Browsing by Subject "การรับรู้"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; การศึกษาเรื่อง “การรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามมุมมองของเจเนอเรชันซี ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ เพื่อศึกษา 1) การรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) การรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นเจเนอเรชันซีซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมปลาย อายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า เจเนอเรชันซีเปิดรับสื่อโซเชียลมีเดียหลายประเภทในชีวิตประจำ แต่มีการรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านเครื่องมือการโฆษณาออนไลน์ค่อนข้างน้อย แต่มีรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านการรีวิวโดยผู้ใช้จริง และผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ทั้งที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ในส่วนการรับรู้การสื่อสารการตลาดต่อความตั้งใจเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามมุมมองของเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า เจเนอเรชันซีตระหนักดีว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำการสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้และเชิญชวนให้พวกเขาสมัครเรียน เจเนอเรชันซี มีบทบาทเชิงรุกในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาการเรียนและสถาบันการศึกษาที่ตนเองสนใจ จึงมักเริ่มต้นด้วยการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของนักศึกษาจากอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาติดตาม เช่น รุ่นพี่โรงเรียนที่ปัจจุบันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา53 444 - Publicationการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาดค้าปลีกกับระดับความพึงพอใจที่มีต่อการซื้อเสื้อผ้ามือสอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2015)
; ; ; การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาดค้้าปลีกกับระดับความพึงพอใจที่มีต่อการซื้อเสื้อผ้ามือสอง ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience sampling) ด้วยการโพาลิ้งสำหรับตอบแบบสอบถามบนร้านค้าเสื้อผ้ามือสองใน Facebook การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่งประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการบรรยายเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ในการวิเคราะห์ปัจจัยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Mutiiple Regression) ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมตลาดค้าปลีกในด้านต่างๆของผู้บริโภคเสื้อผ้ามือสอง ผ่านระบบเครืองข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาดค้าปลีกกับระดับความพึงพอใจที่มีต่อการซื้อเสื้อผ้ามือสอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาพบว่าระดับการรับรู้ต่อปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดค้าปลีก อันได้แก่ ความหลากหลายของสินค้า, การกำหนดราคา, การออกแบบร้านและการจัดแสดงสินค้า, ทำเลที่ตั้ง, องค์ประกอบการสื่อสาร, และการให้บริการลูกค้า มีอำนาจพยากรณ์ ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการซื้อเสื้อผ้ามือสอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook อย่างมีนัยสำคัญทางสถิิติระดับ 0.05 โดยความหลากหลายของสินค้ามีผลต่อระดับความพึงพอใจมากที่สุด39 456