logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "การตรวจสอบภายใน"

Now showing 1 - 9 of 9
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การศึกษาประสิทธิผลงานตรวจสอบภายในของบริษัทซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    สุธิรา บัวเทศ
    การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความเห็นของพนักงานเกี่ยวกับระดับประสิทธิผลของหน่วยงานตรวจสอบภายใน บริษัทซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในมุมมองของผู้ที่เคยได้รับการตรวจสอบ การศึกษาใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นจากพนักงานที่เคยได้รับการตรวจสอบ จำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.30 มีช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี ร้อยละ 45.60 มีการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 62.20 มีระยะเวลาในการทำงาน อยู่ระหว่าง 5-10 ปี ร้อยละ 38.90 และ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สังกัดฝ่ายคลังสินค้า ร้อยละ 21.10 ความคิดเห็นต่อระดับประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย 3.86) โดยประสิทธิผลการตรวจสอบที่มีระดับมากที่สุดคือ ด้านจริยธรรมและคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน (ค่าเฉลี่ย 4.06) รองลงมาคือ ด้านการสร้างคุณค่าให้กับองค์กร (ค่าเฉลี่ย 3.96) และด้านการรายงานการปฏิบัติงานการตรวจสอบ ด้านการประเมินความเสี่ยง (ค่าเฉลี่ย 3.92) เนื่องจากในการทำงานหน่วยงานตรวจสอบมีความสุจริต โปร่งใส เนื่องจากในการทำงานขึ้นตรงกับคณะกรรมการตรวจสอบ และมีการวางแผนการทำการตรวจสอบอย่างชัดเจนโดยไม่เลือกปฏิบัติ และหน่วยงานตรวจสอบมีการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่ได้มาอย่างรอบครอบ ไม่ได้นำไปเปิดเผยหรือนำข้อมูลที่ได้มาไปใช้ส่วนตน
      80  300
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ความคิดเห็นที่มีต่อการตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    วันวิสาข์ ประเสริฐไชยกุล
    การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการตรวจสอบภายใน ในมุมมองของผู้รับการตรวจ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นที่มีต่อการตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจสอบ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 40 คน จาก 9 สายงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 67.50 เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 55 มีระดับการศึกษาปริญญาโทหรือสูงกว่า ร้อยละ 24 ทำงานที่ธนาคารกรุงไทย 21 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 21 ได้รับการตรวจสอบจากฝ่ายตรวจสอบมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปร้อยละ 15 และส่วนใหญ่สังกัดสายงานบริหารคุณภาพสินเชื่อและกระบวนการธุรกิจเครือข่ายรายย่อย ร้อยละ 25 ผลการศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจในการตรวจสอบภายใน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจในงานตรวจสอบภายในในระดับสูง มีความคิดเห็นต่อการตรวจสอบภายใน ทั้งความคิดเห็นด้านวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบ ความคิดเห็นด้านความรอบรู้ในวิชาชีพและคุณสมบัติส่วนตัวของผู้ตรวจสอบ ในระดับเห็นด้วย ผลการทดสอบสมมติฐานทำให้ทราบว่า 1) ระดับความเข้าใจในด้านความหมายและด้านบทบาทหน้าที่ การตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) ไม่มีความแตกต่างกันตามระยะเวลาที่ทำงานในธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และตามประสบการณ์ในการได้รับการตรวจสอบ 2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) ไม่มีความแตกต่างกันตามระยะเวลาที่ทำงานในธนาคารกรุงไทย และตามประสบการณ์ในการได้รับการตรวจสอบ 3) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน ในมุมมองของผู้รับการตรวจธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) ไม่มีความแตกต่างกันตามระยะเวลาที่ทำงานในธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และตามประสบการณ์ในการได้รับการตรวจสอบ ยกเว้นด้านการวางแผนการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบที่มีผลสรุปออกมาว่า ระดับความคิดเห็นในมุมมองของผู้รับการตรวจสอบ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) ที่มีต่อวิธีการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน ด้านการวางแผนการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบ มีความแตกต่างกันตามประสบการณ์ในการได้รับการตรวจสอบ จากผลการศึกษาจะเห็นว่าความคิดเห็นในมุมมองของผู้รับการตรวจสอบ ด้านการวางแผนการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบมีความแตกต่างกันตามประสบการณ์ในการได้รับการตรวจสอบแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ในการได้รับการตรวจสอบนั้นมีอิทธิพลต่อความคิดเห็น ดังนั้นเพื่อเป็นการทดแทนประสบการณ์ในการได้รับการตรวจสอบที่แตกต่างกัน องค์กรอาจจัดกิจกรรม เช่น การจัดอบรมและจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และเพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจในเรื่องการตรวจสอบภายใน เพิ่มขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ระหว่างผู้ตรวจและผู้รับการตรวจ
      106  1256
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัทที่ประกอบธุรกิจศูนย์การค้า
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    สิราวิชญ์ ยะมัง
    การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน ของพนักงานบริษัทที่ประกอบธุรกิจศูนย์การค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัทที่ประกอบธุรกิจศูนย์การค้า ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้รับการตรวจสอบที่เป็นผู้บริหารและพนักงานจ านวน 74 คน เครื่องมือท่ีใช้ในการศึกษาและทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่าผู้รับการตรวจมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เริ่มจากด้านการรายงานผลการปฏิบัติงานตรวจสอบ ด้านการติดตามผลการตรวจสอบ ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบ และด้านการวางแผนการตรวจสอบ ตามลำดับ และมีระดับความพึงพอใจในงานส่วนปัจจัยด้านแรงกระตุ้นอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านสุขอนามัยอยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของผู้รับตรวจในระดับค่อนข้างสูงไปในทิศทางเดียวกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่าปัจจัยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของผู้รับตรวจอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยด้านการวางแผนการตรวจสอบ โดยสรุป ปัจจัยด้านการวางแผนการตรวจสอบเป็นปัจจัยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของผู้รับตรวจ ดังนั้นผู้บริหารหน่วยงานตรวจสอบหรือผู้ตรวจสอบ ควรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อการวางแผนการตรวจสอบ นำไปสู่การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้รับการตรวจพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จโดยรวมขององค์กรต่อไป
      137  619
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์กรกับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของธุรกิจโรงแรม
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    อิศราภรณ์ นิลสว่าง
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์กรกับประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน ของธุรกิจโรงแรม การศึกษาใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากพนักงานโรงแรมผู้รับการตรวจสอบภายใน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าสถิติอ้างอิง คือ ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้บรรยากาศองค์การด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และการตัดสินใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด การได้รับข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนการอบรมพัฒนา และการให้รางวัลตอบแทนตามผลงาน มีการรับรู้อยู่ในระดับมาก ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของโรงแรม เห็นว่าผู้ตรวจสอบภายในมีคุณสมบัติ การศึกษาและความเป็นอิสระมากที่สุด ประสิทธิผลการปฏิบัติงานโดยเฉพาะการปฏิบัติตามแผนและขอบเขตงานมีประสิทธิผลในระดับมาก การรับรู้บรรยากาศองค์กรทุกด้านมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการให้รางวัลตามผลงาน เป็นปัจจัยส่งเสริมประสิทธิผลการตรวจสอบภายในมากที่สุด เนื่องจากการตรวจสอบภายในช่วยสร้างคุณค่าให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ กิจการโรงแรมควรสนับสนุนบรรยากาศภายในองค์กร ด้านการจัดให้มีการวัดผลการปฏิบัติงานตามผลงานที่เป็นธรรม และมีการสื่อสารข้อมูลความเสี่ยงและการควบคุมสำหรับพนักงานทุกระดับอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
      60  336
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการประเมินประสิทธิผลการตรวจสอบภายในบริษัทนอร์ทอีสรับเบอร์ จำกัด (มหาชน)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    ภัทราพร เจษฎาพัฒนพงศ์
    การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการประเมินประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน)โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นผู้รับการตรวจบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้รับการตรวจจากบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 37คนผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงพบว่าอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 26-35ปีและระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีตำแหน่งงานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในระดับปฎิบัติการและอายุงานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1-5 ปีการรับรู้ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงแบบการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation : IM) การรับรู้ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในคือด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับการประเมินประสิทธิผลการตรวจสอบภายในอย่างมีนัยสำคัญ
      92  330
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิผลการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    วาเรนทร์ ซุ่ยฮะ
    การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการบริหารของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิผลของการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO ของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร ศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักวิชาการสาธารณสุข นักจัดการงานทั่วไป พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี พนักงานปฏิบัติการ และพนักงานของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 30 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ พบว่าปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิผลการควบคุมภายใน โดยปัจจัยด้านการบริหารจะแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำและปัจจัยด้านการสื่อสาร ทำการทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ปัจจัยด้านภาวะผู้นำมีค่าเท่ากับ 0.528 เมื่อแปรผลระดับความสัมพันธ์แล้ว ปัจจัยด้านภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์กันกับประสิทธิผลการควบคุมภายในในระดับน้อย สัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน ส่วนปัจจัยด้านการสื่อสาร มีค่าเท่ากับ 0.301 เมื่อแปรผลระดับความสัมพันธ์แล้ว ปัจจัยด้านการสื่อสารมีความสัมพันธ์กันกับประสิทธิผลการควบคุมภายในในระดับน้อยที่สุด สัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน จากการศึกษาค้นคว้าอิสระ ฝ่ายบริหารควรเพิ่มมาตรการในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไว้ให้มากขึ้น เพื่อให้มีการติดตามผลย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มทิศทางในการสื่อสารแบบสองทางมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและเพิ่มประสิทธิผลในการควบคุมภายใน ส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
      145  402
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในของบริษัทกรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    ธานี บุญวัฒนศิริ
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมภายในที่มีผลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในของ บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยศึกษาจากแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร และพนักงานของ บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 35 ปี การศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานปฏิบัติการ ส่วนใหญ่ทำงานในบริษัทเป็นเวลา 6-10 ปี ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมการควบคุมของบริษัทว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านการกำกับดูแลอย่างเป็นอิสระจากกรรมการและผู้บริหารด้านการควบคุมภายใน และการพัฒนาธำรงรักษาพนักงานของบริษัท ด้านกิจกรรมการตรวจสอบภายใน มีความคิดเห็นว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการติดตามผลการตรวจสอบปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในของบริษัทมีอิทธิพลอย่างเป็นนัยสำคัญทุกด้าน ทั้งด้านการมุ่งมั่นในคุณค่าจริยธรรม การกำกับตรวจตรา การกำหนดโครงสร้างความรับผิดชอบ การเน้นความสามารถของบุคลากร และการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ปัจจัยด้านการควบคุมภายในที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบมากที่สุด คือการจัดให้มีโครงสร้างสายงานและความรับผิดชอบด้านการควบคุมภายในอย่างชัดเจน และการกำกับตรวจตราอย่างเป็นอิสระของผู้บริหาร ธุรกิจประกันภัยที่กำหนดโครงสร้างความรับผิดชอบอย่างชัดเจน และผู้บริหารเอาใจใส่ในการกำกับตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ ย่อมช่วยให้การตรวจสอบการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ สร้างคุณค่าให้องค์กรได้เพิ่มมากขึ้น
      91  347
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของบริษัทนอร์ทอีสรับเบอร์จำกัด (มหาชน)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    ธัชพล วังสุวรรณ
    การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับการตรวจสอบภายในของบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 34 คน จากการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 31 – 40 ปี ด้านระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้านระดับตำแหน่งงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับพนักงาน และในด้านประสบการณ์ทำงานส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1 – 5 ปี พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน ปัจจัยด้านการให้การสนับสนุนจากฝ่ายบริหารและสภาพแวดล้อมองค์กร ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน โดยรวม ทั้งหมดอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในโดยรวม ประสิทธิผลการตรวจสอบภายในด้านการวางแผนการตรวจสอบ ประสิทธิผลการตรวจสอบภายในด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบ ประสิทธิผลการตรวจสอบภายในด้านการรายงานผลการตรวจสอบภายใน และประสิทธิผลการตรวจสอบภายในด้านการติดตามผลการตรวจสอบ ทั้งหมดอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน ด้านการวางแผนการตรวจสอบประสิทธิผลการตรวจสอบภายในด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบ ประสิทธิผลการตรวจสอบภายในด้านการรายงานผลการตรวจสอบภายใน และประสิทธิผลการตรวจสอบภายในด้านการติดตามผลการตรวจสอบ จากการศึกษาค้นคว้าอิสระผู้ตรวจสอบภายในจะได้ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน อาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ผู้บริหารอาจใช้ข้อเป็นมูลในการสนับสนุน ส่งเสริมการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น
      99  416
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    นรินทร์ภัทร์ อ่อนละมูล.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานตรวจสอบการเงิน 2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) กลุ่มตัวอย่างจากผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 10 ท่าน และใช้แบบสอบถามตามแนวคิดมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert Rating Scales) ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงิน จำนวน 5 ปัจจัย และปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น จำนวน 4 ปัจจัย โดยใช้สูตรคำนวณหาขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จำนวน 278 คน การวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินโดยภาพรวม มีระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.00 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.88 โดยมีปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.23 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินสูงที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กรระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.96 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.87 ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 และปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.83 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.93 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมมีระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 โดยมีปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.37 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้นสูงสุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กร ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.34 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.22 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 และปัจจัยด้านลักษณะของการทำงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.09 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยเฉพาะปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ และจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการตรวจสอบการเงินของบุคลากรนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ดังนั้นควรมีข้อกำหนดที่ชัดเจนในการชี้แจงเหตุผลและแสดงพยานหลักฐานของหน่วยรับตรวจ พร้อมสื่อสารข้อกำหนดดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้องค์กรควรส่งเสริมด้านฝึกอบรม พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมให้แก่บุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      169  1487
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS