผลิตภัณฑ์เนื่องจากไม่ทราบเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ ว่าธุรกิจของตนเข้าเงื่อนไขการยื่นขอสินเชื่อหรือไม่ ในส่วนของระดับการมีอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการผลิตภัณฑ์แปลผลตาม Likert's scale ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความสำคัญได้แก่ 1) ราคา 2) องค์ประกอบทางกายภาพ 3) บุคลากร 4) ช่องทางการจัดจำหน่าย 5) ผลิตภัณฑ์ 6) การส่งเสริมการตลาด และ 7) การบริการ ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์พนักงานเกี่ยวกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ค่อนข้างเยอะ 2) ด้านราคา ผลิตภัณฑ์คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับลูกค้าได้ 3) ด้านช่องทางการบริการ พบว่า สถานการณ์ COVID –19 เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการลูกค้า 4) ด้านส่งเสริมการตลาด มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดค่อนข้างน้อย 5) ด้านการบริการ ยังขาดการเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 6) ด้านบุคลากร พนักงานในสาขายังรู้จักรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อนโยบาย ฯ ค่อนข้างน้อย 7) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ยังขาดเครื่องมือที่ทันสมัยในการให้บริการลูกค้า ความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการให้บริการ พบว่าปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาใหม่มากราย มีการแข่งขันกันสูง การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ส่งผลให้คู่แข่งขันพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการให้บริการลูกค้า และข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อนโยบายฯ ในระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1) ระดับองค์กร ควรมีการผ่อนปรนเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ มีกลยุทธ์โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น พัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับการให้บริการลูกค้ามากขึ้น 2) ระดับธุรกิจหรือทีมงาน ควรมีการจัดประชุม ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ธนาคารและหาแนวทางหาลูกค้าเข้ามาใช้บริการ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่าย มีรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ครบถ้วน 3) ระดับปฏิบัติการ (พนักงาน) พนักงานควรมีบริการหลังการใช้บริการ กระตือรือร้นที่จะให้บริการและเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการและหากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ ออกมาเป็น 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ แนวทางที่ 2 กลยุทธ์เชิงแก้ไข - จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ผ่านสื่อการเรียนรู้ E-learning ของธนาคารให้กับพนักงานเมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน - ทีมงานศูนย์สินเชื่อ ฯ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กับพนักงานสาขาให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน – ทีมงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ58 737 - Publicationการศึกษาสาเหตุการไม่จัดทำบัญชีครัวเรือนของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรังงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุการไม่จัดทำบัญชีครัวเรือนของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรัง จำนวน 26 ครัวเรือน ซึ่งแต่ละครัวเรือนจะถูกแบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม (3S) ดังนี้ กลุ่ม S1 ได้แก่ เกษตรกรรายย่อยที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 100,000 บาท มีหนี้สินที่เป็นภาระหนัก รวมถึงผู้ที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 7 ครัวเรือน กลุ่ม S2 ได้แก่ เกษตรกรทั่วไปและทายาทเกษตรกร จำนวน 16 ครัวเรือน และกลุ่ม S3 ได้แก่ กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 3 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกค้าของธนาคารทั้ง 3 กลุ่มไม่จัดทำบัญชีครัวเรือน คือ 1. ลูกค้าส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ จึงทำให้ขาดแรงจูงใจ ขวัญและกำลังใจในการบันทึกบัญชี 2. ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่มีเวลาในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เนื่องจากในแต่วันมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมาก และไม่สามารถจดจำรายละเอียดการใช้จ่ายในการจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ 3. เจ้าหน้าที่ของธนาคารไม่มีการติดตามผลการบันทึกบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือนให้เกิดความสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน อีกทั้งยังขาดประสบการณ์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน นอกจากนี้ลูกค้ากลุ่ม S2 มีสาเหตุหลัก ลำดับที่ 4 คือ ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน
118 880 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา สาเหตุของปัญหาของยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสินที่ลดลง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ใช้บริการสินเชื่อไทรทอง จํานวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้แผนผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหา และนํามาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการตีความเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองเพื่อการอุปโภคบริโภค จากการแนะนําจากพนักงานธนาคาร โดยมีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสินเชื่อไทรทองกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทอื่น ๆ ก่อนการตัดสินใจ ซึ่งส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองด้วยตนเอง และจะแนะนําบุคคลอื่นให้มาใช้บริการสินเชื่อไทรทองเช่นกัน สําหรับส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยในทุกด้าน ด้านที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อไทรทองอันดับแรกคือ ด้านพนักงานธนาคาร รองลงมาคือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ และ ด้านผลิตภัณฑ์ ตามลําดับ แนวทางในการเพิ่มยอดสินเช่ือไทรทองของธนาคารออมสิน จํานวน 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสินเชื่อไทรทอง โดยเพิ่มช่องทางการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อไทรทองให้แก่พนักงานธนาคารออมสิน และแนวทางที่ 2 การเพิ่มช่องทางการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการจ้างบริษัทมาพัฒนาระบบช่องทางการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์100 435 - Publicationแนวทางการเพิ่มจํานวนลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุที่ทําให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีส่วนแบ่งการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL ในอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับจํานวนผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชันทางการเงินทั้งหมดในประเทศไทย และนําเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL ในจังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม ด้วยการเก็บแบบสอบถาม จํานวน 400 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึก จํานวน 8 ราย โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ผลการศึกษา พบสาเหตุของปัญหา คือ ด้านผลิตภัณฑ์โมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL มีรูปแบบการทําธุรกรรมที่ไม่หลากหลายและครอบคลุมเพียงพอ การใช้งานยังมีความซับซ้อน เมื่อเข้าสู่แอปพลิเคชันแล้วต้องใช้ความพยายามที่จะเข้าใจสัญลักษณ์ต่าง ๆ จึงจะใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว รูปแบบภายในของแอปพลิเคชัน GHB ALL ดูไม่ทันสมัย ประกอบกับคนเจนวายส่วนใหญ่มีความภักดีต่อตราสินค้าค่อนข้างสูง ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้แอปพลิเคชันของธนาคารอื่นได้ทันทีหากไม่มีเหตุจําเป็นให้ต้องเปลี่ยนแปลง เมื่อวิเคราะห์แล้วพบแนวทางในการแก้ไขป้ญหา คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์และพัฒนาแอปพลิเคชัน GHB ALL เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่ลูกค้า ธอส. คาดหวัง ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL สามารถขยายลูกค้าเป้าหมายไปยังกลุ่มอื่น ๆ ได้ นอกเหนือจากลูกค้าสินเชื่อบ้านของธนาคาร และตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ให้ธนาคารเติบโตได้อย่างมั่นคงในยุคดิจิทัล46 393 - Publicationแนวทางการเพิ่มยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสําหรับข้าราชการบํานาญและลูกจ้างประจํา กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาสาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอด เป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ ที่มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2) หาแนวทาง แก้ไขปัญหาที่ยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการและลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 185 ราย และทำการสัมภาษณ์ เชิงลึกแบบเจาะจงกลุ่มผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา พนักงานและลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสินเชื่อ และกลุ่มข้าราชการและลูกจ้างประจำโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าที่เกษียณอายุราชการในปี 2564 รวมจำนวน 20 ราย หาสาเหตุจากทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P's พฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจขอสินเชื่อของผู้ใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาแนวทางแก้ไขด้วย SWOT Analysis เขียน แผนผังก้างปลา และหาแนวทางเลือกด้วยตาราง TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญ และลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มาจากปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 7P's ได้แก่ ด้านช่องทางการบริการ มีสาเหตุรองคือ สถานที่จอดรถของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีไม่เพียงพอ และไม่มีช่องทางหรือป้ายให้คำแนะนำโปรโมชั่นสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อภายในสาขาให้ลูกค้าที่มาใช้บริการทราบ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีสาเหตุรองคือ สาขาชัยสมรภูมิ ไม่ออกบูธให้บริการสินเชื่อนอกสถานที่ และการประชาสัมพันธ์ตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีข้อตกลงหน่วยงาน (MOU) ด้านราคา มีสาเหตุรองคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญสูงกว่าธนาคารอื่น และการกำหนดวงเงินกู้ขั้นต่ำที่จะขอกู้เพิ่มเติมได้จากวงเงินกู้ครั้งแรกหลังผ่อนชำระมาแล้วสาขากำหนดไว้สูง และด้านบุคลากร มีสาเหตุรองคือ จำนวนพนักงาน ให้บริการสินเชื่อมีไม่เพียงพอ และความรู้ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์สินเชื่อของพนักงาน 2) ได้แนวทางเลือกเพื่อแก้ไขสาเหตุของปัญหามี 4 แนวทาง คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด แนวทางด้านบุคลากร แนวทางด้านช่องทางการบริการ และแนวทางด้านราคา ผู้ศึกษานำผลที่ได้ ข้อดีและข้อเสียของแต่ละแนวทาง รวมถึงงบประมาณและระยะเวลาที่ต้องใช้ดำเนินการ จัดทำเป็นหนังสือเสนอผู้อำนวยการเขต ผู้จัดการสาขา และคณะกรรมการสินเชื่อสาขา เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุด ผลที่ได้ คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด ด้วย เหตุผลที่ใช้ระยะเวลาสั้น งบประมาณน้อย สามารถดำเนินการได้ทันที ด้วยแผนการออกบูธให้บริการ สินเชื่อกับหน่วยงานราชการที่มีบันทึกข้อตกลงสินเชื่อ MOU กับสาขาชัยสมรภูมิ และเน้นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสินเชื่อและสิทธิพิเศษให้ลูกค้าทราบผ่านเทคโนโลยีรูปแบบดิจิทัล ด้วยการสมัคร ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง แอปพลิเคชัน MYMO ของธนาคารออมสินและช่องทางออนไลน์อื่นๆ111 531 - Publicationแนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระ แนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน เกิดจากการที่ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธินสูญเสียรายได้จากการที่ลูกค้าองค์กรสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ ในจํานวนที่ลดลง เมื่อเทียบกับจํานวนการเปิดบัญชีลูกค้าองค์กรที่เพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับ กลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน มีแนวโน้มลดลง และเพื่อหาแนวทาง การเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มลูกค้าองค์กรที่เคยเปิดบัญชี กับธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธินในปี 2560 ถึงปี 2563 จํานวน 125 หน่วยงาน ใช้เครื่องมือ สํารวจแบบเจาะจงเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการใช้บริการ ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์แบบสอบถาม และกลุ่มลูกค้าองค์กร ที่เคยเปิดบัญชีกับธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน จํานวน 15 หน่วยงาน พนักงานธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน จํานวน 3 คน ผู้บริหารธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน 2 คน รวมทั้งหมด 20 คน ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์โดยการสุ่มแบบอิสระ ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุที่ทําให้กลุ่มลูกค้าองค์กรส่วนใหญ่ไม่สนใจสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ มาจากการคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ในอัตราที่สูง มีขั้นตอนการใช้งานบริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีช่องทางการให้บริการ ที่ไม่หลากหลาย ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าองค์กรที่สมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์มีจํานวนน้อย จึงมีการสร้างทางเลือกสําหรับแก้ไขปัญหา 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ต่างๆ 2. การจัดทําป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ 3. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ซึ่งแนวทางที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา คือ แนวทางที่ 1. การประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ต่างๆ เนื่องจากการจัดพนักงานออกประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ เป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่กลุ่ม ลูกค้าองค์กร และสามารถจัดรายการส่งเสริมการขายยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียมแรกเข้าและ ค่าธรรมเนียมรายปีของบริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์หากมีการสมัครใช้บริการ และแนะนํา ขั้นตอนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์โดยพนักงานที่มีความชํานาญ เพื่อเป็นการกระตุ้น ยอดการสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์51 401 - Publicationแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อการค้าต่างประเทศ กรณีจํานวนเงินอนุมัติและทําสัญญาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารกําหนดของกลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ ธนาคารออมสิน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้จำนวนเงินอนุมัติและทำสัญญาของ สินเชื่อการค้าต่างประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด สำหรับเป็นแนวทางการเพิ่มปริมาณยอดสินเชื่อการค้าต่างประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนำปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 7P’s) มาศึกษาและวิเคราะห์ผ่านทางข้อมูลปฐมภมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารภายในหน่วยงาน จำนวน 8 ท่าน และ แบบสอบถามจากกลุ่มลูกค้า จำนวน 54 นิติบุคคล และนำมาเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลทุติยภูมิ โดยการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยภายนอก โดยเปรียบเทียบเป้าหมายระหว่างผลดำเนินงานจริงกับผลการดำเนินงานที่ธนาคารกำหนด ปี 2561 – 2563 ผลการศึกษา พบว่าจำนวนเงินอนุมัติและทำสัญญาของสินเชื่อการค้าต่างประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากการที่พนักงานสินเชื่อขาดความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ ในการอำนวยสินเชื่อ ไม่เข้าใจในธุรกิจของลูกค้า ทำให้มีการกำหนดวงเงินและเงื่อนไขสินเชื่อที่ ไม่ตรงกับความต้องการ และไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าปฏิเสธการใช้สินเชื่อกับธนาคาร จึงนำมาสู่การแก้ไขปัญหา โดยเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธนาคาร ด้วยการพัฒนาศักยภาพพนักงานด้วยการจัดอบรม Workshop จะทำให้พนักงานเข้าใจในลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติผ่านการปฏิบัติงาน และได้รับคำแนะนำจากคนที่มีประสบการณ์ เพื่อให้พนักงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน และสามารถกำหนดวงเงินและเงื่อนไขให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าสนใจที่จะใช้บริการสินเชื่อการค้าต่างเทศของธนาคารออมสิน71 486