Browsing by Subject "การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
- Publication7 ทศวรรษ อัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ สู่ฉากทัศน์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564 – 2573) = 7 decades of television news brand identity to the scenario in the next decade (2021 – 2030)(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 โดยเป็นการวิจัยเชิงอนาคต (futures research) ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน ได้แก่ผู้บริหารองค์กรสื่อโทรทัศน์ จำนวน 10 คน ผู้บริหารองค์กรสื่อออนไลน์ จำนวน 3 คน ผู้บริหารองค์กรวิชาชีพสื่อ จำนวน 2 คน และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 มี 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านวิสัยทัศน์ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรมุ่งนำเสนอข่าวเพื่อตอบสนองกลุ่มคนรุ่นใหม่ และมีเนื้อหาพิเศษที่ผู้ชมต้องเสียค่าใช้จ่ายในการชม 2. ด้านวัฒนธรรม 2.1 องค์กรข่าว ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง กองบรรณาธิการทำงานอย่างคล่องตัว ต้องบูรณาการทุกสื่อรวมกัน โดยผลิตข่าวให้สอดคล้องกับช่องทางการนำเสนอในแต่ละช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้ความสำคัญกับศิลปะในการผลิตข่าวโทรทัศน์มีการสร้างแฟนคลับรายการข่าว 2.2 คนข่าว คนข่าวควรมีทักษะในการสืบค้นข้อมูล มีความสนใจเรื่องเทคโนโลยีมีทักษะการทำงานในหลายแพลตฟอร์ม มีทักษะในการเล่าเรื่องข้ามสื่อ นำเสนอข่าวด้วยทักษะความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล 3. ด้านตำแหน่งทางการตลาด มองกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเฉพาะ สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม 4. ด้านบุคลิกภาพ กำหนดบุคลิกภาพรายการที่สอดคล้องกับบุคลิกของผู้ชม เช่น บุคลิกภาพแบบไม่เป็นทางการ เป็นกันเอง เป็นคนรุ่นใหม่ มีสาระบันเทิง มีนวัตกรรม อธิบายให้เข้าใจง่าย เล่าสนุก เป็นต้น 5. ด้านความสัมพันธ์ ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรนำเสนอเนื้อหาเชื่อมกับทุกแพลตฟอร์ม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม สร้างการมีส่วนร่วมแบบทันทีทันใด สร้างรูปแบบให้ติดตามข่าวแบบเพลย์ลิสต์ นำข้อมูลของผู้บริโภคในโลกออนไลน์มาใช้ในการสร้างสรรค์รายการข่าว สร้างตราสินค้าคนข่าว สร้างช่องทางให้ประชาชนรายงานข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 6. ด้านวิธีการนำเสนอ กำหนดเนื้อหาตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย มีเนื้อหาที่เชื่อมประสบการณ์ผู้ชม มีแขกรับเชิญที่น่าสนใจ การนำเสนอ ใช้รูปแบบการเล่า ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่มีศิลปะ อธิบาย วิเคราะห์ให้เข้าใจง่าย คำนึงถึงรสนิยมคนดูและมีวิธีการนำเสนอที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการรายงาน49 311 - Publicationการจัดการตราสินค้าบุคคลของ ธงไชย แมคอินไตย์ และความผูกพันมั่นคงของแฟนคลับ = Personal brand management of Thongchai McIntyre and Fan Club's loyalty(University of the Thai Chamber of Commerce, 2023)
; ; ; ; งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ศึกษาด้วยวิธีวิทยาผสมผสานระหว่างวิธีวิทยาการวิเคราะห์การสนทนาและวิธีวิทยาการศึกษาเรื่องเล่า มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของ ธงไชย แมคอินไตย์ และ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาด้านความผูกพันมั่นคงของแฟนคลับ ธงไชย แมคอินไตย์ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ธงไชย แมคอินไตย์ ผู้จัดการส่วนตัว ผู้ร่วมงาน และแฟนคลับ รวมจำนวน 37 คน ผลการวิจัย พบว่า ธงไชย แมคอินไตย์ มีอัตลักษณ์ตราสินค้าบุคคลในฐานะศิลปินนักร้อง ครบสมบูรณ์ 4 ด้าน ซึ่งเป็นไปตามค่านิยมและวัฒนธรรมประเพณีไทย ปรากฏผ่านผลงาน ความสามารถและตัวตน และการสนับสนุนจากบริษัทค่ายเพลงต้นสังกัด ดังนี้ 1) นักร้องที่มีความสมบูรณ์แบบด้วยคุณสมบัติ คุณลักษณะพิเศษ และเป็นต้นแบบที่มีความร่วมสมัยอยู่เสมอ และทรงอิทธิพลต่อผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 2) แสดงภาพสะท้อนองค์กรต้นสังกัดด้วยผลงานคุณภาพ นวัตกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมจนสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตราสินค้าย่อยในกลุ่มผลงานของ ธงไชย แมคอินไตย์ 3) ตัวตนที่สะท้อนความสัมพันธ์ในฐานะ พี่ชาย ด้วยบุคลิกภาพ 7 ด้านคือ ความจริงใจ ความตื่นเต้นเร้าใจ ความสามารถ ความลุ่มลึก ความเข้มแข็ง ความกตัญญู และความโอบอ้อมอารี และ 4) มีน้ำเสียงที่โดดเด่น และสัญลักษณ์เทียบได้กับตัวอักษร B หรือ Bird ภาพนกนางนวล และโทนสีฟ้า-น้ำเงิน ซึ่งนำมาประกอบตราสัญลักษณ์คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด (BABB BIRD BIRD) มีฉายาบันเทิงคือ ซูเปอร์สตาร์ตลอดกาล และการรักษาชื่อเสียงที่สั่งสมมายาวนาน การพัฒนาด้านความผูกพันมั่นคงของแฟนคลับ ธงไชย แมคอินไตย์ พบว่า ผู้สร้างความผูกพันมั่นคงที่ยั่งยืน คือ ตัวตนศิลปิน ตัวแทนศิลปิน ผลงาน และเครือข่ายแฟนคลับ โดยมีแฟนคลับ 3 กลุ่ม คือ ผู้ติดตามใกล้ชิดเข้าถึงข้อมูลผ่านผู้จัดการส่วนตัวศิลปิน ผู้ติดตามใกล้ชิดผ่านสื่อต่าง ๆและผู้ติดตามทั่วไป สื่อสารผ่านกิจกรรมและสื่อออนไลน์ของศิลปิน และช่องทางสื่อสารของเครือข่ายแฟนคลับ และมีปัจจัยสร้างความผูกพันมั่นคง ได้แก่ ด้านเหตุผล คือ 1) การสร้างความมั่นใจ ด้วยผลงานคุณภาพ ความเป็นมืออาชีพ การสนับสนุนจากค่ายเพลงต้นสังกัด อิทธิพลจากครอบครัวแฟนคลับ และ 2) การแสดงความซื่อสัตย์และความจริงใจ คือ ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและดูแลผู้อื่นอย่างจริงใจ เปิดเผยข้อมูลความจริงใจ การแสงความเมตตากรุณา และปราศจากชื่อเสียงเชิงลบ ด้านอารมณ์ คือ 1) การสร้างความภูมิใจ จากชื่อเสียงและความนิยมที่สั่งสมยาวนาน การประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี เป็นต้นแบบ และ 2) การสร้างความหลงใหล ด้วยการปฏิบัติต่อผู้อื่นเสมือนคนในครอบครัว มอบความพิเศษเฉพาะบุคคล สร้างคุณค่าแห่งการรอคอย และมีความเสมอต้นเสมอปลาย255 537 - Publicationการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบลูกผสม ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและกระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ คนข่าวและแหล่งข่าวจำนวน 11 คน ใช้เครื่องมือการวิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามออนไลน์สำรวจความคิดเห็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับและการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทยกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือผู้รับสาร จำนวน 586 คน คนข่าว จำนวน 417 คน และนักวิชาการ จำนวน 261 คน รวม 1,264 คน ให้ตอบคำถามสำหรับ 33 ตัวแปร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและกระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 กลุ่มองค์ประกอบปัจจัย คือ 1) ความเป็นมืออาชีพในการรายงานข่าวที่เชื่อถือได้ 2) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม 4) การมีหลักธรรมาภิบาล และ 5) การมีศักยภาพในการรายงานข่าว กระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจตนเอง 2) การวิเคราะห์กลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย 3) การสร้าง 4) การสื่อสาร 5) การประเมินผล และ 6) การบำรุงรักษาตราสินค้าบุคคล รูปแบบการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย หรือ รูปแบบ “STaBEM Key of Journalist Personal Brand Model รูปแบบกระบวนการสร้างตราสินค้าบุคคลของคนข่าว” ประกอบด้วย 1) Passion Personality สร้างเสน่ห์บุคลิกภาพ 2) People Fandom ข้อมูลเติบสานจากเครือข่าย 3) Practical Integrity ธรรมาภิบาล 4) Professional Leadership มืออาชีพระดับผู้นำ และ 5) Potential & Experience พัฒนาศักยภาพและประสบการณ์ ส่วนกระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจตนเอง 2) การวิเคราะห์กลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย 3) การสร้าง 4) การสื่อสาร 5) การประเมินผล และ 6) การบำรุงรักษาตราสินค้าบุคคล
92 591 - Publicationการพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ (2) เพื่อศึกษาการสื่อสารการดำเนินงานภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ และ (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 68 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถาบัน อาจารย์บุคลากร นิสิตนักศึกษา และกลุ่มผู้นำชุมชนและองค์กรภาคี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการอภิปรายกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษา คือ (1) การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่สอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันและแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์จนนำไปสู่การปฏิบัติ (2) การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ คือการบูรณาการภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมเป็นหลักด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อหวังให้เกิดผลกระทบที่ดีต่อสังคม การสื่อสารการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาด้วยมุมมองของผู้ส่งสาร (Sender’s Aspect) คือ สถาบันอุดมศึกษามุ่งสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความรู้เกี่ยวกับตราองค์กรด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างคุณค่าตราองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ คือ การสื่อสารชุดความหมาย (Set of Meaning) ของการดำเนินงานภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์ด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด อันได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง และกลยุทธ์การสร้างสรรค์สารตามวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ คือ 1) การรับรู้ 2) การโน้มน้าว และ 3) การตระหนักรู้ รวมถึงการใช้กลยุทธ์สื่อออนไลน์และออฟไลน์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถาบันอุดมศึกษา
105 781