logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "เปอรานากัน--ความเป็นอยู่และประเพณี"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    กลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
    ทิพย์พิรุณ พุมดวง
    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันมันคลัสเตอร์ (2) เพื่อนำเสนอแผนที่การท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีวิทยาแบบพหุวิธี (multiple method) กล่าวคือ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) โดยรวบรวมข้อมูลจาก 3 แหล่ง ดังนี้ (1) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (documentary) กลุ่มตัวอย่างคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 79 เอกสาร (2) การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 35 คน (3) การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) กลุ่มตัวอย่างคือ สถานที่อันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 117 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการเล่าเรื่อง “ด้านผู้เล่าเรื่อง” พบว่า ขาดผู้เล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันรุ่นใหม่ที่จะสานต่อและขับเคลื่อนการอนุรักษ์วัฒนธรรม “ด้านเนื้อเรื่อง” พบว่า ขาดการนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหาบ่งชี้ถึงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากัน “ด้านช่องทางการเล่าเรื่อง” พบว่า ช่องทางการเล่าเรื่องไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง “ด้านผู้รับเรื่อง” พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเพอรานากันอยู่ในวงจำกัด (2) ข้อมูลวัฒนธรรมเพอรานากัน สามารถจำแนกได้ 2 หมวดหมู่หลัก ได้แก่เรื่องราวประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์เพอรานากัน และเรื่องราววิถีชีวิตชาวเพอรานากัน นอกจากนี้ยังพบว่า เอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากันคือ “การผสมผสานทางวัฒนธรรม” ระหว่างวัฒนธรรมจีน มลายู ยุโรป และไทย โดยนำส่วนดีของแต่ละวัฒนธรรมมาผสมผสานกันอย่างลงตัว เอกลักษณ์เหล่านี้สามารถแสดงออกอย่างเด่นชัดผ่านอาหาร เครื่องแต่งกาย สถาปัตยกรรม ความเชื่อและประเพณีของชาวเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ (3) การนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากันที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตราฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมปรากฏผลทั้งสิ้น 83 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดระนอง จำนวน 8 แห่ง จังหวัดพังงา จำนวน 15 แห่ง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 34 แห่ง จังหวัดกระบี่ จำนวน 8 แห่ง จังหวัดตรัง จำนวน 14 แห่ง และจังหวัดสตูล จำนวน 4 แห่ง (3) การเสนอกลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์ ได้แก่ กลยุทธ์ “DIBUK ROUTE” “กลยุทธ์รู้ราก” (D: Defend your roots) ส่งเสริมให้มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมเพอรานากันในทุก ๆ แง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประวัติความเป็นมา สถาปัตยกรรม อาหาร เครื่องแต่งกาย ประเพณี ความเชื่อ ภาษา อาชีพ ศิลปะพื้นถิ่น รวมถึงประวัติความเป็นมาของสถานอันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากันให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดศูนย์กลาง/ สถาบันการเรียนรู้ในทุกพื้นที่ “กลยุทธ์รู้จักตน” (I: Identify your identities) ระบุอัตลักษณ์วัฒนธรรมเพอรานากัน เพื่อนำไปสู่การแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมถึงจุดเด่นของสถานที่อันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากันในแต่ละแห่ง “กลยุทธ์คนสร้างเรื่อง (B: Build Peranakan contents) ยกระดับการจัดทำเนื้อหาให้น่าสนใจติดตาม และสามารถกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมบางอย่าง “กลยุทธ์คนส่งเรื่อง” (U: utilize to key target) กำหนดช่องทางการเล่าเรื่องที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จัดทำขึ้น และเป็นช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัยสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (K: key target) เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้ “อ่าน” (R: read stories) “เปิดใจ” (O: open your heart) กลุ่มคนในวัฒนธรรม “รู้จักรากเหง้า” ของตนเอง (U: understand yourself) กลุ่มนักท่องเที่ยว “ให้ความสนใจ” วัฒนธรรมเพอรานากัน (T: think about Peranakan culture) “กระตือรือร้น” (E: Enthused) กลุ่มลูกหลานชาวเพอรานากันเกิดการตระหนักถึงคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมและหันกลับมาสืบทอดวัฒนธรรม ด้านกลุ่มนักท่องเที่ยวอยากมาท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากัน
      349  627
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS