logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "การตลาดอินเทอร์เน็ต"

Now showing 1 - 5 of 5
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+) ชาวต่างชาติ
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
    สุพิชฌาย์ พรสุขสวัสดิ์
    การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+) ชาวต่างชาติ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ (2) เพื่อเสนอแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mix Method Research) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์การใช้เนื้อหาบนสื่อออนไลน์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวประเทศไทย (SWOT Analysis) แล้วกำหนดแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยด้วย TOWS Matrix Analysis และการอภิปรายกลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ ผู้วิจัยสร้างแบบวัดรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการท่องเที่ยว โดยข้อคำถามได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิต AIOs (กิจกรรม, ความสนใจ, ความคิดเห็น) และพฤติกรรมการท่องเที่ยวในกระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยว (Tourism behavior in the purchasing decision process) ซึ่งประกอบด้วยคำถาม 197 ข้อ ทำการลดข้อคำถามโดยพิจารณาจากค่า Cronbach’s alpha if item deleted โดยจะต้องมีค่าไม่เกินค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคและค่า Corrected Item-Total Correlation มากกว่า 0.3 ทำให้เหลือข้อคำถามจำนวน 70 ข้อ นำมาวิเคราะห์โดยการหมุนแกนด้วยวิธีเวอริแมก (Varimax) ได้องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว 5 ประการ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านข่าวสารและข้อมูลด้านการท่องเที่ยว (2) องค์ประกอบด้านแรงบันดาลใจในการเดินทาง (3) องค์ประกอบความชอบด้านการท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทาง (4) องค์ประกอบด้านความต้องการเดินทางท่องเที่ยว และ (5) องค์ประกอบด้านประเภทของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและการเลือกเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศมีการหาข้อมูลด้านสถานที่ท่องเที่ยวผ่านสื่อประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด ข้อมูลที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คาดหวังมากที่สุด คือ เรื่องการยอมรับอย่างจริงใจของคนในท้องถิ่นและความปลอดภัยสำหรับคนกลุ่มนี้ 2) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นคือ “SHOE-Flower Model” ซึ่ง SHOE ซึ่งแสดงถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่ม Safe & Chill 2. กลุ่ม Hits 3. กลุ่ม Option และ 4. กลุ่ม Exploit โดย FLOWER จะแสดงถึงกลยุทธ์ประกอบด้วย กลยุทธ์ 1 ช่วยเหลือ (Favored) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและจัดอบรมเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมที่จะช่วยเหลือนักท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ 2 ชัดเจน (Lucid) เพิ่มเนื้อหาในการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการเป็นมิตรกับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ กลยุทธ์ที่ 3 ชูโรง (Outstanding) โดยเน้นการพัฒนาเนื้อหาที่สามารถแสดงให้เห็นศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและสามารถตอบโจทย์ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ กลยุทธ์ที่ 4 ชักจูง (Welcome) พัฒนาช่องทางการสื่อสารและวิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างสะดวก กลยุทธ์ที่ 5 เชื่อมั่น (Exact) จัดตั้งหน่วยงานกลางที่ใช้ในการสื่อสารและให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะและกลยุทธ์ที่ 6 เชื่อมโยง (Related) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
      403  2324
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครในการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนผู้ทำคอนเทนต์ออนไลน์ที่ผ่านการเสริมความงาม
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
    อัครวุฒิ งามวิถี
    ;
    คมกริช ถาวรวันชัย
    ;
    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะเศรษฐศาสตร์
    งานวิจัยเรื่องการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครในการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนผู้ทำคอนเทนต์ที่ผ่านการเสริมความงาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคใน การสนับสนุนผู้ทำคอนเทนต์ที่ผ่านการเสริมความงาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เคยรับชมสื่อออนไลน์ประเภทชุมชนโซเชียลวีดีโอถ่ายทอดสด ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการทางสถิติได้แก่การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ Independent Samples Test, One-Way ANOVA ผลจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 406 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอยู่ใน ช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ชื่นชอบการใช้แอปพลิเคชัน Bigo Live ชอบกดส่งหัวใจในขณะรับชม สนับสนุนผู้ทำคอนเทนต์ต่อการรับชมแต่ล่ะครั้งน้อยกว่า 1,000 บาท มีการสนับสนุนในปีปัจจุบันน้อยกว่า 10,000 บาท เปรียบเทียบจำนวนครั้งใน การสนับสนุนผู้ทำคอนเทนต์กับปีที่ผ่านมาเท่าเดิม หากผู้ทำคอนเทนต์มีความสวย/หล่อ ที่มากขึ้นค่า สนับสนุนจะเท่าเดิม ปัจจัยที่เลือกรับชมผู้ทำคอนเทนต์คือความสวย/หล่อและเสียงน่าฟัง ให้สำคัญกับบริเวณ ตาและจมูกของผู้ทำคอนเทนต์
      22  210
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
    ณัฐณิชา ประมาณ
    ;
    เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์
    ;
    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะเศรษฐศาสตร์
    การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่เลือกใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การเลือกใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง โดยมีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีอาชีพส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจส่วนตัว ประชากรส่วนใหญ่ให้ระดับความสำคัญด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาด 6p และพฤติกรรมการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะประชากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee ) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีตัวแปรด้านเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร
      352  1041
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้านผ่านทาง Application 7-11 ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
    นรวัชร สิริปัญญาแสง
    ;
    ;
    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะเศรษฐศาสตร์
    การศึกษางานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้าน ผ่านทาง Application 7-11 ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้าน ผ่านทาง Application 7-11 (2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบริการบน Application 7-11 ในการซื้อสินค้า ALL Onlineห้างใกล้บ้าน โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของประชากร ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรหรือตัวแปร 2 กลุ่ม ด้วยค่าสถิติ t-test และกรณีที่ตัวแปรอิสระมากกว่า 2 กลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ANOVA (F-test) หากพบความเเตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Fisher’s LSD procedure ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติการเปรียบเทียบความพึงพอใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า พบว่า เพศแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาแตกต่างกัน อายุแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน สถานภาพที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในผลิตภัณฑ์และด้านราคาแตกต่างกัน ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน อาชีพแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคาแตกต่างกัน รายได้แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาแตกต่างกัน การเปรียบเทียบความพึงพอใจการยอมรับเทคโนโลยีในการซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้านพบว่า เพศแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านการใช้งานจริง ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงินไม่แตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี ในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยง ด้านการเงินแตกต่างกัน สถานภาพที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งานและด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวแตกต่างกัน ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านการใช้งานจริง ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงิน แตกต่างกัน อาชีพแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งานด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงินแตกต่างกัน รายได้แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงินแตกต่างกัน
      69  495
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ = A Causal relationship model of factors affecting the effectiveness of online business marketing communications
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
    ปริญญา นิลรัตนคุณ
    ;
    ไพโรจน์ วิไลนุช
    ;
    สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ และ 2) พัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์เป็นการวิจัยแบบผสานได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.916 จากผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน และผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารการตลาด การตลาดออนไลน์ ผู้ดูแลระบบของแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงและกลุ่ม Youtuber จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) การออกแบบเทคโนโลยี การยอมรับเทคโนโลยีและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล ส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ ได้แก่ CAP FC ประกอบด้วย (1) C: Commerce Cost เลือกสื่อสังคมออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงงบประมาณในการทำโฆษณา (2) A: Admin Communication ให้มีการใช้ Chatbot สำหรับตอบคำถามพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้ข้อมูล (3) P: Platform Marketing Mix พัฒนาช่องทางออนไลน์ของตนเอง และทำส่งเสริมการขายผ่านแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียง (4) F: Follower Consumer สร้างผู้ติดตาม และ (5) C: Communication Social เลือกช่องทางการสื่อสารออนไลน์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
      48  529
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS