Browsing by Subject "การออมกับการลงทุน"
Now showing 1 - 8 of 8
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ กลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 25 -50 ปี ในพื้นที่อําเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณให้ใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไม่ลำบากหรือเตรียมความพร้อมเมื่อมีเหตุที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น และเพื่อศึกษาการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ ของกลุ่มประชากรที่มีอายุ 25 – 50 ปี ในพื้นที่อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ช่วงวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 25 – 50 ปี เป็นแรงงานคืนถิ่นจำนวนมาก เพื่อมาทำการเกษตรมากขึ้น อัตราการว่างงานในจังหวัดขอนแก่น ในปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 1.19 ซึ่งเพิ่มจากปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 0.52 และอัตราการจ้างงานในภาคเกษตร จังหวัดขอนแก่น ในปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 56.58 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 0.91 (สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น 2562) ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ สร้างแหล่งรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุ หรือเตรียมความพร้อมเมื่อมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น นอกจากการออมเงินในรูปแบบของเงินฝากธนาคารแล้ว ยังมีการลงทุนทางการเงินให้เลือกอีกมากมาย เช่น การลงทุนในกองทุนรวม กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินออมแห่งชาติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นสามัญ ประกันชีวิต เป็นต้น ที่ตรงกับความต้องการและจำนวนเงินที่สามารถออมได้ จากศึกษาใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบไควสแควร์ พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36 – 40 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 15,001 – 30,000 บาท สามารถออมหรือลงทุนได้ 3,001 – 5,000 บาท ทุกเดือน ในระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ต้องการผลตอบแทนต่ำกว่า 5% ศึกษาข้อมูลการวางแผนทางการเงินด้วยตนเอง โดยมีข้อจำกัด คือ ไม่มีความสนใจ ส่วนใหญ่เลือกการวางแผนทางการเงินที่คุ้มครองเงินต้น เช่น เงินฝากธนาคาร สลากออมทรัพย์ เพื่อทำธุรกิจส่วนตัว เพื่อใช้ยามฉุกเฉิน/ค่ารักษาพยาบาล โดยข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ เพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ และส่งผลต่อการให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลแตกต่างกัน โดยให้ความสำคัญต่อโปรโมชั่น คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ การนำเสนอและความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ ในระดับมีอิทธิพลน้อย100 811 - Publicationการศึกษาแนวทางการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล กรณีศึกษา : ข้าราชการของศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการ ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (2) เพื่อศึกษาสาเหตุด้านการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการ ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร จำนวน 320 คน โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30 ปีหรือน้อยกว่า สถานภาพ สมรส ชั้นยศ (ส.ต. – ส.อ.) ซึ่งมีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีจำนวนคนที่อยู่ในความดูแล 1 – 2 คน รายได้รวมต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท และมีหนี้สิน มีพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลในด้านการบริหารรายได้ โดยส่วนใหญ่ไม่มี การหารายได้เสริม มีพฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ในรูปแบบการออม (นิยมออมเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ กองทุนรวม และพันธบัตรรัฐบาลได้รับความนิยมน้อย) ในแต่ละเดือนมีการกำหนดการออมไม่แน่นอน เป็นไปตามจำนวนเงินที่เหลือ มีพฤติกรรมด้านการลงทุน นิยมการฝากเงินออมทรัพย์ ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้น และ กองทุนรวม ได้รับความนิยมน้อย และมีพฤติกรรมด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณอายุ โดยนิยมในรูปแบบหุ้นสหกรณ์ พบว่าพฤติกรรมการวางแผนการเงินของบุคคลที่ไม่มีการวางแผน คือ ด้านรายได้ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านการออมและการลงทุน มีผลต่อสาเหตุของปัญหาด้านการจัดการทางเงินส่วนบุคคล ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการจัดการทางการเงิน ด้านการบริหารรายได้ ด้านการบริหารรายจ่ายด้านการออม ด้านการลงทุน และด้านการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ สาเหตุสำคัญในการตัดสินใจออมเงิน การบริหารรายได้ การจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย และวางแผนการใช้จ่าย การควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลักษณะการออมหรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านความรู้และความเข้าใจ วัตถุประสงค์ รูปแบบของการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล ด้านการ บริหารรายได้ ด้านการออม ด้านการลงทุน ด้านการวางแผนเพื่อเกษียณอายุ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.0588 484 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางการเพิ่มยอดการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืน และแนวทางในการเพิ่มการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มลูกค้าที่เคยฝากสลากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร จำนวน 380 คน สัมภาษณ์ลูกค้าที่ไม่เคยฝากสลาก จำนวน 20 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานสาขาวัฒนานคร จำนวน 8 คน โดยใช้ทฤษฎีและเครื่องมือได้แก่ แรงจูงใจ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ผังก้างปลา และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ มาใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้า แรงจูงใจของจำนวนรางวัลไม่ดึงดูดใจ การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง พนักงานขาดทักษะนำเสนอ ขั้นตอนการรับฝากมีความซับซ้อน และลูกค้าไม่สะดวกทำธุรกรรมฝากต่อเนื่องทุกเดือน แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์ SWOT และผังก้างปลา นำมากำหนดกลยุทธ์โดยใช้เครื่องมือ TOWS Matrix ได้จำนวน 4 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาคือ การจัดทำการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อสร้างการรับรู้ที่มีต่อผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการออมผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และนำเสนอผลการศึกษาต่อธนาคารเพื่อปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีจำนวนรางวัลมากขึ้น เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการฝากเงินและออมอย่างต่อเนื่องต่อไป41 379 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เกิดจากปัญหาการชะลอการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประชากรในจังหวัดเชียงราย จึงมีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อหาแนวในการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2. ธนาคารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีมาตราส่วนประมาณค่า ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบว่า จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 21-40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือน 30,001-50,000 บาท โดยส่วนมากรู้จักสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีช่องทางการรับรู้ผ่านทางออนไลน์ อินเตอร์เน็ต Facebook เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก สนใจในสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการออม ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ คือ รางวัลพิเศษ งบประมาณการซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ต่อครั้งอยู่ที่จำนวน 5,001 – 10,000 บาท ส่วนสาเหตุของผู้ที่ไม่สนใจซื้อส่วนใหญ่ คือ ราคาของสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโดยส่วนมากจะออมเงินไว้กับบัญชีธนาคาร ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดเกี่ยวกับสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยในภาพรวมและรายด้านมีค่าอยู่ในระดับมาก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากให้ความสำคัญ โดยมีการจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปค่าเฉลี่ยน้อย ได้ดังนี้ อันดับที่ 1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อันดับที่ 2 ด้านกระบวนการให้บริการ อันดับที่ 3 ด้านบุคลากร อันดับที่ 4 ด้านราคา อันดับที่ 5 ด้านลักษณะทางกายภาพ อันดับที่ 6 ด้านผลิตภัณฑ์ อันดับที่ 7 ด้านการส่งเสริมการตลาด จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านราคา มีส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์มากที่สุด114 405 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกหรือปรับเปลี่ยนอัตราการออมเพิ่มและแผนทางเลือกการลงทุน ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กรณีศึกษา สมาชิก กบข. สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกหรือปรับเปลี่ยนอัตราการออมเพิ่มและแผนทางเลือกการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ของสมาชิก กบข. สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้วิจัยใช่ข้อมูลประเภทปฐมภูมิ (Primary Data) โดยการเก็บแบบสอบถามจากสมาชิก กบข. สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และทดสอบทางสถิติที่โดยใช้ ค่าสถิติร้อยละ t-Test, One-Way Anova และ Chi-Squareงานวิจัยพบว่า การเลือกอัตราการออมเพิ่มขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ อายุราชการ และรายได้รวมต่อเดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านพฤติกรรมการออม การลงทุนลความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ได้แก้ รูปแบบการออม อื่นๆ ที่นอกเหนือจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย การออมในเงินฝากสหกรณ์ และการออมในสลากออมสิน/สลากธกส. รูปแบบการลงทุน ประกอบด้วย การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ สำหรับการปรับเปลี่ยนอัตราการออมเพิ่มใน กบข. ปัจจัยด้านเพศมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังใน กบข. เปรียบเทียบกับการนำเงินไปออมหรือไปลงทุนรูปแบบอื่นปัจจัยด้านอายุมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังใน กบข. เปรียบเทียบกับการนำเงินไปออมหรือไปลงทุนรูปแบบอื่น อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยด้านอายุราชการ มีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังใน กบข. เปรียบเทียบกับการนำเงินไปออมหรือไปลงทุนรูปแบบอื่น และสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีที่ได้รับ ปัจจัยด้านรายได้รวมต่อเดือนีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การเลือกแผนทางเลือกการลงทุนขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ และค่าใช้จ่ายต่อเดือน สำหรับการปรับเปลี่ยนแผนทางเลือกการลงทุนใน กบข. ปัจจัยด้านเพศมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านผลการประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำจาก กบข. ปัจจัยด่านอายุมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด่านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละแผนการลงทุน ปัจจัยด้านอายุราชการมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละแผนการลงทุน และผลการประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำจาก กบข. ปัจจัยด้านรายได้รวมต่อเดือนมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละแผนการลงทุน และผลการประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำจาก กบข37 443 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 350 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยสถิติเชิงพรรณาใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ค่า t-test และค่า F-test (One-Way ANOVA) และสถิติสัมพันธ์ไคลสแควร์ (Chi-Square) ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 27 - 37 ปี สถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นข้าราชการ อายุงาน 1 - 5 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 25,000 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน (ไม่รวมภาระหนี้สิน) 10,000 – 20,000 บาท และมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท มีเงินออม 1,000 – 2,000 บาทต่อเดือน มีการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงาน มีการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อเดือนเมื่อเกษียณ 15,001 - 20,000 บาท มีรูปแบบการออมในบัญชีเงินฝากธนาคาร และมีวัตถุประสงค์ในการออมเพื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประเภทบุคลากร และด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน จะส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่แตกต่างกัน และค่าใช้จ่ายต่อเดือนเมื่อเกษียณมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
135 1097 - Publicationแนวทางการส่งเสริมการออมและการลงทุนของข้าราชการ สำนักงาน ปป.ช. ในพื้นที่ภาค 4(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการออมและการลงทุนของข้าราชการ สำนักงานป.ป.ช. ในพื้นที่ภาค 4 และ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออมและการลงทุนของข้าราชการ สำนักงานป.ป.ช. ในพื้นที่ภาค 4 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการ สำนักงานป.ป.ช. ในพื้นที่ภาค 4 โดยการใช้แบบสอบถาม จำนวน 130 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ในพื้นที่ภาค 4 มีอายุน้อย มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สิน และมีอัตราการออมต่อเดือนเฉลี่ยถึง 18.53 % ของรายได้ต่อเดือน อัตราการลงทุนต่อเดือนเฉลี่ยถึง 11.31 % ของรายได้ต่อเดือน โดยรูปแบบการออม ส่วนใหญ่คือ เงินฝากธนาคาร และรูปแบบการลงทุนส่วนใหญ่ คือ ทุนเรือนหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์สำนักงานป.ป.ช. อีกทั้งการทดสอบสมมติฐาน ปรากฏรายได้รวมต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของการออมในรูปตัวเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าข้าราชการส่วนใหญ่เน้นการออมและการลงทุนแบบเงินต้นปลอดภัย กลัวความเสี่ยง และคุ้นชินกับการออมและการลงทุนที่มีอยู่ ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากการออมและการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ไม่มีความรู้ความเข้าใจการออมและการลงทุน อีกทั้งการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง และหาแนวทางแก้ไขออกมาเป็น 4 ทางเลือก คือ 1.การจัดกลุ่มสัมมนาออนไลน์ให้ผู้มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการลงทุนมาบรรยายถึงผลประโยชน์จากการออมและการลงทุน และจัดกิจกรรม workshop ให้ข้าราชการ 2. มีที่ปรึกษาทางการเงินส่วนตัวให้กับข้าราชการ 3. อบรมผ่านคอรส์ออนไลน์ ให้แก่ข้าราชการที่บรรจุใหม่ 4. การสร้างระบบเสนอข้อมูลการลงทุน อัพเดตข้อมูลข่าวสารให้ข้าราชการทุกวัน โดยตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ แนวทางเลือกที่ 4 การสร้างระบบเสนอข้อมูลการลงทุน อัพเดตข้อมูลข่าวสารให้ข้าราชการทุกวัน โดยมีการ Live Facebook นำบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญการลงทุนเข้ามาเล่าประสบการณ์ มาแนะนำการลงทุนกับข้าราชการในทุกเช้า และ สร้าง Group Line เพื่อส่งข้อความ ข่าวสาร ข้อมูล หลักทรัพย์ที่น่าสนใจในการออมและการลงทุน ควบคู่กับการมี Admin ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ให้กับข้าราชการที่ขัดข้อง มีปัญหาต้องการคำแนะนำในการออมและการลงทุน58 447 - Publicationแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการออมเงินของประชากรวัยทํางาน Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางเพื่อส่งเสริมการออมของประชากรวัยทำงาน Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาจากลุ่มตัวอย่าง 291 ตัวอย่าง โดยศึกษาจากการตอบแบบสอบถามและนำเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ สถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยและ และ Chi-Square มาใช้ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 59.45 สถานะภาพโสด จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 59 มีบุคคลในความดูแล ต่ำกว่า 3 คน จำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 71 ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 66 ทำงานอยู่ในกลุ่มธุรกิจค่าธนาคาร/บริษัทหลักทรัพย์/บริษัทจัดการกองทุน จำนวน 52 คน คิดป็นร้อยละ 17.90 มีรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 26.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของทั้งครอบครัวอยู่ในช่วง 50,001 – 100,000 บาท จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 25.77 มีรายจ่ายต่อเดือนของทั้งครอบครัวอยู่ในช่วง 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.96 มีหนี้สินสะสมจำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ 76 หนี้สินประเภทเงินกู้ซื้อบ้าน จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 28.36 ไม่เคยทำทั้งบัญชีรับ - จ่ายรายเดือน และบัญชีสินทรัพย์ และหนี้สิน จำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 53 แนวทางการส่งเสริมการออมโดยการส่งเสริมให้ความรู้ถึงวิธีการ และข้อดีในการจัดทำชีรายรับ – รายจ่าย รวมไปถึง บัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้ทราบถึงสถานะการเงินในปัจจุบัน ทั้งนี้ยังช่วยให้สามารถวางแผนเงินออมได้มากขึ้น และยังทำให้สามารถบริหารจัดการและแก้ปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืนในด้านการลงทุน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เลือกออมเงินภาคสมัครใจผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รองลงมาคือ กรมธรรม์ประกันชีวิต และสหกรณ์ออมทรัพย์ ประเภทเงินฝาก คิดเป็นร้อยละ 15.10 ร้อยละ 12.36 และ ร้อยละ 8.21 ตามลำดับ เน้นการออมที่มีความเสี่ยงต่ำ มากกว่าการลงทุนในตลาดเงิน ตลาดทุน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามเพียงร้อยละ 35.40 ที่มีพอร์ตการลงทุน อันเนื่องมาจากการขาดความรู้เกี่ยวกับการออมและการลงทุน และไม่อยากเสี่ยง เนื่องจากกลัวที่จะขาดทุนจึงควรส่งเสริมให้ความรู้ในด้านการลงทุน เพื่อเพิ่มช่องทางการออมที่มากกว่าการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ และประชาสัมพันธ์ช่องทางการหาความรู้ด้านการลงทุน ให้แก่ประชาชนในหลายกลุ่มมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการใช้จ่าย e-money ผ่าน e-wallet เพื่อเป็นการบันทึกรายรับ - จ่าย และเป็นเครื่องมือในการวางแผนการเงินและกำหนดเป้าหมายในการออม ได้อย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคล216 584