Browsing by Subject "ภาษาไทย -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการคัดเลือกเพลงสำหรับสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการคัดเลือกประเภทของเพลงสำหรับสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้สอนภาษาไทยให้แก่ผู้เรียนชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยเป็นวิชาเอก และไม่ได้เรียนเป็นวิชาเอกภาษาไทย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 18 คน ได้แก่ ผู้สอนมหาวิทยาลัยรัฐบาล มหาวิทยาลัยเอกชน สถาบันการศึกษาการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ และหน่วยงานอื่นๆ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามเรื่อง วิธีการคัดเลือกเพลงสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ ผลการวิจัยพบว่าผู้สอนมีวิธีการคัดเลือกเพลงในการสอน สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สอนส่วนใหญ่มีวิธีคัดเลือกเพลงไปในทิศทางเดียวกันในประเด็นคำถาม 8 ข้อ ได้แก่ คัดเลือกเพลงที่นักร้องออกเสียงชัดเจน คัดเลือกเพลงตามระดับความรู้ของผู้เรียน คัดเลือกเพลงที่มีชื่อเสียงหรือได้รับความนิยม คัดเลือกตามความสนใจและตามวัยของผู้เรียน คัดเลือกเพลงที่มีความสัมพันธ์กับบทเรียน คัดเลือกเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย ประเภทของเพลงที่คัดเลือกมาสอน และข้อดีในการคัดเลือกเพลงประกอบการสอนในบทเรียน 2. ผู้สอนมีหลักการคัดเลือกเพลงหลากหลายวิธีในประเด็นคำถาม 3 ข้อ ได้แก่ หลักในการคัดเลือกเพลงที่ง่ายต่อการเรียนรู้ภาษาที่ 2 วิธีการคัดเลือกเพลงที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้จากภาษาแม่มาสู่ภาษาที่ 2 และหลักการคัดเลือกลักษณะเนื้อหาและการใช้ภาษาในบทเพลง การออกเสียงที่ชัดเจนของนักร้องมีผลต่อการคัดเลือกเพลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้เรียนในระดับต้น ผู้สอนจะให้ความสำคัญกับเสียงร้องที่ชัดเจนมากที่สุด เพราะส่งผลดีต่อการออกเสียงของผู้เรียน หากผู้เรียนอยู่ในระดับสูงผู้สอนจะเลือกเพลงที่มีเนื้อหาและการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ภาษาไทยตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ส่วนทำนองเพลงที่คุ้นหูหรือคำศัพท์ที่ผู้เรียนได้เคยฟัง และเคยเรียนแล้ว จะทำให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์และเข้าใจสำนวนภาษาได้ง่ายด้วย เพลงที่ผู้สอนยกตัวอย่างมาประกอบการเรียนการสอนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เพลงช้าง เพลงรำวงวันลอยกระทง และเพลงพรปีใหม่ เพลงทั้ง 3 เพลงนี้เป็นเพลงที่แสดงอัตลักษณ์ประจำชาติ แสดงวัฒนธรรมที่ดีงาม และแสดงความเป็นไทย ตลอดทั้งมีการใช้ภาษาที่ไพเราะงดงาม
90 361 - Publicationการวิเคราะห์เนื้อหาและคำศัพท์ในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและคำศัพท์ในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ ในสาระสำคัญ 2 ประการ คือ 1. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐานที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ โดยได้ศึกษาเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 3 ประเภท คือ 1) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับกระทรวง/ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นแบบเรียนระดับชาติ เพื่อให้เป็นแบบเรียนและคู่มือการเรียนการสอน ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นในบริบทไทยศึกษาสำหรับชาวต่างชาติ 2) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัย จากสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัย ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยในชีวิตประจำวัน Thai in daily Life 3) แบบเรียนที่ไม่มีหน่วยงานสังกัดที่สำนักพิมพ์เอกชนได้จัดพิมพ์และจำหน่าย นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ Thai for beginners ผลของการศึกษาพบว่าวิธีการเรียนรู้ และเนื้อหาแบบเรียนมีความเหมือนและความแตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน ที่ต่างกัน จึงทำให้มีประเด็นในเนื้อหาของการเรียนรู้แตกต่างกัน มีการใช้สัทอักษรในการถ่ายเสียง และฝึกการออกเสียงเนื้อหาในแบบเรียนได้ถูกต้อง แต่ด้วยจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กันคือ เรียนด้วยตนเอง กับการเรียนที่มีผู้สอนในชั้นเรียน ทำให้วิธีการเรียนรู้ต่างกันบ้าง การใช้ซีดีเพื่อช่วยสอนก็เป็นการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ออกเสียงภาษาไทยได้ถูกต้อง แต่หากผู้เรียนอยู่ในบริบทของสังคมไทยอาจไม่ต้องใช้ซีดีในการเรียนการสอน วิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐาน มีความเหมือนและความแตกต่างกัน โดยพบว่าแบบเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในหลักการคัดเลือกและเรียบเรียงคำศัพท์ที่ง่ายก่อนไปคำศัพท์ที่ยาก ให้เรียนรู้ในเรื่องใกล้ตัวหรือรอบตัวก่อน และตามด้วยคำศัพท์ที่มีประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ ซึ่งมักเป็นกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน แบบเรียนทั้ง 3 เล่ม มีหมวดคำศัพท์ที่เหมือนกันจำนวน 10 หัวข้อ ได้แก่ การทักทายแนะนำตนเองหรือคนอื่นให้รู้จักกัน ครอบครัวและญาติพี่น้อง อาหารการกินและการสั่งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้/การซื้อของและต่อรองราคา ทิศทาง/สถานที่ และการถามทาง วัน เดือน ปี /สี และเวลา การเดินทาง และยานพาหนะ/การขนส่ง คำกริยา คำถาม และคำที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน ตัวเลข และพืช (ดอกไม้/ผลไม้) เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียนที่ต่างกัน จุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กัน และบริบทในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน จึงทำให้การคัดเลือกคำศัพท์ การจัดลำดับวิธีการเรียนรู้ในหมวดหมู่คำศัพท์แตกต่างกันบ้าง288 665