Browsing by Subject "ธนาคารอาคารสงเคราะห์"
Now showing 1 - 8 of 8
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการศึกษาการแก้ไขการเกิดหนี้ค้างชําระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการแก้ไขการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ร่วมกับเชิงคุณภาพ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหา จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มลูกหนี้ที่เป็นกลุ่มสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประจำปี 2563 ที่จำนวน 372 ราย เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 บัญชี คิดเป็น 53.76% รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 15 ตัวอย่าง และทำการสัมภาษณ์ ลูกค้าเชิงลึกที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 ตัวอย่าง พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอก 2. ปัจจัยภายใน 3. ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งด้านปัจจัยภายนอกโดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในทั้งหมด 3 ปัจจัย โดยอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 ประกอบไปด้วย 1.ภาวะเศรษฐกิจซบเซา 2.รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ 3.ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ส่วนการสัมภาษณ์ลูกค้า และพนักงาน พบว่าปัจจุบันลูกค้าประสบปัญหาในการชำระค่างวดสินเชื่อ โดยมีสาเหตุจากการมีรายได้ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ, การแพร่ระบาดของโรค covid-19 เป็นต้น โดยต้องการเข้ามาตรการประนอมหนี้ หรือพักชำระหนี้กับธนาคาร ทั้งนี้ลูกค้ายังต้องการได้รับคำแนะนำ หรือแนวทางการช่วยเหลือที่ดีจากพนักงาน โดยแนวทางแก้ไขที่ผู้ศึกษาได้เลือก คือ การให้ลูกค้าที่มีปัญหาการเกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารอาคาร สงเคราะห์เข้าร่วมมาตรการประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์70 543 - Publicationการศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ โครงการบ้านล้านหลังที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงใหม่(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 2) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้การจัดการสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขและนำเสนอกลยุทธ์ทางเลือกการเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้จัดการสาขาทั้ง 5 สาขาในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามผ่านระบบ Online โดยใช้ Google From และแบบสัมภาษณ์ผู้จัดการสาขา ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 5 สาขา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง 400 ราย ส่วนมากเป็นเพศหญิงมีอายุ 31 – 40 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพรับจ้าง/ พนักงานเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าสาเหตุในการเกิดมี 3 สาเหตุหลัก และ 10 สาเหตุรอง ได้แก่ 1) ปัจจัยภายนอก สาเหตุรองคือ เศรษฐกิจ รัฐบาล และการแพร่ระบาดของโควิด-19 2) ปัจจัยภายใน สาเหตุรองคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ วงเงินกู้ จำนวนเงินที่ต้องชำระ และระยะเวลาผ่อนชำระ 3) ปัจจัยส่วนบุคคล สาเหตุรองคือ มีรายได้ลดลง ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ จากการประเมินทางเลือกทั้ง 3 แนวทางสำหรับการแก้ปัญหา นำไปสู่การสรุปทางเลือกที่มีความเหมาะสมในการนำไปใช้แก้ไขปัญหามากที่สุด ได้แก่ แนวทางที่ 1 ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่มุ่งเน้นหาลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดให้แต่ละสาขาเจาะกลุ่มลูกค้าตามแหล่งชุมชนในทำเลที่ตั้งใกล้เคียงกับสาขา และสร้างการรับรู้ผ่านสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนให้คำปรึกษา/แนะนำการเตรียมเอกสารยื่นกู้ และแนะนำทางเลือกอื่น ๆ แก่ลูกค้าที่ไม่เข้าเงื่อนไข52 327 - Publicationการศึกษาเพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์และจัดกลุ่มการเข้าสู่สภาวะความเสี่ยง(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; ; ; การศึกษาเพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และจัดกลุ่มการเข้าสู่สภาวะความเสี่ยง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดลูกค้า NPL เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีผลก่อให้เกิดแนวโน้มลูกค้า NPL และแนวทางในการลดความเสี่ยง โดยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง 3 แบบ (Decision Tree (J48), K-Nearest Neighbor และ Naïve Bayes) เพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL ผลการศึกษา คือ ประสิทธิภาพการพยากรณ์ของโมเดล Decision Tree (J48) ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำสูงสุดที่ 98.23% โมเดล K – Nearest Neighbor : KNN ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำ 93.80% โมเดล Naive Bayes ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำ 90.26% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจากการศึกษาจะพบว่าลูกค้าทุกกลุ่มอาชีพ และมีเงินเดือน 10,000 – 20,000 บาท จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในด้าน NPL มากที่สุด ถ้าพิจารณาเจาะจงที่อาชีพพนักงานประจำมั่นคง ซึ่งเป็นตัวอย่างข้อมูลที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด พบว่าลูกค้ากลุ่มพนักงานธุรกิจเอกชน จดทะเบียน (>2 ปี/พนง.>20 คน) เป็นฐานที่มีความเสี่ยงด้าน NPL สูง และเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาทำสินเชื่อ ในการศึกษาครั้งต่อไป ธนาคารควรจะนำข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อลดความเสี่ยงด้าน NPL ที่สูงได้ดีขึ้น ประสิทธิภาพการพยากรณ์แล้ว พบว่าโมเดล Decision Tree (J48) มีประสิทธิภาพการพยากรณ์ดีที่สุด ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำสูงที่สุด147 783 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เกิดจากปัญหาการชะลอการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประชากรในจังหวัดเชียงราย จึงมีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อหาแนวในการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2. ธนาคารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีมาตราส่วนประมาณค่า ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบว่า จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 21-40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือน 30,001-50,000 บาท โดยส่วนมากรู้จักสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีช่องทางการรับรู้ผ่านทางออนไลน์ อินเตอร์เน็ต Facebook เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก สนใจในสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการออม ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ คือ รางวัลพิเศษ งบประมาณการซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ต่อครั้งอยู่ที่จำนวน 5,001 – 10,000 บาท ส่วนสาเหตุของผู้ที่ไม่สนใจซื้อส่วนใหญ่ คือ ราคาของสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโดยส่วนมากจะออมเงินไว้กับบัญชีธนาคาร ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดเกี่ยวกับสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยในภาพรวมและรายด้านมีค่าอยู่ในระดับมาก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากให้ความสำคัญ โดยมีการจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปค่าเฉลี่ยน้อย ได้ดังนี้ อันดับที่ 1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อันดับที่ 2 ด้านกระบวนการให้บริการ อันดับที่ 3 ด้านบุคลากร อันดับที่ 4 ด้านราคา อันดับที่ 5 ด้านลักษณะทางกายภาพ อันดับที่ 6 ด้านผลิตภัณฑ์ อันดับที่ 7 ด้านการส่งเสริมการตลาด จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านราคา มีส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์มากที่สุด114 405 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษางานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ 2. ศึกษาแนวทางแก้ไขและ ควบคุมหนี้ค้างชำระเพื่อไม่ให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน พบว่า เนื้อหาจากการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระของธนาคารอาคารสงเคราะห์ งานบริหารหนี้เขตเชียงใหม่ มากที่สุดคือ ปัจจัยภายนอก (𝑥̅ =4.10 SD= 0.654) สาเหตุจากสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี และการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค covid-19 แนวทางแก้ไขและควบคุมหนี้ค้างชำระเพื่อไม่ให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) คือการเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือจากธนาคาร เพื่อให้ลูกหนี้สามารถกลับมาชำระให้เป็นปกติ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผู้ศึกษาได้เลือก คือ การเพิ่มมาตรการในการประนอมหนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้155 561 - Publicationสาเหตุและแนวทางแก้ไขปริมาณลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปริมาณลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย เกิดจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ลดลง โดยจากผลการดำเนินงานในปี 2563 มีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อทั้งหมดร้อยละ 3.60 ของสินเชื่อรวม ซึ่งธนาคารต้องดำเนินการตั้งสำรองเพื่อรองรับไว้มากกว่าร้อยละ 200 ของ NPLs ทั้งหมดของธนาคาร วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1. เพื่อศึกษาสาเหตุการเกิดหนี้ค้างชำระของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ทั้ง 3 สาขา 2. เพื่อนำข้อมูลมากำหนดแนวทางการปรับปรุง และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อลดปริมาณการเกิดลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์แบบ Mixed Method ได้แก่ 1. การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ที่มียอดค้างชำระเกิน 90 วัน จากรายการในระบบ Intranet ของธนาคาร จำนวน 156 บัญชี จากทั้งหมด 250 บัญชี 2. สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริหาร และพนักงานบริหารหนี้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้ลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้มาจาก 3 สาเหตุหลัก และ 9 สาเหตุรอง คือ 1) ปัจจัยภายนอก สาเหตุรอง คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี นโยบายการควบคุมโรคระบาดของรัฐบาล และนโยบายการช่วยเหลือของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย 2) ปัจจัยภายใน (ธนาคาร) สาเหตุรอง คือ อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป 3) ปัจจัยส่วนบุคคล สาเหตุรอง คือ ไม่มีรายได้พิเศษอื่นนอกจากงานประจำ ถูกลดค่าจ้าง/ลาออกจากงานประจำ และมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และผู้ศึกษาได้เลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการประชาสัมพันธ์รายละเอียดมาตรการประนอมหนี้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และเงินงวดที่ปรับลดลงเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเพื่อให้ลูกค้าสามารถผ่อนชำระได้77 466 - Publicationแนวทางการเพิ่มจํานวนลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุที่ทําให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีส่วนแบ่งการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL ในอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับจํานวนผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชันทางการเงินทั้งหมดในประเทศไทย และนําเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL ในจังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม ด้วยการเก็บแบบสอบถาม จํานวน 400 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึก จํานวน 8 ราย โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ผลการศึกษา พบสาเหตุของปัญหา คือ ด้านผลิตภัณฑ์โมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL มีรูปแบบการทําธุรกรรมที่ไม่หลากหลายและครอบคลุมเพียงพอ การใช้งานยังมีความซับซ้อน เมื่อเข้าสู่แอปพลิเคชันแล้วต้องใช้ความพยายามที่จะเข้าใจสัญลักษณ์ต่าง ๆ จึงจะใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว รูปแบบภายในของแอปพลิเคชัน GHB ALL ดูไม่ทันสมัย ประกอบกับคนเจนวายส่วนใหญ่มีความภักดีต่อตราสินค้าค่อนข้างสูง ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้แอปพลิเคชันของธนาคารอื่นได้ทันทีหากไม่มีเหตุจําเป็นให้ต้องเปลี่ยนแปลง เมื่อวิเคราะห์แล้วพบแนวทางในการแก้ไขป้ญหา คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์และพัฒนาแอปพลิเคชัน GHB ALL เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่ลูกค้า ธอส. คาดหวัง ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL สามารถขยายลูกค้าเป้าหมายไปยังกลุ่มอื่น ๆ ได้ นอกเหนือจากลูกค้าสินเชื่อบ้านของธนาคาร และตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ให้ธนาคารเติบโตได้อย่างมั่นคงในยุคดิจิทัล46 393 - Publicationแนวทางการแก้ปัญหาการซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อที่ลดลงของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการตัดสินใจซื้อหรือขายประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินกู้ (MRTA) ประสบการณ์ในการซื้อและขายประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ การศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการให้กู้เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อและเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มรายได้ค่านายหน้าของธนาคาร ตลอดจนค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาการซื้อประกันเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อที่ลดลงของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงราย ทำการสำรวจเฉพาะในจังหวัดเชียงราย ใช้แบบสอบถามจำนวน 100 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานสินเชื่อ จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า อายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับรายได้ และทัศนคติต่อการประกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อที่แตกต่างกัน รวมถึงช่องทางการขายและการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานและลูกค้าในเรื่องการประกันมีข้อจำกัด ส่วนสาเหตุที่ไม่ซื้อประกันแบบคุ้มครองวงเงินสินเชื่อคือทัศนคติของกลุ่มลูกค้าที่มีต่อการประกันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่อยากทำประกันแต่รายได้น้อยทำให้วงเงินกู้สำหรับชำระค่าเบี้ยประกันที่แยกสัญญาตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและมีการพิจารณาการกู้ตามเกณฑ์รายได้ทำให้ขาดโอกาสในการทำประกัน 2 กลุ่มที่ไม่อยากทำประกัน อาจมีอคติส่วนตัวกับการทำประกันชีวิตจะรีบปฏิเสธการทำประกันทันทีที่พนักงานให้คำแนะนำเนื่องจากเป็นประกันภาคสมัครใจ และส่วนใหญ่มีประกันชีวิตอยู่แล้วไม่อยากเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย 3. กลุ่มที่ลังเลใจมักไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจทำด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ไม่ต้องการมีภาระในการผ่อนค่าเบี้ยประกันเพิ่มจากสัญญาการกู้หลัก ผู้วิจัยเลือกกลยุทธ์การเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายประกัน เนื่องจากช่องทางการขายมีความสำคัญ การจำกัดช่องทางการขาย หรือการสื่อสารก็จะส่งผลให้การนำเสนอข้อมูล ไม่ครบถ้วน ช่องทางการสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกและน่าเชื่อถือ จึงเป็นการดีที่ทางธนาคารจะเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อช่วยให้พนักงานมีทางเลือกในการสื่อสารกับลูกค้าแม้จะอยู่ห่างไกล เช่น กรณีลูกค้ายื่นกู้ผ่านต่างสาขา35 324