Browsing by Subject "ผ้า -- การย้อมสีและการกัดสี"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationผ้าหมักโคลน : จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่แบรนด์ระดับชาติและนานาชาติ : รายงานการวิจัยการศึกษาเรื่อง ผ้าหมักโคลน: จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่แบรนด์ระดับชาติและนานาชาติ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาในกระบวนการผลิตผ้าหมักโคลนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของชุมชนจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดระยอง และเพื่อศึกษาพัฒนาการกระบวนการผลิตผ้าหมักโคลนของแต่ละชุมชนที่ได้นำภูมิปัญญาไปพัฒนาต่อยอดจนนำไปสู่สินค้าระดับชาติและนานาชาติ การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาผ้าหมักโคลนที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ว่าด้วยเรื่องภูมิปัญญาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตผ้าหมักโคลน ที่มีการนำภูมิปัญญามาพัฒนาต่อยอดจนไปสู่การเป็นสินค้าระดับชาติและนานาชาติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผ้าหมักโคลนหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร 1.1. ด้านภูมิปัญญา ผ้าหมักโคลนหนองสูงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ด้านภูมิปัญญา 3 ด้าน คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ และภูมิปัญญาสร้างสรรค์ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับองค์ความรู้ใหม่ ทั้งนี้เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ผ้าหมักโคลนหนองสูงจึงมีอัตลักษณ์ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าโอทอป และเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของอำเภอหนองสูง ส่งผลให้ชุมชนมีอาชีพเสริมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ นับว่าเป็นการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน 1.2. ด้านพัฒนากระบวนการผลิต ผ้าหมักโคลนหนองสูงมีกระบวนการพัฒนาด้านการผลิต 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านผู้ผลิต และด้านการจำหน่าย ผู้ผลิตได้นำองค์ความรู้ใหม่มาพัฒนากระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ จึงทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น ส่งผลให้ชุมชนมีอาชีพเสริมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ นับว่าเป็นการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน 2. ผ้าหมักโคลนทะเล อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.1 ด้านภูมิปัญญา ผ้าหมักโคลนทะเลเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ด้านภูมิปัญญา 3 ด้าน คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ และภูมิปัญญาสร้างสรรค์ โดยนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีอยู่ดั้งเดิมมาดัดแปลง เพื่อนำมาใช้กับทรัพยากรในท้องถิ่นทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ส่งผลให้ผ้าหมักโคลนทะลมีความโดดเด่นด้านภูมิปัญญาสร้างสรรค์ที่นำทุนวัฒนธรรมมาพัฒนาต่อยอด ทำให้ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอป และเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ 4DNA อำเภอบ้านฉาง 2.2 ด้านพัฒนากระบวนการผลิต ผ้าหมักโคลนทะเลมีกระบวนการพัฒนาด้านการผลิต 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านผู้ผลิต และด้านการจำหน่าย ผ้าหมักโคลนทะเล แบรนด์ลีลาฝ้าย เป็นผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในภูมิภาคตะวันออก โดยนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนา ต่อยอดกระบวนการผลิตเพื่อให้ผ้าหมักโคลนทะเลมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างไปจากผ้าหมักโคลนในภูมิภาคอื่น จนมีโอกาสไปร่วมแสดงสินค้าหลายประเทศ และทำให้มียอดการสั่งซื้อต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการจ้างงานในชุมชน สร้างอาชีพ รายได้ และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก
281 589