logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "สินเชื่อที่อยู่อาศัย"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ โครงการบ้านล้านหลังที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงใหม่
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    สิทธิพงษ์ สกุลเลี้ยงวานิช.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ 2) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้การจัดการสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขและนำเสนอกลยุทธ์ทางเลือกการเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้จัดการสาขาทั้ง 5 สาขาในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามผ่านระบบ Online โดยใช้ Google From และแบบสัมภาษณ์ผู้จัดการสาขา ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 5 สาขา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง 400 ราย ส่วนมากเป็นเพศหญิงมีอายุ 31 – 40 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพรับจ้าง/ พนักงานเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าสาเหตุในการเกิดมี 3 สาเหตุหลัก และ 10 สาเหตุรอง ได้แก่ 1) ปัจจัยภายนอก สาเหตุรองคือ เศรษฐกิจ รัฐบาล และการแพร่ระบาดของโควิด-19 2) ปัจจัยภายใน สาเหตุรองคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ วงเงินกู้ จำนวนเงินที่ต้องชำระ และระยะเวลาผ่อนชำระ 3) ปัจจัยส่วนบุคคล สาเหตุรองคือ มีรายได้ลดลง ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ จากการประเมินทางเลือกทั้ง 3 แนวทางสำหรับการแก้ปัญหา นำไปสู่การสรุปทางเลือกที่มีความเหมาะสมในการนำไปใช้แก้ไขปัญหามากที่สุด ได้แก่ แนวทางที่ 1 ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่มุ่งเน้นหาลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านล้านหลังให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดให้แต่ละสาขาเจาะกลุ่มลูกค้าตามแหล่งชุมชนในทำเลที่ตั้งใกล้เคียงกับสาขา และสร้างการรับรู้ผ่านสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนให้คำปรึกษา/แนะนำการเตรียมเอกสารยื่นกู้ และแนะนำทางเลือกอื่น ๆ แก่ลูกค้าที่ไม่เข้าเงื่อนไข
      52  327
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การศึกษาเพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์และจัดกลุ่มการเข้าสู่สภาวะความเสี่ยง
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    กันทิมา มีนิล.
    ;
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการเงิน.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะวิศวกรรมศาสตร์.
    การศึกษาเพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และจัดกลุ่มการเข้าสู่สภาวะความเสี่ยง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดลูกค้า NPL เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีผลก่อให้เกิดแนวโน้มลูกค้า NPL และแนวทางในการลดความเสี่ยง โดยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง 3 แบบ (Decision Tree (J48), K-Nearest Neighbor และ Naïve Bayes) เพื่อพยากรณ์ลูกค้า NPL ผลการศึกษา คือ ประสิทธิภาพการพยากรณ์ของโมเดล Decision Tree (J48) ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำสูงสุดที่ 98.23% โมเดล K – Nearest Neighbor : KNN ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำ 93.80% โมเดล Naive Bayes ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำ 90.26% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจากการศึกษาจะพบว่าลูกค้าทุกกลุ่มอาชีพ และมีเงินเดือน 10,000 – 20,000 บาท จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในด้าน NPL มากที่สุด ถ้าพิจารณาเจาะจงที่อาชีพพนักงานประจำมั่นคง ซึ่งเป็นตัวอย่างข้อมูลที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด พบว่าลูกค้ากลุ่มพนักงานธุรกิจเอกชน จดทะเบียน (>2 ปี/พนง.>20 คน) เป็นฐานที่มีความเสี่ยงด้าน NPL สูง และเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาทำสินเชื่อ ในการศึกษาครั้งต่อไป ธนาคารควรจะนำข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อลดความเสี่ยงด้าน NPL ที่สูงได้ดีขึ้น ประสิทธิภาพการพยากรณ์แล้ว พบว่าโมเดล Decision Tree (J48) มีประสิทธิภาพการพยากรณ์ดีที่สุด ได้ค่ามีความถูกต้องแม่นยำสูงที่สุด
      147  783
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS