Browsing by Subject "ชื่อตราผลิตภัณฑ์"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
- Publication7 ทศวรรษ อัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ สู่ฉากทัศน์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564 – 2573) = 7 decades of television news brand identity to the scenario in the next decade (2021 – 2030)(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 โดยเป็นการวิจัยเชิงอนาคต (futures research) ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน ได้แก่ผู้บริหารองค์กรสื่อโทรทัศน์ จำนวน 10 คน ผู้บริหารองค์กรสื่อออนไลน์ จำนวน 3 คน ผู้บริหารองค์กรวิชาชีพสื่อ จำนวน 2 คน และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 มี 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านวิสัยทัศน์ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรมุ่งนำเสนอข่าวเพื่อตอบสนองกลุ่มคนรุ่นใหม่ และมีเนื้อหาพิเศษที่ผู้ชมต้องเสียค่าใช้จ่ายในการชม 2. ด้านวัฒนธรรม 2.1 องค์กรข่าว ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง กองบรรณาธิการทำงานอย่างคล่องตัว ต้องบูรณาการทุกสื่อรวมกัน โดยผลิตข่าวให้สอดคล้องกับช่องทางการนำเสนอในแต่ละช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้ความสำคัญกับศิลปะในการผลิตข่าวโทรทัศน์มีการสร้างแฟนคลับรายการข่าว 2.2 คนข่าว คนข่าวควรมีทักษะในการสืบค้นข้อมูล มีความสนใจเรื่องเทคโนโลยีมีทักษะการทำงานในหลายแพลตฟอร์ม มีทักษะในการเล่าเรื่องข้ามสื่อ นำเสนอข่าวด้วยทักษะความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล 3. ด้านตำแหน่งทางการตลาด มองกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเฉพาะ สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม 4. ด้านบุคลิกภาพ กำหนดบุคลิกภาพรายการที่สอดคล้องกับบุคลิกของผู้ชม เช่น บุคลิกภาพแบบไม่เป็นทางการ เป็นกันเอง เป็นคนรุ่นใหม่ มีสาระบันเทิง มีนวัตกรรม อธิบายให้เข้าใจง่าย เล่าสนุก เป็นต้น 5. ด้านความสัมพันธ์ ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรนำเสนอเนื้อหาเชื่อมกับทุกแพลตฟอร์ม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม สร้างการมีส่วนร่วมแบบทันทีทันใด สร้างรูปแบบให้ติดตามข่าวแบบเพลย์ลิสต์ นำข้อมูลของผู้บริโภคในโลกออนไลน์มาใช้ในการสร้างสรรค์รายการข่าว สร้างตราสินค้าคนข่าว สร้างช่องทางให้ประชาชนรายงานข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 6. ด้านวิธีการนำเสนอ กำหนดเนื้อหาตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย มีเนื้อหาที่เชื่อมประสบการณ์ผู้ชม มีแขกรับเชิญที่น่าสนใจ การนำเสนอ ใช้รูปแบบการเล่า ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่มีศิลปะ อธิบาย วิเคราะห์ให้เข้าใจง่าย คำนึงถึงรสนิยมคนดูและมีวิธีการนำเสนอที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการรายงาน49 311 - Publicationการพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ (2) เพื่อศึกษาการสื่อสารการดำเนินงานภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ และ (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 68 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถาบัน อาจารย์บุคลากร นิสิตนักศึกษา และกลุ่มผู้นำชุมชนและองค์กรภาคี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการอภิปรายกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษา คือ (1) การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่สอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันและแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์จนนำไปสู่การปฏิบัติ (2) การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ คือการบูรณาการภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมเป็นหลักด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อหวังให้เกิดผลกระทบที่ดีต่อสังคม การสื่อสารการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาด้วยมุมมองของผู้ส่งสาร (Sender’s Aspect) คือ สถาบันอุดมศึกษามุ่งสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความรู้เกี่ยวกับตราองค์กรด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ คือ การสื่อสารชุดความหมาย (Set of Meaning) ของการดำเนินงานภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด อันได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง และกลยุทธ์การสร้างสรรค์สารตามวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ คือ 1) การรับรู้ 2) การโน้มน้าว และ 3) การตระหนักรู้ รวมถึงการใช้กลยุทธ์สื่อออนไลน์และออฟไลน์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถาบันอุดมศึกษา
105 781 - Publicationการรับรู้การส่งเสริมการขายแบรนด์ธุรกิจค้าปลีกความรู้เกี่ยวกับแบรนด์และความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภค : กรณีศึกษาธุรกิจสถานีบริการน้ำมันแบรนด์พีทีการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจด้วยระเบียบวิธีการเชิงพรรณนาแบบวัดครั้งเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอิทธิพลของการรับรู้การส่งเสริมการขายของแบรนด์ธุรกิจค้าปลีกที่มีต่อความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ และผลที่ส่งถึงความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภค โดยเจาะจงศึกษาจากธุรกิจสถานีบริการน้ำมันพีที เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามสำรวจจากกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครที่เคยมีประสบการณ์ใช้บริการของสถานีบริการน้ำมันพีทีในช่วงเวลาไม่เกิน 6 เดือน รวมจำนวน 401 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบดังนี้ (1) ตัวแปรการรับรู้การส่งเสริมการขายร่วมกับตัวแปรควบคุม (อายุ และการศึกษา) สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ในระดับค่อนข้างน้อยคือ ร้อยละ 23 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 (R2 = .23, p <0.001) ทั้งนี้ พบว่า การรับรู้การส่งเสริมการขายมีอิทธิพลเชิงบวกในระดับปานกลางต่อความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (ß = 0.43, p = 0.001) และในทำนองเดียวกัน (2) ตัวแปรความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ร่วมกับตัวแปรควบคุม (อายุ) สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความภักดีต่อแบรนด์ในระดับค่อนข้างน้อยคือ ร้อยละ 22 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 (R2 = .22, p <0.001) ทั้งนี้ พบว่า ตัวแปรความรู้เกี่ยวกับแบรนด์มีอิทธิพลเชิงบวกในระดับปานกลาง ต่อความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .001 (ß = 0.45, p <0.001)
151 530 - Publicationการสร้างตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” = Tourism route branding retracing the Naga beliefs “The Naga Routes”(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคและสภาพการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับพญานาค (2) เพื่อสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” (3) เพื่อสร้างตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาแบบพหุวิธี กล่าวคือ ผู้วิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า โดยรวบรวมข้อมูลจาก 3 แหล่ง ดังนี้ (1) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร กลุ่มตัวอย่างคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพญานาค รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 91 เอกสาร (2) การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับพญานาคในเส้นทางนาคาวิถี รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 23 คน (3) การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ แหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคในเส้นทางนาคาวิถีรวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 138 แห่ง ผลการศึกษาพบแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับพญานาคและผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 99 แห่ง สามารถนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวโดยใช้วิธีการจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวได้ทั้งสิ้น 9 เส้นทาง (ฉาก) ได้แก่ ฉากที่ 1 “อาศิรกังวาน” ฉากที่ 2 “ศาสนคาร” ฉากที่ 3 “ธรณีสัณฐาน” ฉากที่ 4 “เกจิอาจารย์” ฉากที่ 5 “อุรังคนิทาน” ฉากที่ 6 “เทศกาล” ฉากที่ 7 “บุญญาภิสังขาร” ฉากที่ 8 “โบราณสถาน” และ ฉากที่ 9 “คูหาสถาน” ด้านตราสินค้าเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยความเชื่อเรื่องพญานาค “เส้นทางนาคาวิถี” ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 รูปลักษณ์ของจุดหมายปลายทาง ได้แก่ (1) ชื่อตราสินค้า “The Naga route” (เส้นทางนาคาวิถี) (2) ตราสัญลักษณ์เป็นภาพนัยยะเพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์จ ทั้ง 4 ด้าน คือ ธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมของพญานาค ธรรมชาติของพื้นที่ และธรรมชาติของสังคม (3) คำขวัญ “นาคาวิถี: ค้นหาตัวตน” องค์ประกอบที่ 2 คุณประโยชน์จากคุณสมบัติของจุดหมายปลายทาง “การได้เรียนรู้ธรรมชาติ” องค์ประกอบที่ 3 คุณประโยชน์ทางอารมณ์“การส่งมอบความวางใจ”องค์ประกอบที่ 4 คุณค่าของจุดหมายปลายทาง “นักท่องเที่ยวจะได้คำตอบของความหมายในการเป็นมนุษย์คนหนึ่งผ่านเรื่องราวของพญานาค” องค์ประกอบที่ 5 แก่นแท้ของจุดหมายปลายทาง“ความวางใจในธรรมชาติ”90 628