logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกหรือปรับเปลี่ยนอัตราการออมเพิ่มและแผนทางเลือกการลงทุน ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กรณีศึกษา สมาชิก กบข. สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
    กนกวรรณ วิชัยศรี
    ;
    คมกริช ถาวรวันชัย
    ;
    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะเศรษฐศาสตร์
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกหรือปรับเปลี่ยนอัตราการออมเพิ่มและแผนทางเลือกการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ของสมาชิก กบข. สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้วิจัยใช่ข้อมูลประเภทปฐมภูมิ (Primary Data) โดยการเก็บแบบสอบถามจากสมาชิก กบข. สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และทดสอบทางสถิติที่โดยใช้ ค่าสถิติร้อยละ t-Test, One-Way Anova และ Chi-Squareงานวิจัยพบว่า การเลือกอัตราการออมเพิ่มขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ อายุราชการ และรายได้รวมต่อเดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านพฤติกรรมการออม การลงทุนลความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ได้แก้ รูปแบบการออม อื่นๆ ที่นอกเหนือจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย การออมในเงินฝากสหกรณ์ และการออมในสลากออมสิน/สลากธกส. รูปแบบการลงทุน ประกอบด้วย การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ สำหรับการปรับเปลี่ยนอัตราการออมเพิ่มใน กบข. ปัจจัยด้านเพศมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังใน กบข. เปรียบเทียบกับการนำเงินไปออมหรือไปลงทุนรูปแบบอื่นปัจจัยด้านอายุมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังใน กบข. เปรียบเทียบกับการนำเงินไปออมหรือไปลงทุนรูปแบบอื่น อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยด้านอายุราชการ มีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังใน กบข. เปรียบเทียบกับการนำเงินไปออมหรือไปลงทุนรูปแบบอื่น และสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีที่ได้รับ ปัจจัยด้านรายได้รวมต่อเดือนีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การเลือกแผนทางเลือกการลงทุนขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ และค่าใช้จ่ายต่อเดือน สำหรับการปรับเปลี่ยนแผนทางเลือกการลงทุนใน กบข. ปัจจัยด้านเพศมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านผลการประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำจาก กบข. ปัจจัยด่านอายุมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด่านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละแผนการลงทุน ปัจจัยด้านอายุราชการมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละแผนการลงทุน และผลการประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำจาก กบข. ปัจจัยด้านรายได้รวมต่อเดือนมีผลต่อระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละแผนการลงทุน และผลการประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำจาก กบข
      37  443
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    นรินทร์ภัทร์ อ่อนละมูล.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานตรวจสอบการเงิน 2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) กลุ่มตัวอย่างจากผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 10 ท่าน และใช้แบบสอบถามตามแนวคิดมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert Rating Scales) ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงิน จำนวน 5 ปัจจัย และปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น จำนวน 4 ปัจจัย โดยใช้สูตรคำนวณหาขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จำนวน 278 คน การวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินโดยภาพรวม มีระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.00 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.88 โดยมีปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.23 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินสูงที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กรระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.96 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.87 ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 และปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.83 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.93 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมมีระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 โดยมีปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.37 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้นสูงสุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กร ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.34 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.22 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 และปัจจัยด้านลักษณะของการทำงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.09 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยเฉพาะปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ และจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการตรวจสอบการเงินของบุคลากรนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ดังนั้นควรมีข้อกำหนดที่ชัดเจนในการชี้แจงเหตุผลและแสดงพยานหลักฐานของหน่วยรับตรวจ พร้อมสื่อสารข้อกำหนดดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้องค์กรควรส่งเสริมด้านฝึกอบรม พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมให้แก่บุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      169  1487
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS