Browsing by Subject "การลาออก"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานในบริษัท เอไอเอ จำกัด(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2565)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัท เอไอเอ จำกัด มีวัตถุประสงค์ศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความแตกต่างทำงานด้านบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัทเอไอเอจำกัด 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในองค์กรที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงาน บริษัท เอไอเอ จำกัด ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้คือ กลุ่มพนักงานในบริษัท เอไอเอ จำกัด โดยทำการสำรวจในพื้นที่บริษัท เอไอเอ จำกัด เป็นรูปแบบเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 337 ราย โดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านองค์กรที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัท เอไอเอ จำกัด และคำถามเพื่อประเมินการตัดสินใจลาออกโดยใช้เครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ในงานวิจัย ซึ่งแบ่งระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ จากน้อยไปหามาก (Likert Scale) วิเคราะห์หาค่าสถิติ ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานIndependent Samples t-Test และ One-Way ANOVA ซึ่งทำให้ได้ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสดอายุ 30-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 30,001-45,000 บาท ซึ่งจากการทดสอบสมมติฐานของประชากรศาสต์ของผู้ตอบแบบสอบถามที่แตกต่างกัน คือ อายุ การศึกษา เพศ สถานภาพ และอายุงาน พบว่า สถานภาพ การศึกษา และอายุงานทำให้ประชากรผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าสถิติแตกต่างกัน ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องของค่าจ้าง ค่าตอบแทน หัวหน้างาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ลักษณะงานรวมถึงความชำนาญการของพนักงานแต่ละบุคคล316 717 - Publicationแนวทางการลดอัตราการลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด และหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการลาออกของพนักงานธนาคาร ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานธนาคารออมสินสาขาที่ปฏิบัติงานในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด อายุงานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป โดยการใช้แบบสอบถาม จำนวน 140 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงโดยสัมภาษณ์พนักงานที่ปฏิบัติงานในธนาคารออมสินสาขาภายในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดที่ลาออกไป จำนวน 3 คน และสัมภาษณ์พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวัตถุประสงคของการศึกษา เพื่อศึกษาหาสาเหตุ แรงจูงใจ ในการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กรต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ปัจจัยในการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมพบว่ามาจากสาเหตุจากด้านลักษณะของงาน และด้านความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน เช่น การได้รับมอบหมายงานที่มากเกินไป ทำให้เกิดความเครียด เป็นสาเหตุที่อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ขาดการสนับสนุนให้ก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงกว่าปัจจุบัน เพื่อนร่วมงานขาดความรับผิดชอบ มีความขัดแย้งกันเสมอ แนวทางแก้ไขปัญหา คือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ส่งเสริมการปฏิบัติงานที่โปร่งใส เป็นธรรม สนับสนุนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรและอยู่ร่วมกันที่ดีและการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ที่มีศักยภาพสูงให้ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป201 1474