CA: Dissertations
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing CA: Dissertations by Author "ปวรพล สอนระเบียบ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationแนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับผู้บริโภคไทย = Guideline for creating marketing communication literacy of dietary supplement with Thai consumer(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเส้นทางการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย 2) ศึกษาการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผ้บริโภคไทย ประกอบด้วยสถานการณ์การรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาด ระดับการรู้เท่าทันสื่อ และรูปแบบ การตัดสินใจซื้อ 3) ค้นหาแนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับผู้บริโภคไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้บริโภคไทย จำนวน 10 คน นักวิชาการและนักวิชาชีพ จำนวน 9 คน เชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคไทยที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกรอบทฤษฎี และสถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ผู้บริโภคมีประสบการณ์บนเส้นทางการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้เนื้อหา 2) ด้านการพิจารณาและตัดสินใจซื้อจากแหล่งข้อมูล 3) ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาและตัดสินใจซื้อ 4) ด้านการรับรู้ผ่านช่องทางการสื่อสาร 5) ด้านการสนับสนุน 6) ด้านการซื้อซ้ำ 7) ด้านการซื้อ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า สถานการณ์การร้เท่าทันการสื่อสารการตลาด ในมุมมองนักวิชาการ/นักวิชาชีพ มองว่าผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันผู้ส่งสาร ได้แก่ กลยุทธ์และวัตถุประสงค์ การสื่อสาร แหล่งที่มาของข้อมูล และกลุ่มอิทธิพล ด้านการรู้เท่าทันสาร ได้แก่ เนื้อหาบนฉลาก ผลิตภัณฑ์ ข่าวปลอม และทักษะการตรวจสอบข่าวปลอม ด้านการรู้เท่าทันช่องทางหรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การรู้และเข้าใจข้อจำกัดการโฆษณา ความน่าเชื่อถือของช่องทางต่าง ๆ และการรู้เท่าทันการสื่อสารแบบปากต่อปาก ด้านการรู้เท่าทันตัวเอง ได้แก่ การรู้เท่าทันอารมณ์ สถานการณ์การรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคเอง พบว่า ด้านการรู้เท่าทันผู้ส่งสาร ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ และผู้ส่งสารประเภทบุคคล เช่น พนักงานขายหน้าร้าน และกลุ่มอิทธิพล เป็นผู้ส่งสารที่ไม่น่าเชื่อถือ ด้านการรู้เท่าทันสาร ได้แก่ ข้อมูลบนฉลาก เช่น วันหมดอายุ ผู้ผลิต เป็นต้น แหล่งที่มาของข้อมูล สารประกอบของผลิตภัณฑ์ และภาษาบนฉลากผลิตภัณฑ์ ด้านการรู้เท่าทันช่องทางหรือเครื่องมือการสื่อสารการตลาด ได้แก่ เลือกรับหรือปฏิเสธช่องทางได้ ตรวจสอบเนื้อหาที่ได้รับกับผู้เชี่ยวชาญ การใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบ ด้านการรู้เท่าทันตนเอง ได้แก่ เรื่องค่านิยมทางสังคม เช่น ความสวย ความหล่อ ความผอม การรู้เท่าทันสุขภาพของตนเอง และการใส่ใจสุขภาพ ผลการศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากการประเมินตนเองของผู้บริโภค พบว่า ระดับการรู้เท่าทันอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษารูปแบบการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคไทย ประกอบด้วย 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการซื้อแบบกระตือรือร้น 2) รูปแบบการซื้อแบบเน้นการประเมินข้อมูล 3) รูปแบบการซื้อแบบเปิดรับข้อมูลทุกช่องทาง 4) รูปแบบการซื้อแบบพิจารณาใคร่ครวญอย่างละเอียดรอบคอบ 5) รูปแบบการซื้อแบบเน้นความสะดวกสบาย 6) รูปแบบการซื้อแบบพิจารณาแค่ฉลากผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า แนวทางการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถสรุปแนวทางการสร้างได้ 7 แนวทางดังนี้ 1) การสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามรูปแบบการซื้อของผู้บริโภค 2) การสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามเส้นทางการตัดสินใจซื้อ 3) การสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ – กิเลสตัวเอง 4) การสร้างการรู้เท่าทันสุขภาพ หรือความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้บริโภค 5) การสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6) การสร้างการรู้เท่าทันเชิงปฏิบัติการด้านกฎหมายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 7) การสร้างการรู้เท่าทันคุณธรรมให้ผู้ส่งสารและผู้บริโภค73 1986