Browsing by Subject "การเล่าเรื่อง"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันมันคลัสเตอร์ (2) เพื่อนำเสนอแผนที่การท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีวิทยาแบบพหุวิธี (multiple method) กล่าวคือ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) โดยรวบรวมข้อมูลจาก 3 แหล่ง ดังนี้ (1) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (documentary) กลุ่มตัวอย่างคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 79 เอกสาร (2) การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 35 คน (3) การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) กลุ่มตัวอย่างคือ สถานที่อันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 117 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการเล่าเรื่อง “ด้านผู้เล่าเรื่อง” พบว่า ขาดผู้เล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันรุ่นใหม่ที่จะสานต่อและขับเคลื่อนการอนุรักษ์วัฒนธรรม “ด้านเนื้อเรื่อง” พบว่า ขาดการนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหาบ่งชี้ถึงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากัน “ด้านช่องทางการเล่าเรื่อง” พบว่า ช่องทางการเล่าเรื่องไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง “ด้านผู้รับเรื่อง” พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเพอรานากันอยู่ในวงจำกัด (2) ข้อมูลวัฒนธรรมเพอรานากัน สามารถจำแนกได้ 2 หมวดหมู่หลัก ได้แก่เรื่องราวประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์เพอรานากัน และเรื่องราววิถีชีวิตชาวเพอรานากัน นอกจากนี้ยังพบว่า เอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากันคือ “การผสมผสานทางวัฒนธรรม” ระหว่างวัฒนธรรมจีน มลายู ยุโรป และไทย โดยนำส่วนดีของแต่ละวัฒนธรรมมาผสมผสานกันอย่างลงตัว เอกลักษณ์เหล่านี้สามารถแสดงออกอย่างเด่นชัดผ่านอาหาร เครื่องแต่งกาย สถาปัตยกรรม ความเชื่อและประเพณีของชาวเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ (3) การนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากันที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตราฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมปรากฏผลทั้งสิ้น 83 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดระนอง จำนวน 8 แห่ง จังหวัดพังงา จำนวน 15 แห่ง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 34 แห่ง จังหวัดกระบี่ จำนวน 8 แห่ง จังหวัดตรัง จำนวน 14 แห่ง และจังหวัดสตูล จำนวน 4 แห่ง (3) การเสนอกลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์ ได้แก่ กลยุทธ์ “DIBUK ROUTE” “กลยุทธ์รู้ราก” (D: Defend your roots) ส่งเสริมให้มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมเพอรานากันในทุก ๆ แง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประวัติความเป็นมา สถาปัตยกรรม อาหาร เครื่องแต่งกาย ประเพณี ความเชื่อ ภาษา อาชีพ ศิลปะพื้นถิ่น รวมถึงประวัติความเป็นมาของสถานอันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากันให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดศูนย์กลาง/ สถาบันการเรียนรู้ในทุกพื้นที่ “กลยุทธ์รู้จักตน” (I: Identify your identities) ระบุอัตลักษณ์วัฒนธรรมเพอรานากัน เพื่อนำไปสู่การแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมถึงจุดเด่นของสถานที่อันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากันในแต่ละแห่ง “กลยุทธ์คนสร้างเรื่อง (B: Build Peranakan contents) ยกระดับการจัดทำเนื้อหาให้น่าสนใจติดตาม และสามารถกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมบางอย่าง “กลยุทธ์คนส่งเรื่อง” (U: utilize to key target) กำหนดช่องทางการเล่าเรื่องที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จัดทำขึ้น และเป็นช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัยสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (K: key target) เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้ “อ่าน” (R: read stories) “เปิดใจ” (O: open your heart) กลุ่มคนในวัฒนธรรม “รู้จักรากเหง้า” ของตนเอง (U: understand yourself) กลุ่มนักท่องเที่ยว “ให้ความสนใจ” วัฒนธรรมเพอรานากัน (T: think about Peranakan culture) “กระตือรือร้น” (E: Enthused) กลุ่มลูกหลานชาวเพอรานากันเกิดการตระหนักถึงคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมและหันกลับมาสืบทอดวัฒนธรรม ด้านกลุ่มนักท่องเที่ยวอยากมาท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากัน
349 627 - Publicationเรื่องเล่าในบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล = The Narratives in Sermons of Pra Paisal Wisalo(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; งานวิจัยเรื่อง “เรื่องเล่าในบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล” เกิดจากการผู้วิจัยได้รับฟังบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล ที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ต่างๆโดยเฉพาะช่องยูทูบ ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าพระไพศาล วิสาโล มักนำเรื่องราวต่างๆมาประกอบการเทศน์อยู่เสมอจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการเทศน์ของท่าน ผู้วิจัยจึงรวบรวมบทธรรมเทศนาเฉพาะตอนที่ปรากฏเรื่องเล่าทำให้พบว่ามีเรื่องเล่าหลายประเภทที่ประกฏในบทธรรมเทศนา อีกทั้งเรื่องเล่ายังปรากฏในส่วนต่างๆ ของบท ตลอดจนทำหน้าที่แตกต่างกัน จึงได้ศึกษาวิเคราะห์และปรากฏผลการศึกษาวิเคราะห์ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า บทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล มีจุดมุ่งหมายของการเทศน์แบ่งออกเป็น 4 จุดมุ่งหมาย ได้แก่ 1 เรื่องที่มุ่งให้ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติตน 2 เรื่องที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างสภาวะสมดุลทางใจ 3 เรื่องที่มุ่งเน้นในการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น 4 เรื่องประเภทสุดท้ายคือเรื่องเกี่ยวกับวัฏสงสาร นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างบทธรรมเทศนาของพระไพศาล วิสาโล ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วน คือ ส่วนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดเนื้อหาแตกต่างกัน เนื้อหาในส่วนต้นมี 3 แบบ ได้แก่ ก) ส่วนต้นที่เล่าเรื่องต่างๆเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหา ข) ส่วนต้นที่ใช้หลักธรรมในการนำเข้าสู่เนื้อหา และ ค) ส่วนต้นที่ใช้การพรรณนาความสำคัญเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาในส่วนเนื้อหา พบว่ามี 2 แบบ ได้แก่ ก) ส่วนเนื้อหาที่สาธยายหลักธรรม ข) ส่วนเนื้อหาที่เล่าเรื่องราว ส่วนท้ายขแบ่งออกเป็น ก) เนื้อหาสรุปความคิด ข) บทสรุปแบบเรื่องเล่า และ ค) ส่วนท้ายแบบแนะนำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องเล่าปรากฏอยู่ในทุกส่วนของบทธรรมเทศนา โดยเรื่องเล่าแต่ละเรื่องที่ปรากฏในส่วนต่างๆทำหน้าที่ 2 ประการ คือ 1 เรื่องเล่าทำหน้าที่นำเข้าสู่หัวข้อธรรมะ และ 2 เรื่องเล่าเป็นตัวอย่างประกอบหลักธรรม อย่างไรก็ตาม การคัดสรรเรื่องเล่ามาประกอบการเทศน์นั้นเป็นเรื่องเล่าที่แตกต่างกัน 6 ประเภท ได้แก่ ก) เรื่องเล่าของบุคคลทั่วไปที่ไม่ระบุตัวตนได้ข) พุทธประวัติ พุทธสาวก และ ประวัติพระภิกษุในปัจจุบัน ค) เรื่องของลูกศิษย์ หรือบุคคลที่เป็นที่รู้จักในสังคม ง) เรื่องสมมติ เช่น นิทาน เรื่องเล่าจากลิทธิเซน จ) เรื่องในประวัติศาสตร์ ฉ) เรื่องของคนที่พระไพศาล วิสาโล รู้จักหรือญาติโยมที่ท่านคุ้นเคย ทั้งนี้เรื่องที่มาเล่าประกอบด้วยความขัดแย้งที่ตัวละครต้องประสบ 3 แบบ คือ 1 ความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ 1) ตัวละครประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ไม่พบความสุขที่แท้จริง 2) ตัวละครต้องพบความทุกข์ทางใจที่หาทางออกไม่ได้ 2 ความขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ในสังคม และ 3 ตัวละครขัดแย้งกับธรรมชาติ เช่น ความทุพลภาพ ความชรา เป็นต้น ซึ่งพระไพศาล วิสาโล ได้ชี้ให้เห็นว่าธรรมะคือทางของของความขัดแย้งต่างๆเหล่านี้81 589