Browsing by Subject "การวิเคราะห์เนื้อหา"
Now showing 1 - 5 of 5
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 2) ศึกษาการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 3) ศึกษาการสร้าง Engagement ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบบันทึก ข้อมูล (Coding Form) การจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย จำนวน 24 สถานี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2561 (2) แนวคำถามสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการ จำนวน 12 คน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านโซเชียลมีเดีย จำนวน 6 คน และผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกร จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน จาก 11 สถานี โทรทัศน์ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้วนำมาประมวลผลข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูลในการวิเคราะห์ Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยและบทสัมภาษณ์เชิงลึกมาประมวลรวมกันและวิเคราะห์เนื้อหาตามเค้าโครงการนำเสนอ โดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) แล้วนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยส่วนงานที่รับผิดชอบด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งสถานีโทรทัศน์ที่มีสัดส่วนการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live ต่อวัน มากที่สุด ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง TNN 24 รวมทุกประเภทรายการ คิดเป็น 69.16% โดยประเภทรายการที่มีการนำเสนอผ่าน Facebook Live มากที่สุด คือ รายการข่าว ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง Nation TV ความยาว 12.55 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ Facebook Live ในการนำมาต่อยอดนำเสนอเป็นรายการออนไลน์เพื่อสร้างยอดวิวและสร้างรายได้ 2. การสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทการประชาสัมพันธ์มาใช้มากที่สุด รองลงมา คือ การโฆษณาตราสินค้าหรือสินค้าในรายการโทรทัศน์ และการวางสินค้าบนโต๊ะผู้ประกาศข่าว การส่งเสริมการตลาดโดยผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกรแนะนำสินค้า และการจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยให้ผู้ชมร่วมสนุกรับของรางวัล และมีการใช้ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อกำหนดราคาในการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live เป็นแพ็คเกจเพื่อให้องค์กร หน่วยงาน และผู้ผลิตสินค้าได้จัดซื้อตามขนาดและความต้องการ 3. การสร้างพันธสัมพันธ์ (Engagement) ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้วิธีการสร้างพันธสัมพันธ์ด้วยการให้ผู้ชมกดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) และ แสดงความคิดเห็น (Comment) ผ่านทาง Facebook Live เพื่อรับของรางวัลหรือร่วมสนุกชิงรางวัล ทั้งผ่านการจัดกิจกรรมและการแสดงคอนเสิร์ต
140 643 - Publicationการวิเคราะห์ความหมายของการกดไลก์ (Like) การคอมเมนต์ (Comment) และการแชร์ (Share) บนเฟสบุ๊กในบริบทของคนไทยการวิจัยในหัวข้อเรื่อง “การวิเคราะห์ความหมายของการกดไลก์ (Like) การคอมเมนต์ (Comment) และการแชร์ (Share) บนเฟซบุ๊ก (Facebook) ในบริบทของคนไทย” โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของการกดไลก์บนเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของการกดคอมเมนต์ บนเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย และ 4) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของการกดแชร์บนเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed Method Research) ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Groups) มีผู้ร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 21 คน เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความหมายฯ กับผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ที่ใช้งานอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเคยกดปุ่มสัญลักษณ์แสดงความรู้สึกปุ่มไลก์ (Like) ปุ่มรักเลย (Love) ปุ่มฮ่าๆ (HaHa) ปุ่มว้าว (Wow) ปุ่มโกรธ (Angry) ปุ่มเศร้า (Sad) ปุ่มคอมเมนต์ (Comment) และปุ่มแชร์ (Share) จากนั้นใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการสำรวจ (Survey Method) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 425 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. คนไทยส่วนใหญ่มีการมีการให้ความหมายของเฟซบุ๊ก คือ พื้นที่ในการติดตามความเคลื่อนไหวของสังคม (Social Watch & Monitoring Space) เช่น การติดตามข่าวสารสังคมหรือบุคคลที่ต้องการติดตาม เช่น ครอบครัว ญาติ พี่น้อง เพื่อน บุคคลที่น่าเคารพยกย่อง/น่าสนใจ (ค่าเฉลี่ย = 4.04) รองลงมา คือ พื้นที่บันทึกความทรงจำ เช่น รูปภาพ โพสต์ (Post) ต่าง ๆ ที่สนใจเก็บรวบรวมไว้ (ค่าเฉลี่ย = 3.96) น้อยที่สุด คือ พื้นที่ในการอวด เช่น อวดสิ่งของ อวดความสำเร็จของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.00) 2. คนไทยให้ความหมายของการกดปุ่มไลก์ (Like) แทนอารมณ์ได้กับในทุกสถานการณ์ ทั้งนี้พบว่า ความหมายรวมทั้งสิ้น จำนวน 42 ความหมาย ได้แก่ 1) ถูกใจ 2) ชอบ (โพสต์ เพื่อน องค์กร หรือคนที่เคารพ) 3) แกล้ง 4) โกรธ 5) เข้าอกเข้าใจกัน 6) เคารพ ยกย่อง 7) โฆษณาสินค้า /บริการ 8) จองพื้นที่/ปักหมุด 9) แซว 10) ตอบแทนน้ำใจ 11) ตักเตือน 12) ติดตาม 13) น่าอัศจรรย์ 14) แบ่งปัน 15) ประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร 16) ประหลาดใจ 17) เป็นคลังข้อมูลส่วนตัว 18) ผิดหวัง 19) พวกเดียวกัน 20) มากกว่าถูกใจ 21) ยินดี/ตื่นเต้น 22) ยิ้มยินดี 23) ยิ้มให้เธอ 24) เยาะเย้ย 25) เยี่ยม 26) รัก (โพสต์ เพื่อน องค์กร คนที่เคารพ) 27) รักษามารยาท 28) รับรู้ รับทราบ 29) เศร้า 30) สนิทกัน 31) สร้างภาพลักษณ์ตนเอง 32) สะใจ สมน้ำหน้า 33) เสียใจ 34) แสดงความคิดเห็น 35) ใส่ใจกัน 36) หัวเราะ 37) หาแนวร่วม 38) เหงื่อตก 39) ให้กำลังใจ 40) อ้อน งอแง 41) อ่อย และ 42) แอบชอบ 3. คนไทยให้ความหมายของการคอมเมนต์รวมทั้งสิ้น 22 ความหมาย ได้แก่ 1) แสดงความคิดเห็น 2) แกล้ง 3) โกรธ 4) เข้าอกเข้าใจกัน 5) จองพื้นที่/ปักหมุด 6) แซว 7) ตักเตือน 8) ถูกใจ 9) พวกเดียวกัน 10) ยินดี/ตื่นเต้น 11) ยิ้มยินดี 12) เยาะเย้ย 13) รัก (โพสต์ เพื่อน องค์กร คนที่เคารพ) 14) รักษามารยาท 15) รับรู้ รับทราบ 16) สนิทกัน 17) สะใจ สมน้ำหน้า 18) เสียใจ 19) ใส่ใจกัน 20) เหงื่อตก 21) ให้กำลังใจกัน และ 22) อ้อน งอแง 4. คนไทยให้ความหมายของของปุ่มแชร์ทั้งสิ้น 12 ความหมาย ได้แก่ 1) แบ่งปัน 2) หาแนวร่วม 3) เคารพ ยกย่อง 4) โฆษณาสินค้า/บริการ 5) จองพื้นที่/ปักหมุด 6) ติดตาม 7) ถูกใจ 8) ประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ หรือองค์กร 9) เป็นคลังข้อมูลส่วนตัว 10) มากกว่าถูกใจ 11) สร้างภาพลักษณ์ตัวเองตนเอง และ 12) หัวเราะ
496 539 - Publicationการวิเคราะห์เนื้อหา และการรับรู้ต่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ Jones Salad ของผู้ใช้สื่อสังคมการวิจัยในหัวข้อเรื่อง “การวิเคราะห์เนื้อหา และการรับรู้ต่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ Jones Salad ของผู้ใช้สื่อสังคม” โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการออกแบบเนื้อหาผ่านเรื่องเล่าการ์ตูนลุงโจนส์ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ตราสินค้า Jones Salad จากการเชื่อมโยงของผู้บริโภคจากเรื่องเล่าการ์ตูนลุงโจนส์และ 3) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการรับรู้ โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยเก็บข้อมูลจากเนื้อหา (Content) ทุกประเภทที่โพสต์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Jones Salad ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 104 โพสต์ และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการออกแบบเนื้อหาผ่านเรื่องเล่าการ์ตูนลุงโจนส์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Jones Salad พบว่า มีรูปแบบเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ 7 รูปแบบ โดยนำเสนอรูปแบบเนื้อหาด้านสุขภาพมากที่สุด รองลงมาเป็นเนื้อหาด้านโภชนาการ เนื้อหาเชิงโฆษณา และประชาสัมพันธ์เนื้อหาด้านออกกำลังกาย เนื้อหาเชิงล้อเลียน เนื้อหาอื่นๆ และเนื้อหาเกี่ยวกับร้าน Jones Salad ตามลำดับ ด้านเทคนิคการพาดหัวเฟซบุ๊กเพื่อให้ผู้อ่านสนใจ ได้แก่ ความใกล้ชิดมากที่สุด รองลงมาเป็นความสำคัญ หรือความเด่น ความลึกลับซ่อนเงื่อน ความเร้าอารมณ์ ความสดใหม่รวดเร็ว องค์ประกอบทางเพศ และความแปลก หรือผิดปกติ ตามลำดับ ด้านรูปแบบการปรากฏตัวของคาแรคเตอร์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Jones Salad ได้แก่ คาแรคเตอร์ลุงโจนส์มากที่สุด รองลงมาเป็นคาแรคเตอร์ป้าไก่ และตัวละครสมมติ ตามลำดับ 2. การรับรู้ตราสินค้า Jones Salad จากการเชื่อมโยงของผู้ใช้สื่อสังคมจากเรื่องเล่าการ์ตูนลุงโจนส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในด้านการรับรู้ต่อตราสินค้า Jones Salad บนเฟซบุ๊กแฟนเพจของผู้ใช้สื่อสังคม โดยรวมในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ด้านทัศนคติ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ อยู่ในระดับมาก และผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านคุณประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง 3. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการรับรู้ พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีการรับรู้ต่อตราสินค้า Jones Salad บนเฟซบุ๊กแฟนเพจของผู้ใช้สื่อสังคมไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านคุณประโยชน์ ด้านทัศนคติ และ และกลุ่มเพศต่างกันมีการรับรู้ต่อตราสินค้า Jones Salad บนเฟซบุ๊กแฟนเพจของผู้ใช้สื่อสังคมแตกต่างกัน ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
199 1567 - Publicationการวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์และอิทธิพลของการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลี กรณีศึกษา : ศิลปินเกาหลีวง GOT7งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย 2 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดบน Facebook Instagram Twitter และการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการนำเสนอสินค้า 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลี โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ด้วยการใช้เครื่องมือลงรหัสสำหรับวิเคราะห์เนื้อหา (Coding Sheet) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561- 31 มกราคม 2562 จำนวนโพสต์รวมกันทั้งสิ้น 380 โพสต์ และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มที่เป็นแฟนคลับ และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นแฟนคลับ จำนวน 10 คน ผลวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการนำเสนอสินค้า ทางด้านการใช้กลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาโดยใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีผ่านช่องทาง Twitter มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น Facebook, Instagram ตามลำดับ ในส่วนของการสื่อสารการตลาด ได้แก่ ประเภทให้ข้อมูลทั่วไป รองลงมาเป็นประเภทให้ข้อมูลด้านการส่งเสริมการตลาดประเภทให้ข้อมูลด้านสินค้า ประเภทให้ข้อมูลด้านสถานที่ ประเภทให้ข้อมูลด้านราคา ตามลำดับ ด้านการนำเสนอข้อมูลโดยใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบภาพ (Picture) รองลงมาเป็นการนำเสนอในรูปแบบคลิปวีดีโอ การนำเสนอในรูปแบบข้อความ (Text) และการนำเสนอในรูปแบบการฝากลิงค์ ตามลำดับ ด้านการนำเสนอเนื้อหา พบว่า วันพฤหัสบดีมีการนำเสนอเนื้อหามากที่สุด ทางด้านช่วงเวลาการนำเสนอเนื้อหา พบว่า ช่วงเวลา 18.01 - 21.00 น. มีการนำเสนอเนื้อหามากที่สุด ทางด้านการนำเสนอต่อเดือน พบว่า เดือนเมษายนมีการนำเสนอเนื้อหามากที่สุด 2) อิทธิพลของการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลี ทางด้านทัศนคติต่อการใช้พรีเซนเตอร์เกาหลีในการนำเสนอสินค้า พบว่า การใช้ศิลปินเกาหลีเป็นผู้นำเสนอสินค้าสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์ได้ ทางด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ พบว่า สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ได้ รวมถึงสามารถเปิดใจยอมแบรนด์ ทางด้านความตั้งใจซื้อหลังรับชมโฆษณา พบว่า มีผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค
395 1456 - Publicationการวิเคราะห์เนื้อหาและคำศัพท์ในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและคำศัพท์ในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ ในสาระสำคัญ 2 ประการ คือ 1. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐานที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ โดยได้ศึกษาเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างชาติ 3 ประเภท คือ 1) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับกระทรวง/ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นแบบเรียนระดับชาติ เพื่อให้เป็นแบบเรียนและคู่มือการเรียนการสอน ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นในบริบทไทยศึกษาสำหรับชาวต่างชาติ 2) แบบเรียนที่ผลิตโดยหน่วยงานระดับสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัย จากสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัย ได้แก่ แบบเรียนภาษาไทยในชีวิตประจำวัน Thai in daily Life 3) แบบเรียนที่ไม่มีหน่วยงานสังกัดที่สำนักพิมพ์เอกชนได้จัดพิมพ์และจำหน่าย นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ Thai for beginners ผลของการศึกษาพบว่าวิธีการเรียนรู้ และเนื้อหาแบบเรียนมีความเหมือนและความแตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน ที่ต่างกัน จึงทำให้มีประเด็นในเนื้อหาของการเรียนรู้แตกต่างกัน มีการใช้สัทอักษรในการถ่ายเสียง และฝึกการออกเสียงเนื้อหาในแบบเรียนได้ถูกต้อง แต่ด้วยจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กันคือ เรียนด้วยตนเอง กับการเรียนที่มีผู้สอนในชั้นเรียน ทำให้วิธีการเรียนรู้ต่างกันบ้าง การใช้ซีดีเพื่อช่วยสอนก็เป็นการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ออกเสียงภาษาไทยได้ถูกต้อง แต่หากผู้เรียนอยู่ในบริบทของสังคมไทยอาจไม่ต้องใช้ซีดีในการเรียนการสอน วิธีการคัดเลือก การเรียบเรียงคำศัพท์ และหมวดคำศัพท์พื้นฐาน มีความเหมือนและความแตกต่างกัน โดยพบว่าแบบเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในหลักการคัดเลือกและเรียบเรียงคำศัพท์ที่ง่ายก่อนไปคำศัพท์ที่ยาก ให้เรียนรู้ในเรื่องใกล้ตัวหรือรอบตัวก่อน และตามด้วยคำศัพท์ที่มีประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ ซึ่งมักเป็นกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน แบบเรียนทั้ง 3 เล่ม มีหมวดคำศัพท์ที่เหมือนกันจำนวน 10 หัวข้อ ได้แก่ การทักทายแนะนำตนเองหรือคนอื่นให้รู้จักกัน ครอบครัวและญาติพี่น้อง อาหารการกินและการสั่งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้/การซื้อของและต่อรองราคา ทิศทาง/สถานที่ และการถามทาง วัน เดือน ปี /สี และเวลา การเดินทาง และยานพาหนะ/การขนส่ง คำกริยา คำถาม และคำที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน ตัวเลข และพืช (ดอกไม้/ผลไม้) เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียนที่ต่างกัน จุดมุ่งหมายของการเรียนที่ต่างสถานการณ์กัน และบริบทในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน จึงทำให้การคัดเลือกคำศัพท์ การจัดลำดับวิธีการเรียนรู้ในหมวดหมู่คำศัพท์แตกต่างกันบ้าง288 665