Browsing by Subject "ตราสินค้า"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์ สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมธุรกิจและสภาพการสื่อสารการตลาดแบรนด์ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย 2. เพื่อศึกษาความแข็งแกร่งของแบรนด์ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และ 3. เพื่อพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มที่ศึกษา คือ แบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องของไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ 1) ผู้ส่งออกที่ได้รับรางวัลผู้ส่งออกและผู้เชี่ยวชาญธุรกิจส่งออก จำนวน 7 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม 2) ผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น จำนวน 632 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และ 3) นักวิชาการด้านการสื่อสารการตลาดและนักวิชาชีพด้านการสื่อสารการตลาด จำนวน 9 คน เพื่อให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาโมเดลการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ส่งออกไทยมีพันธิมิตรที่ดีกับผู้จำหน่ายในต่างประเทศและช่วยสื่อสารแบรนด์ ผู้บริโภคมั่นใจต่อแบรนด์จากสัญลักษณ์มาตรฐานการผลิตและข้อความ Made in Thailand ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้การสื่อสารแบรนด์ได้หลายช่องทางและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น 2) โดยภาพรวมและทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ ความภักดี การตระหนักรู้ การรับรู้คุณภาพ และสิ่งเชื่อมโยงกับแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของประเทศไทยมีความแข็งแกร่งอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าแบรนด์สินค้าจากประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 3) นวัตกรรมการสื่อสารการตลาดเพื่อความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าผัก ผลไม้กระป๋องของไทย ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบทตลาดต่างประเทศ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และเส้นทางการสื่อสารการตลาดมุ่งสู่ความภักดีต่อแบรนด์จากอิทธิพลร่วมกันระหว่างการตระหนักรู้ ความภักดี และสิ่งเชื่อมโยงกับแบรนด์ภายใต้การสร้างประสบการณ์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค134 878 - Publicationการสร้างตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” = Tourism route branding retracing the Naga beliefs “The Naga Routes”(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคและสภาพการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับพญานาค (2) เพื่อสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” (3) เพื่อสร้างตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาแบบพหุวิธี กล่าวคือ ผู้วิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า โดยรวบรวมข้อมูลจาก 3 แหล่ง ดังนี้ (1) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร กลุ่มตัวอย่างคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพญานาค รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 91 เอกสาร (2) การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับพญานาคในเส้นทางนาคาวิถี รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 23 คน (3) การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ แหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคในเส้นทางนาคาวิถีรวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 138 แห่ง ผลการศึกษาพบแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคและผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 99 แห่ง สามารถนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวโดยใช้วิธีการจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวได้ทั้งสิ้น 9 เส้นทาง (ฉาก) ได้แก่ ฉากที่ 1 “อาศิรกังวาน” ฉากที่ 2 “ศาสนคาร” ฉากที่ 3 “ธรณีสัณฐาน” ฉากที่ 4 “เกจิอาจารย์” ฉากที่ 5 “อุรังคนิทาน” ฉากที่ 6 “เทศกาล” ฉากที่ 7 “บุญญาภิสังขาร” ฉากที่ 8 “โบราณสถาน” และ ฉากที่ 9 “คูหาสถาน” ด้านตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 รูปลักษณ์ของจุดหมายปลายทาง ได้แก่ (1) ชื่อตราสินค้า “The Naga route” (เส้นทางนาคาวิถี) (2) ตราสัญลักษณ์เป็นภาพนัยยะเพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์จ ทั้ง 4 ด้าน คือ ธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมของพญานาค ธรรมชาติของพื้นที่ และธรรมชาติของสังคม (3) คำขวัญ “นาคาวิถี: ค้นหาตัวตน” องค์ประกอบที่ 2 คุณประโยชน์จากคุณสมบัติของจุดหมายปลายทาง “การได้เรียนรู้ธรรมชาติ” องค์ประกอบที่ 3 คุณประโยชน์ทางอารมณ์“การส่งมอบความวางใจ”องค์ประกอบที่ 4 คุณค่าของจุดหมายปลายทาง “นักท่องเที่ยวจะได้คำตอบของความหมายในการเป็นมนุษย์คนหนึ่งผ่านเรื่องราวของพญานาค” องค์ประกอบที่ 5 แก่นแท้ของจุดหมายปลายทาง“ความวางใจในธรรมชาติ”90 628