Browsing by Subject "การสื่อสารการตลาด"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และความเชื่อมั่นที่ส่งผลต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ของผู้เข้าร่วมในเขตกรุงเทพมหานครการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลกับความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ของผู้เข้าร่วมงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของผู้เข้าร่วมงานที่มีผลกับความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสม (Mix Method) คือการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 3 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก พบว่า 1) รูปแบบการจัดงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ส่วนใหญ่ยังเป็นทั้งในรูปแบบ ออฟไลน์ (Offline) และออนไลน์ (Online) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงส่งผลให้รูปแบบการจัดอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) เป็นที่นิยมมากเพิ่มขึ้น 2) เครื่องมือการสื่อสารการตลาดบูรณาการ โดยทำการประชาสัมพันธ์ผ่านในลักษณะของวิดีโอไวรัล (Viral Video) และการถ่ายทอดสดในระบบออนไลน์ (Live Stream) เน้นการสร้างภาพเคลื่อนไหว เสียง ภาพนิ่ง เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านเฟซบุ๊กก่อนในช่วงแรก และสื่อสารผ่านช่องทางอื่น ๆ อาทิ โฆษณาทีวี และการเช่าป้ายโฆษณา เพื่อเน้นสร้างการจดจำ และความสนใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน 3) ด้านความเชื่อมั่น ผู้จัดงานเน้นกลยุทธ์ในการใช้เทคโนโลยีที่สร้างความรู้สึกให้เกิดความเชื่อที่ใกล้เคียงกับการเข้าร่วมงานอีเว้นท์แบบออฟไลน์ (Offline) ให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากมีผลสูงสุด รองลงมาการตลาดเชิงกิจกรรมและประสบการณ์ การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา ตามลำดับ ในส่วนปัจจัยด้านความเชื่อมั่นมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความเชื่อมั่นในการนำเสนอมีผลสูงสุด รองลงมาความเชื่อมั่นจากความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ตามลำดับ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะต่อผู้จัดงาน ควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการจัดงานที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายโดยเน้นระบบสารสนเทศที่ผู้เข้าร่วมรู้สึกใกล้เคียงกับการเข้าร่วมแบบออฟไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ รวมถึงการสร้างการรับรู้โดยการโฆษณาลงช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อดูความคิดเห็นและผลตอบรับเบื้องต้น ก่อนขยายไปยังช่องทางอื่น ๆ อาทิ โทรทัศน์ เพื่อสร้างการจดจำให้กับกลุ่มเป้าหมายในการกระตุ้นให้เกิดความตั้งใจเข้าร่วมงาน
657 5042 - Publicationการจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 2) ศึกษาการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 3) ศึกษาการสร้าง Engagement ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบบันทึก ข้อมูล (Coding Form) การจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย จำนวน 24 สถานี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2561 (2) แนวคำถามสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการ จำนวน 12 คน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านโซเชียลมีเดีย จำนวน 6 คน และผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกร จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน จาก 11 สถานี โทรทัศน์ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้วนำมาประมวลผลข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูลในการวิเคราะห์ Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยและบทสัมภาษณ์เชิงลึกมาประมวลรวมกันและวิเคราะห์เนื้อหาตามเค้าโครงการนำเสนอ โดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) แล้วนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยส่วนงานที่รับผิดชอบด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งสถานีโทรทัศน์ที่มีสัดส่วนการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live ต่อวัน มากที่สุด ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง TNN 24 รวมทุกประเภทรายการ คิดเป็น 69.16% โดยประเภทรายการที่มีการนำเสนอผ่าน Facebook Live มากที่สุด คือ รายการข่าว ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง Nation TV ความยาว 12.55 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ Facebook Live ในการนำมาต่อยอดนำเสนอเป็นรายการออนไลน์เพื่อสร้างยอดวิวและสร้างรายได้ 2. การสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทการประชาสัมพันธ์มาใช้มากที่สุด รองลงมา คือ การโฆษณาตราสินค้าหรือสินค้าในรายการโทรทัศน์ และการวางสินค้าบนโต๊ะผู้ประกาศข่าว การส่งเสริมการตลาดโดยผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกรแนะนำสินค้า และการจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยให้ผู้ชมร่วมสนุกรับของรางวัล และมีการใช้ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อกำหนดราคาในการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live เป็นแพ็คเกจเพื่อให้องค์กร หน่วยงาน และผู้ผลิตสินค้าได้จัดซื้อตามขนาดและความต้องการ 3. การสร้างพันธสัมพันธ์ (Engagement) ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้วิธีการสร้างพันธสัมพันธ์ด้วยการให้ผู้ชมกดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) และ แสดงความคิดเห็น (Comment) ผ่านทาง Facebook Live เพื่อรับของรางวัลหรือร่วมสนุกชิงรางวัล ทั้งผ่านการจัดกิจกรรมและการแสดงคอนเสิร์ต
140 643 - Publicationการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ = Marketing communication for elderly product(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 ท่าน ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแรก ได้แก่ นักกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ กลุ่มที่สอง ได้แก่ นักวิชาการ และกลุ่มที่สาม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ คือ ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการใช้สื่อ ความต้องการ และสุขภาพ โดยพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุ มีความสนใจเนื้อหาด้านสุขภาพ ใช้งานสื่อร่วมสมัยพร้อม ๆ กับการเปิดรับสื่อดั้งเดิม โดยใช้สื่อเหล่านี้เพื่อเสริมความรู้ ฆ่าเวลา หาความบันเทิง และเชื่อมโยงทางสังคม นอกจากนี้ยังมีวิธีการเปิดรับสารที่สอดคล้องกับวัย สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ส่งสารต้องมีความรู้ในเรื่องที่กำลังสื่อสาร มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของการสื่อสาร มีความสอดคล้องกับลักษณะวิถีชีวิตและความต้องการเปิดรับสารของผู้สูงอายุ และมีบุคลิกลักษณะทางการสื่อสารที่ดี ด้านเนื้อหาจะต้องมีความเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน มีวิธีการเล่าเรื่องและเนื้อหาที่ชวนให้ติดตาม สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก และมีความน่าเชื่อถือ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา ควรใช้ข้อความขนาดใหญ่ เนื้อหาไม่มาก ใช้สีสดใสดึงดูดใจ มีภาพประกอบ และการออกแบบเรียบง่าย ส่วนช่องทางในการสื่อสาร ใช้สื่อออนไลน์ได้แก่ Line Facebook และ Youtube และสื่อดั้งเดิมโดยใช้โทรทัศน์เป็นหลัก40 326