Browsing by Subject "การตลาดเชิงกิจกรรม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และความเชื่อมั่นที่ส่งผลต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ของผู้เข้าร่วมในเขตกรุงเทพมหานครการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลกับความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ของผู้เข้าร่วมงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของผู้เข้าร่วมงานที่มีผลกับความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสม (Mix Method) คือการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 3 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก พบว่า 1) รูปแบบการจัดงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ส่วนใหญ่ยังเป็นทั้งในรูปแบบ ออฟไลน์ (Offline) และออนไลน์ (Online) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงส่งผลให้รูปแบบการจัดอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) เป็นที่นิยมมากเพิ่มขึ้น 2) เครื่องมือการสื่อสารการตลาดบูรณาการ โดยทำการประชาสัมพันธ์ผ่านในลักษณะของวิดีโอไวรัล (Viral Video) และการถ่ายทอดสดในระบบออนไลน์ (Live Stream) เน้นการสร้างภาพเคลื่อนไหว เสียง ภาพนิ่ง เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านเฟซบุ๊กก่อนในช่วงแรก และสื่อสารผ่านช่องทางอื่น ๆ อาทิ โฆษณาทีวี และการเช่าป้ายโฆษณา เพื่อเน้นสร้างการจดจำ และความสนใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน 3) ด้านความเชื่อมั่น ผู้จัดงานเน้นกลยุทธ์ในการใช้เทคโนโลยีที่สร้างความรู้สึกให้เกิดความเชื่อที่ใกล้เคียงกับการเข้าร่วมงานอีเว้นท์แบบออฟไลน์ (Offline) ให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากมีผลสูงสุด รองลงมาการตลาดเชิงกิจกรรมและประสบการณ์ การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา ตามลำดับ ในส่วนปัจจัยด้านความเชื่อมั่นมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความเชื่อมั่นในการนำเสนอมีผลสูงสุด รองลงมาความเชื่อมั่นจากความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ตามลำดับ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะต่อผู้จัดงาน ควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการจัดงานที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายโดยเน้นระบบสารสนเทศที่ผู้เข้าร่วมรู้สึกใกล้เคียงกับการเข้าร่วมแบบออฟไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ รวมถึงการสร้างการรับรู้โดยการโฆษณาลงช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อดูความคิดเห็นและผลตอบรับเบื้องต้น ก่อนขยายไปยังช่องทางอื่น ๆ อาทิ โทรทัศน์ เพื่อสร้างการจดจำให้กับกลุ่มเป้าหมายในการกระตุ้นให้เกิดความตั้งใจเข้าร่วมงาน
657 5042