Browsing by Subject "การส่งเสริมการขาย"
Now showing 1 - 7 of 7
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการรับรู้การส่งเสริมการขายแบรนด์ธุรกิจค้าปลีกความรู้เกี่ยวกับแบรนด์และความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภค : กรณีศึกษาธุรกิจสถานีบริการน้ำมันแบรนด์พีทีการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจด้วยระเบียบวิธีการเชิงพรรณนาแบบวัดครั้งเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอิทธิพลของการรับรู้การส่งเสริมการขายของแบรนด์ธุรกิจค้าปลีกที่มีต่อความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ และผลที่ส่งถึงความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภค โดยเจาะจงศึกษาจากธุรกิจสถานีบริการน้ำมันพีที เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามสำรวจจากกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครที่เคยมีประสบการณ์ใช้บริการของสถานีบริการน้ำมันพีทีในช่วงเวลาไม่เกิน 6 เดือน รวมจำนวน 401 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบดังนี้ (1) ตัวแปรการรับรู้การส่งเสริมการขายร่วมกับตัวแปรควบคุม (อายุ และการศึกษา) สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ในระดับค่อนข้างน้อยคือ ร้อยละ 23 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 (R2 = .23, p <0.001) ทั้งนี้ พบว่า การรับรู้การส่งเสริมการขายมีอิทธิพลเชิงบวกในระดับปานกลางต่อความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (ß = 0.43, p = 0.001) และในทำนองเดียวกัน (2) ตัวแปรความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ร่วมกับตัวแปรควบคุม (อายุ) สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความภักดีต่อแบรนด์ในระดับค่อนข้างน้อยคือ ร้อยละ 22 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 (R2 = .22, p <0.001) ทั้งนี้ พบว่า ตัวแปรความรู้เกี่ยวกับแบรนด์มีอิทธิพลเชิงบวกในระดับปานกลาง ต่อความภักดีต่อแบรนด์ของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .001 (ß = 0.45, p <0.001)
151 530 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางการเพิ่มยอดการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืน และแนวทางในการเพิ่มการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มลูกค้าที่เคยฝากสลากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร จำนวน 380 คน สัมภาษณ์ลูกค้าที่ไม่เคยฝากสลาก จำนวน 20 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานสาขาวัฒนานคร จำนวน 8 คน โดยใช้ทฤษฎีและเครื่องมือได้แก่ แรงจูงใจ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ผังก้างปลา และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ มาใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับฝากสลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้า แรงจูงใจของจำนวนรางวัลไม่ดึงดูดใจ การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง พนักงานขาดทักษะนำเสนอ ขั้นตอนการรับฝากมีความซับซ้อน และลูกค้าไม่สะดวกทำธุรกรรมฝากต่อเนื่องทุกเดือน แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์ SWOT และผังก้างปลา นำมากำหนดกลยุทธ์โดยใช้เครื่องมือ TOWS Matrix ได้จำนวน 4 กลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาคือ การจัดทำการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อสร้างการรับรู้ที่มีต่อผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการออมผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และนำเสนอผลการศึกษาต่อธนาคารเพื่อปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีจำนวนรางวัลมากขึ้น เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการฝากเงินและออมอย่างต่อเนื่องต่อไป41 379 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เกิดจากปัญหาการชะลอการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประชากรในจังหวัดเชียงราย จึงมีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อหาแนวในการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2. ธนาคารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีมาตราส่วนประมาณค่า ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบว่า จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 21-40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือน 30,001-50,000 บาท โดยส่วนมากรู้จักสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีช่องทางการรับรู้ผ่านทางออนไลน์ อินเตอร์เน็ต Facebook เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก สนใจในสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการออม ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ คือ รางวัลพิเศษ งบประมาณการซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ต่อครั้งอยู่ที่จำนวน 5,001 – 10,000 บาท ส่วนสาเหตุของผู้ที่ไม่สนใจซื้อส่วนใหญ่ คือ ราคาของสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโดยส่วนมากจะออมเงินไว้กับบัญชีธนาคาร ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดเกี่ยวกับสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยในภาพรวมและรายด้านมีค่าอยู่ในระดับมาก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากให้ความสำคัญ โดยมีการจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปค่าเฉลี่ยน้อย ได้ดังนี้ อันดับที่ 1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อันดับที่ 2 ด้านกระบวนการให้บริการ อันดับที่ 3 ด้านบุคลากร อันดับที่ 4 ด้านราคา อันดับที่ 5 ด้านลักษณะทางกายภาพ อันดับที่ 6 ด้านผลิตภัณฑ์ อันดับที่ 7 ด้านการส่งเสริมการตลาด จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านราคา มีส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์มากที่สุด114 405 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา สาเหตุของปัญหาของยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสินที่ลดลง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ใช้บริการสินเชื่อไทรทอง จํานวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้แผนผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหา และนํามาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการตีความเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองเพื่อการอุปโภคบริโภค จากการแนะนําจากพนักงานธนาคาร โดยมีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสินเชื่อไทรทองกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทอื่น ๆ ก่อนการตัดสินใจ ซึ่งส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองด้วยตนเอง และจะแนะนําบุคคลอื่นให้มาใช้บริการสินเชื่อไทรทองเช่นกัน สําหรับส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยในทุกด้าน ด้านที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อไทรทองอันดับแรกคือ ด้านพนักงานธนาคาร รองลงมาคือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ และ ด้านผลิตภัณฑ์ ตามลําดับ แนวทางในการเพิ่มยอดสินเช่ือไทรทองของธนาคารออมสิน จํานวน 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสินเชื่อไทรทอง โดยเพิ่มช่องทางการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อไทรทองให้แก่พนักงานธนาคารออมสิน และแนวทางที่ 2 การเพิ่มช่องทางการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการจ้างบริษัทมาพัฒนาระบบช่องทางการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์100 435 - Publicationแนวทางการเพิ่มยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสําหรับข้าราชการบํานาญและลูกจ้างประจํา กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาสาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอด เป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ ที่มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2) หาแนวทาง แก้ไขปัญหาที่ยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการและลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 185 ราย และทำการสัมภาษณ์ เชิงลึกแบบเจาะจงกลุ่มผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา พนักงานและลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสินเชื่อ และกลุ่มข้าราชการและลูกจ้างประจำโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าที่เกษียณอายุราชการในปี 2564 รวมจำนวน 20 ราย หาสาเหตุจากทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P's พฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจขอสินเชื่อของผู้ใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาแนวทางแก้ไขด้วย SWOT Analysis เขียน แผนผังก้างปลา และหาแนวทางเลือกด้วยตาราง TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญ และลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มาจากปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 7P's ได้แก่ ด้านช่องทางการบริการ มีสาเหตุรองคือ สถานที่จอดรถของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีไม่เพียงพอ และไม่มีช่องทางหรือป้ายให้คำแนะนำโปรโมชั่นสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อภายในสาขาให้ลูกค้าที่มาใช้บริการทราบ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีสาเหตุรองคือ สาขาชัยสมรภูมิ ไม่ออกบูธให้บริการสินเชื่อนอกสถานที่ และการประชาสัมพันธ์ตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีข้อตกลงหน่วยงาน (MOU) ด้านราคา มีสาเหตุรองคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญสูงกว่าธนาคารอื่น และการกำหนดวงเงินกู้ขั้นต่ำที่จะขอกู้เพิ่มเติมได้จากวงเงินกู้ครั้งแรกหลังผ่อนชำระมาแล้วสาขากำหนดไว้สูง และด้านบุคลากร มีสาเหตุรองคือ จำนวนพนักงาน ให้บริการสินเชื่อมีไม่เพียงพอ และความรู้ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์สินเชื่อของพนักงาน 2) ได้แนวทางเลือกเพื่อแก้ไขสาเหตุของปัญหามี 4 แนวทาง คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด แนวทางด้านบุคลากร แนวทางด้านช่องทางการบริการ และแนวทางด้านราคา ผู้ศึกษานำผลที่ได้ ข้อดีและข้อเสียของแต่ละแนวทาง รวมถึงงบประมาณและระยะเวลาที่ต้องใช้ดำเนินการ จัดทำเป็นหนังสือเสนอผู้อำนวยการเขต ผู้จัดการสาขา และคณะกรรมการสินเชื่อสาขา เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุด ผลที่ได้ คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด ด้วย เหตุผลที่ใช้ระยะเวลาสั้น งบประมาณน้อย สามารถดำเนินการได้ทันที ด้วยแผนการออกบูธให้บริการ สินเชื่อกับหน่วยงานราชการที่มีบันทึกข้อตกลงสินเชื่อ MOU กับสาขาชัยสมรภูมิ และเน้นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสินเชื่อและสิทธิพิเศษให้ลูกค้าทราบผ่านเทคโนโลยีรูปแบบดิจิทัล ด้วยการสมัคร ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง แอปพลิเคชัน MYMO ของธนาคารออมสินและช่องทางออนไลน์อื่นๆ111 531 - Publicationแนวทางแก้ปัญหายอดจําหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปผ่านช่องทาง Branch Outlet ที่ต่ำกว่าเป้าหมายของ ธก.ส. สาขาเดอะฟิล สุขุมวิท 54(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ เป็นการศึกษาแนวทางแก้ปัญหายอดจําหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปผ่านช่องทาง Branch Outlet ที่ต่ำกว่าเป้าหมายของธ.ก.ส. สาขาเดอะฟิล สุขุมวิท 54 โดยศึกษาความต้องการสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปของลูกค้าธ.ก.ส.สาขาเดอะฟิล สุขุมวิท 54 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ทราบสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปที่ลูกค้าของสาขาต้องการ 2) เพื่อสามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปได้มากขึ้นเป็นไปตามเป้าหมาย 3) เพื่อหาข้อมูลยืนยันสาเหตุของปัญหา 4) เพื่อพัฒนาศักยภาพของสาขาในการแก้ไขปัญหา โดยสุ่มลูกค้าธ.ก.ส.สาขาเดอะฟิล สุขุมวิท 54 จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ผลการศึกษาพบว่าลูกค้ามีร้านที่ซื้อเป็นประจำ มักซื้อสินค้าเดิมเป็นประจำ ซื้อเฉพาะยี่ห้อสินค้าที่ชื่นชอบ ไม่ทราบว่าที่สาขามีสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปใดบ้างจำหน่าย ไม่ชื่นชอบสินค้าที่เคยซื้อเนื่องจากราคาสินค้าแพง คุณภาพไม่ดี ไม่มีสินค้าที่ต้องการและการจัดโปรโมชั่นที่สาขามีน้อย เลือกแนวทางแก้ปัญหา คือ ลองนำสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปอื่นมาวางจำหน่าย ลดสินค้าเกษตรและสินค้าทั่วไปที่ลูกค้าไม่สนใจและลดสินค้าที่ลูกค้าให้ความเห็นว่ามีราคาสินค้าแพง คุณภาพไม่ดีลง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ พูดแนะนำ เชิญชวนให้ลูกค้าเกิดการรับรู้และซื้อสินค้าไปทดลอง อีกทั้งสาขาควรวางจำหน่ายข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาต่อไป55 308