EC: Independent Studies
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing EC: Independent Studies by Author "จิรภัทร บุญอาจ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการศึกษาผลกระทบด้านรายได้ของแรงงานและชั่วโมงการทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (พ.ศ 2561 – 2564)(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาผลกระทบด้านรายได้และชั่วโมงการทำงานของแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อศึกษาแรงงานที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้และชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษางานค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีลักษะเป็นอนุกรมเวลา (Time Series Data) ใช้ข้อมูลการสำรวจสภาวะแรงงาน (Labour Force Survey :LFS) ใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2561 – 2564 เป็นระยะเวลา 4 ปี จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นผลของรายได้และชั่วโมงการทำงานของแรงงานเพื่อเปรียบเทียบกันระหว่างรายได้และชั่วโมงการทำงานของแรงงานในช่วง 4 ปี ซึ่งจะสะท้อนผลเป็นรายประชากรเพื่อเปรียบเทียบรายได้และชั่วโมงการทำงานของแต่ละปี และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ใช้วิธีการวิเคราะห์วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มกับ T-Test และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า งานวิเคราะห์ความแตกต่างจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 รายได้และชั่วโมงการทำงาน จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยรายได้ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแตกต่างกับชั่วโมงการทำงานที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางกลับกันเห็นได้ชัดว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 กระทบกับแรงงานในประเด็นเรื่องการศึกษา ที่แตกต่างกันในแต่ละระดับการศึกษา หรือที่มีการศึกษาแตกต่างกัน โดยแรงงานที่มีการศึกษาที่ไม่สูง อาทิเช่น ไม่มีการศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงลบ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงให้เห็นว่าแรงงานที่มีการศึกษาไม่สูงมากมีโอกาสเสี่ยงที่จะรายได้ลดน้อยลง สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญและมีผลต่อรายได้ ระดับการศึกษามีผลต่อการจ้างงาน เมื่อมองกลับกันแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาที่สูงแม้จะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ผลกระทบด้านรายได้ของแรงงานไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ส่วนประเด็นค่าเฉลี่ยชั่วโมงการทำงานทั้งสิ้นต่อสัปดาห์ของแรงงานมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติในเชิงลบที่ระดับ 0.01 ทั้งด้านภูมิภาค เขตการปกครอง สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาที่สำเร็จ อาชีพ และอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ทุกกลุ่มแรงงาน มีชั่วโมงการทำงานลดลง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19ที่เกิดขึ้น นายจ้างมักปรับตัวโดยการปรับเปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน มากกว่าเพิ่มหรือลดคนงานแบบฉับพลัน ส่วนหนึ่งอาจมาจากการหาแรงงาน ที่มีทักษะที่เหมาะสมกับงานนั้น ผลจากการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่าผลกระทบด้านรายได้ของแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้แก่ ประสบการณ์การทำงาน ภูมิภาค เขตเทศบาล สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาที่สำเร็จ อาชีพ อุตสาหกรรม พบว่า ประเด็นการศึกษาและอาชีพมีผลต่อรายได้ของแรงงานมากที่สุดโดยการเปลี่ยนแปลงของแรงงานก่อนและระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในแง่ของการศึกษา วุฒิการศึกษาส่งผลต่อค่าจ้างของแรงงาน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดยิ่งทำให้ระดับการศึกษามีผลต่อรายได้ที่มากขึ้นทำให้เกิดความแตกต่างกันในด้านรายได้ยิ่งมากขึ้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่ารายได้ของแรงงานที่มีการศึกษาตั้งแต่ต่ำอนุปริญญาถึงสูงกว่าปริญญาตรีมีรายได้ที่เหนือกว่ากลุ่มแรงงานที่ไม่มีการศึกษา เทียบกับก่อนเกิดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างชัดเจน ดังนั้น ระดับการศึกษาของแรงงานจะส่งผลให้มีความแตกต่างของรายได้ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดโควิด – 1936 274