Browsing by Subject "การจัดการตลาด"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการศึกษาและกําหนดส่วนประสมทางการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่า ให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย อําเภอปง จังหวัดพะเยา(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาและกำหนดส่วนประสมทางการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่าให้เป็น Smart Farmer กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุของเกษตรกรลูกค้าเงินกู้รายเก่าของ ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย ที่ไม่พัฒนาตนเองเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง 2. เพื่อกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการพัฒนาเกษตรกรลูกค้าเงินกู้รายเก่า ของ ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย ให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง กลุ่มเป้าหมายเฉพาะเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายบุคคล ซึ่งเป็นผู้กู้รายเก่าของ ธ.ก.ส. สาขาดอนไชย ที่ยังไม่พัฒนาตนเองให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง โดยลูกค้าที่เป็นเกษตรกรผู้กู้รายบุคคลนั้น จะแบ่งตามพื้นที่ทั้งหมด 6 เขต มีพนักงานพัฒนาธุรกิจ ให้บริการจำนวน 4 คน โดยการเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้กู้รายคน จำนวน 200 ราย ในพื้นที่ 3 ตำบล ประกอบด้วย ต.งิม ต.ออย และ ต.ผาช้างน้อย ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลช่วง สิงหาคม 2564 – ตุลาคม 2564 และสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชน และ ผู้ประกอบการรับซื้อ รวบรวมผลผลิตในพื้นที่รวมไปถึงผู้ประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร จำนวน 20 ราย โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง มีสาเหตุจากลูกค้ายังคงยึดรูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมไม่มีความรู้ทางตลาดเพียงพอ ไม่มีผู้แนะนำให้ความรู้ซึ่งทำให้ไม่มีการวางแผนในการผลิตที่ดี รวมไปถึงการเข้าถึงทุนในการผลิตค่อนข้างน้อย แรงจูงใจที่สำคัญที่สุดคือ แรงจูงใจด้านเศรษฐกิจ โดยมุ่งไปที่รายจ่ายรวมในครัวเรือน ส่วนแรงจูงใจที่ส่งผลน้อยที่สุดคือ ด้านบุคคล และเมื่อมองในภาพรวมของปัจจัยแรงจูงใจทุกข้อ พบว่าลูกค้ามีแรงจูงใจด้านสังคมจากการเป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงน้อยที่สุด ธนาคารควรใช้แรงจูงใจโดยการเพิ่มทุนให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเข้าไปให้ความรู้ อบรม อย่างต่อเนื่องทั้งด้านการผลิต และการตลาดแก่ลูกค้าร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการพัฒนาตนเองไปเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง ที่มีความความสำคัญที่สุดสำหรับลูกค้าคือ ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาของผลผลิตประกอบกับด้านการส่งเสริมการตลาด ซึ่งหากมีการส่งเสริมทางการตลาดที่เหมาะสม และทั่วถึง จะสามารถผลักดันให้ เกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่ากลายเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องได้ง่ายขึ้น ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลน้อยที่สุดคือ การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และจากผลการสัมภาษณ์ พบว่าหากลูกค้า สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องได้ย่อมส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ ตามความต้องการของผู้รับซื้อยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองราคาผลผลิตมากขึ้น อาจมีช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลายขึ้น ธนาคารควรเพิ่มการส่งเสริมการตลาด ด้านการประชาสัมพันธ์ทางช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรปกติทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ รวมถึงผู้ประกอบการอื่นๆ นอกพื้นที่ได้รับรู้ด้วย ก็จะเป็นช่องทางที่ทำให้ลูกค้าอยากจะพัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น แนวทางการสำหรับการพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้รายเก่าให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง 1. มุ่งเน้นพัฒนาเกษตรกรลูกค้าผู้กู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในการเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง ก่อนให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ จนกระทั่งสามารถถ่ายทอด หรือเป็นต้นแบบแก่บุคคลอื่นในชุมชนและควรมีการประชาสัมพันธ์แบบเจาะลึกอย่างต่อเนื่อง 2. วางแผนพัฒนาร่วมกับหน่วยงานอื่น ธนาคารควรวางแผนร่วมกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาเกษตรกร ลูกค้าผู้กู้รายเก่าร่วมกับเกษตรกรกรรายอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อร่วมกันหาวิธีการที่บูรณาการ รวดเร็ว ได้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด และใช้ได้จริงกับสภาพพื้นที่ทำกินของเกษตรกร 3. พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ธ.ก.ส. ให้เชี่ยวชาญ และเป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อที่จะสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำลูกค้าได้ตลอดเวลา นอกจากความรู้ด้านสินเชื่อและการเงินแล้ว ควรพัฒนาความรู้ด้านการเกษตร เช่น เทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นต้น และ พนักงานควรต้องได้ทดลองและปฏิบัติจริงด้วย58 311 - Publicationแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากปัจจุบันมีแนวโน้มลูกหนี้ค้างชำระเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อธนาคารในระยะสั้นและระยะยาว วัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อหาสาเหตุของปัญหาลูกหนี้ค้างชำระที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการด้านสินเชื่อของลูกค้าเงินกู้ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระเพื่อลดและป้องกันการเกิดหนี้ค้างชำระ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าเงินกู้ธนาคารประเภทสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย ที่มีหนี้ค้างชำระ จำนวน 213 ราย และทำการสัมภาษณ์ลูกค้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด จำนวน 10 ราย รวมถึงสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องทางด้านสินเชื่อโดยตรง จำนวน 3 รายคือ ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา หัวหน้าหน่วยอำเภอ และพนักงานพัฒนาธุรกิจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสาเหตุของปัญหาลูกหนี้ค้างชำระที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น พบว่าสาเหตุที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ มาจากปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายนอก และปัจจัยจากภายในธนาคาร โดยปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้มากที่สุด คือ รายได้ลดลง ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้มากที่สุด คือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัจจัยภายในธนาคารที่ส่งผลต่อการค้างชำระมากที่สุด คือ จำนวนการส่งชำระต่องวดสูงเกินไป และจากผลการสัมภาษณ์ลูกค้าและพนักงานทำให้ได้ข้อมูลว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ลดลงและสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันส่งผลต่อการประกอบอาชีพและรายได้ของลูกค้า พนักงานกำหนดงวดชำระไม่สอดคล้องกับรายได้ของลูกค้า ด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการสินเชื่อของลูกค้าผู้กู้ ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสินเชื่อมากที่สุดคือ ลูกค้าให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน พนักงานบริการ รองลงมาคือ ด้านกระบวนการบริการ ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ตามลำดับ แนวทางแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย เลือกใช้ 2 แนวทางเลือก คือแนวทางเลือก กลยุทธ์เชิงรุก เพิ่มความถี่ในการติดตามหนี้ มีการติดตามหนี้อย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของทีมงาน หัวหน้างานมอบหมายให้พนักงานแต่ละคนรับผิดชอบ มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และควรมีการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้น และแนวทางเลือกกลยุทธ์เชิงแก้ไข มีการจัดอบรมให้ความรู้พนักงาน ด้านกระบวนการให้สินเชื่อ การวิเคราะห์สินเชื่อ และการบริหารจัดการหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น เกิดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคาร สามารถวิเคราะห์สินเชื่อได้อย่างมีคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง กำหนดงวดชำระได้ตรงกับที่มาของรายได้ลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระหนี้ของลูกค้า และเมื่อลูกค้ามีปัญหาในการชำระหนี้ พนักงานสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการหนี้ได้ถูกต้องตรงจุด เพื่อลดและป้องกันการเกิดหนี้ค้างชำระ55 489