Browsing by Subject "สินเชื่อ"
Now showing 1 - 11 of 11
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการจัดการสินเชื่อ = Credit management(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), [ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์])
; ; 65 701 - Publicationการประยุกต์เหมืองข้อมูลเพื่อพยากรณ์ปัจจัยที่ทําให้เกิดหนี้ค้าง ภายใต้การให้บริการด้านสินเชื่อโครงการสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending)(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ;สุวรรณี อัศวกุลชัย; ; ; การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาหนี้ค้าง (NPL) ผ่านโครงการพัฒนาระบบสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) ในกลุ่มลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดลพบุรี และเพื่อประยุกต์เหมืองข้อมูลในการอนุมัติสินเชื่อในการแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินกู้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าเงินกู้ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อฉุกเฉินที่มีอยู่ในระบบสารสนเทศของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดลพบุรี จำนวน 9,002 ราย จากการที่ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวลงใน Line Official ของ ธ.ก.ส. เพื่อสมัครสินเชื่อฉุกเฉิน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างแบบจำลองการเรียนรู้ผ่านโปรแกรม Weka เพื่อหาความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้ค้าง (NPL) ผลการศึกษา จากการทดลองใช้ตัวแบบพยากรณ์ จำนวน 3 แบบ ได้แก่ เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree), เทคนิคเบย์อย่างง่าย (Naïve Bayesain classifier) และเทคนิคซัพพอร์ตเวกเตอร์เเมชชีน (Support vector machine; SVM) พบว่า เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) มีค่าความถูกต้องในการทำนาย (Correctly Classified Instances) มากที่สุด93 526 - Publicationการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายสินเชื่อตามข้อบังคับฉบับที่ 35 (สลากออมทรัพย์)ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางเขนโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายสินเชื่อตามข้อบังคับฉบับที่ 35 (สลากออมทรัพย์) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางเขน อันเนื่องมาจากปริมาณยอดการจ่ายสินเชื่อตามข้อบังคับฉบับที่ 35 (สลากออมทรัพย์) ในปีบัญชี 2563 ลดลงจากปี 2561 – 2562 และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการรวบรวมข้อมูลลูกค้าที่ซื้อสลากออมทรัพย์และข้อมูลลูกค้าที่มียอดการเบิกสินเชื่อข้อบังคับฉบับที่ 35 (สลากออมทรัพย์) ของสาขาบางเขน ในบัญชี 2563 ประกอบไปด้วยข้อมูลลูกค้าที่ซื้อสลากออมทรัพย์ทั้งสิ้น 6,378 ราย และมีลูกค้าที่มี ยอดการเบิกสินเชื่อข้อบังคับฉบับที่ 35 (สลากออมทรัพย์) จำนวน 802 ราย โดยมีแอทริบิวต์ที่จำเป็นต่อการศึกษาจำนวน 7 แอทริบิวต์ ได้แก่ อายุลูกค้า ระยะเวลาที่ติดต่อธนาคาร เพศ สถานะสมรส ยอดรวมเงินฝากประเภทสลาก ยอดรวมสินเชื่ออื่นๆ และลูกค้ามีการกู้สินเชื่อข้อบังคับฉบับ 35 แล้วนำข้อมูลมาทดสอบกับเทคนิคการจำแนกกลุ่มจำนวน 4 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) เทคนิคกฎการตัดสินใจ (Decision Rule) เทคนิคตัวจำแนกประเภทเบย์อย่างง่าย (Naïve-Bayes) และเทคนิคซัพพอร์ทเวกเตอร์แมชชีน (Support Vector Machine) จากการทดสอบ พบว่าเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ Decision Tree: J48 ให้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องมากที่สุด โดยมีผลลัพธ์ความถูกต้อง 87.50% และสามารถสรุปปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายสินเชื่อตามข้อบังคับฉบับที่ 35 (สลากออมทรัพย์) จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบ ได้แก่ ระยะเวลาที่ติดต่อธนาคาร ยอดรวมสินเชื่ออื่นๆ และยอดรวมเงินฝากประเภทสลาก72 409 - Publicationการศึกษาหาสาเหตุและแนวทางการลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของลูกหนี้สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลําปาง(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุและแนวทางการลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของลูกหนี้สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลำปาง เพื่อนำผล ที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการลดปริมาณหนี้ NPLs และลดการกันสำรองของธนาคาร โดยทำการเก็บ รวมรวมข้อมูลแบบสอบถามจากลูกหนี้ NPLs สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลำปาง จำนวน 300 คน โดยคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตร Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์พนักงาน จำนวน 10 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT ทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix แนวคิดเกี่ยวกับมูลเหตุของการค้าง ชำระหนี้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางประกอบในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาล ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด COVID-19 ตามลำดับ จากการประมวลผลและสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก พบว่าแนวทางในการลดปริมาณหนี้ NPLs มีทางเลือก 2 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก (SO) การจัดประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ สื่อออนไลน์ แอปพลิเคชัน MyMo การโทรสอบถาม ทำหนังสือเชิญชวน และการลงพื้นที่เพื่อให้ คำแนะนำ ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนฟ้อง การเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของธนาคาร เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระและลดปริมาณหนี้ NPLs ของธนาคาร แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ (ST) ทีมงานศูนย์หนี้ฯ ได้จัดตารางลงพื้นที่ในการติดตามหนี้ ร่วมกับสาขาต่าง ๆ เนื่องจากสาขาที่ดูแลลูกค้าจะรู้จักลูกค้าในพื้นที่ดี มีข้อมูลลูกหนี้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ลูกหนี้มีความรู้ ความเข้าใจการวางแผนการเงิน ลดโอกาสการค้างชำระ และลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคาร83 663 - Publicationการแก้ไขปัญหาอัตราการกู้สินเชื่อระบบอิสลามลดลง กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขายะหา(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาสาเหตุที่ยอดคงเหลือสินเชื่อระบบอิสลาม ธ.ก.ส. สาขายะหา ลดลง โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยในรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และดำเนินการวิจัย ด้วยวิธีแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส. สาขายะหา โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 ธ.ก.ส. สาขายะหา มีลูกค้าเงินกู้จำนวน 7,873 คน ผู้วิจัยจึงได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสมการของ Taro Yamane (1967) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบค่าทีเทส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้เคยใช้บริการสินเชื่อระบบแอสลาม จำนวน 6 คน และผู้บริหาร พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจ่ายสินเชื่ออิสลาม จำนวน 4 คน โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล จากนั้นใช้แผนผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์องค์กรทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และใช้ทาวส์เมตริก ทำการการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกข้อมูล การวางเค้าโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 92.75 ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 66.00 มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ร้อยละ 43.25 สถานภาพสมรส ร้อยละ 91.25 ส่วน ใหญ่ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 73.50 ส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 80.25 ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001–15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 71.75 2) พฤติกรรมผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการสินเชื่อระบบอิสลามร้อยละ 75.25 และไม่ทราบว่า ธ.ก.ส. มีสินเชื่อระบบอิสลามให้บริการ ร้อยละ 74.50 มีความถี่ที่ใช้ในการบริการด้านสินเชื่อกับธนาคาร ปีละ 1 ครั้ง 83.75 3) สาเหตุและปัญหาเกิดจากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านความต้องการผู้บริโภค ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ยังไม่ครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภค ด้านพฤติกรรม ลูกค้ายังขาดการรับรู้ในตัวผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านพนักงานยังขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีปฏิบัติอย่างถ่องแท้ 4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้หลักเกณฑ์ของระบบการเงินอิสลาม เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค พร้อมการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์และบริการ62 392 - Publicationความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซี ตาก(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซี ตาก โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าปัจจุบันที่มีสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 100 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งกลุ่มลูกค้าปัจจุบันจำนวน 10 คน และกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยขอกู้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ เป็นสินเชื่อของนโยบายรัฐฯ ทำให้มีกลุ่มลูกค้าสนใจประสงค์กู้สินเชื่อเป็นจำนวนมาก เนื่องจากธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซี ตาก จัดตั้งในห้างสรรพสินค้าทำให้มีการจำกัดการเข้าใช้บริการ และพนักงานที่ให้บริการต่อวันไม่เพียงพอในการรับลูกค้าการขอคำปรึกษาด้านสินเชื่อนโยบายรัฐฯ จึงเกิดข้อเรื่องเรียนเรื่องการบริการที่ล่าช้า แนวทางการแก้ปัญหา คือ การบริหารงานสาขา ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมล้อมภายในสาขาให้มีความพร้อมในการบริการและพัฒนาศักยภาพให้พนักงานผู้ให้บริการมีความรู้ความชำนาญด้านผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อให้คำปรึกษาลูกค้าได้อย่างถูกต้อง163 857 - Publicationแนวทางการสื่อสารทางการตลาดสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการบํานาญและลูกจ้างประจํา กรณีศึกษาธนาคารออมสินเขตเชียงใหม่ 3(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุที่สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้บำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกันของธนาคารออมสิน ไม่เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด และ 2. เพื่อเสนอแนวทางกิจกรรมการสื่อสารทางการตลาดที่เหมาะสมกับสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ กรณีศึกษาธนาคารออมสิน เขตเชียงใหม่ 3 เป็นการวิจัยแบบผสม Mixed method ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสิน จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุที่สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำไม่เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด คือ 1. ไม่มีสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการทำการตลาดทางตรง ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า 3. ปัญหาด้านการสื่อสารของพนักงาน ส่วนแนวทางการแก้ปัญหา คือ ธนาคารออมสินควรให้ความสำคัญด้านโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงและเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมการตลาด และเพิ่มจำนวนพนักงานให้เพียงพอต่อการบริการ รวมไปถึงการจัดอบรมพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานด้านทักษะการขายและบริการ เพื่อให้สามารถให้บริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน51 532 - Publicationแนวทางการเพิ่มยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสําหรับข้าราชการบํานาญและลูกจ้างประจํา กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาสาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอด เป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ ที่มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2) หาแนวทาง แก้ไขปัญหาที่ยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการและลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 185 ราย และทำการสัมภาษณ์ เชิงลึกแบบเจาะจงกลุ่มผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา พนักงานและลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสินเชื่อ และกลุ่มข้าราชการและลูกจ้างประจำโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าที่เกษียณอายุราชการในปี 2564 รวมจำนวน 20 ราย หาสาเหตุจากทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P's พฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจขอสินเชื่อของผู้ใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาแนวทางแก้ไขด้วย SWOT Analysis เขียน แผนผังก้างปลา และหาแนวทางเลือกด้วยตาราง TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญ และลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มาจากปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 7P's ได้แก่ ด้านช่องทางการบริการ มีสาเหตุรองคือ สถานที่จอดรถของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีไม่เพียงพอ และไม่มีช่องทางหรือป้ายให้คำแนะนำโปรโมชั่นสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อภายในสาขาให้ลูกค้าที่มาใช้บริการทราบ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีสาเหตุรองคือ สาขาชัยสมรภูมิ ไม่ออกบูธให้บริการสินเชื่อนอกสถานที่ และการประชาสัมพันธ์ตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีข้อตกลงหน่วยงาน (MOU) ด้านราคา มีสาเหตุรองคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญสูงกว่าธนาคารอื่น และการกำหนดวงเงินกู้ขั้นต่ำที่จะขอกู้เพิ่มเติมได้จากวงเงินกู้ครั้งแรกหลังผ่อนชำระมาแล้วสาขากำหนดไว้สูง และด้านบุคลากร มีสาเหตุรองคือ จำนวนพนักงาน ให้บริการสินเชื่อมีไม่เพียงพอ และความรู้ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์สินเชื่อของพนักงาน 2) ได้แนวทางเลือกเพื่อแก้ไขสาเหตุของปัญหามี 4 แนวทาง คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด แนวทางด้านบุคลากร แนวทางด้านช่องทางการบริการ และแนวทางด้านราคา ผู้ศึกษานำผลที่ได้ ข้อดีและข้อเสียของแต่ละแนวทาง รวมถึงงบประมาณและระยะเวลาที่ต้องใช้ดำเนินการ จัดทำเป็นหนังสือเสนอผู้อำนวยการเขต ผู้จัดการสาขา และคณะกรรมการสินเชื่อสาขา เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุด ผลที่ได้ คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด ด้วย เหตุผลที่ใช้ระยะเวลาสั้น งบประมาณน้อย สามารถดำเนินการได้ทันที ด้วยแผนการออกบูธให้บริการ สินเชื่อกับหน่วยงานราชการที่มีบันทึกข้อตกลงสินเชื่อ MOU กับสาขาชัยสมรภูมิ และเน้นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสินเชื่อและสิทธิพิเศษให้ลูกค้าทราบผ่านเทคโนโลยีรูปแบบดิจิทัล ด้วยการสมัคร ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง แอปพลิเคชัน MYMO ของธนาคารออมสินและช่องทางออนไลน์อื่นๆ111 531 - Publicationแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีตาก(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาสาเหตุของปัญหาการลดลงของสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ รวมไปถึงเพื่อการกำหนดแนวทางการเพิ่มยอดของสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ของธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีตาก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกคือ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ รวมถึงผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการด้านสินเชื่อ จำนวน 5 ราย ผู้ใช้บริการสินเชื่อชีวิตสุขสันต์เดิมจำนวน 20 ราย ผู้ที่ไม่เคยขอสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ จำนวน 20 ราย ประชากรที่ใช้การเก็บแบบสอบถามคือ ผู้ใช้บริการสินเชื่อชีวิตสุขสันต์เดิมของธนาคารออมสินสาขาบิ๊กซีตาก จำนวน 100 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาคือ สลากออมสินมีไม่เพียงพอต่อความต้องการซื้อของลูกค้า ลูกค้าที่ไม่เคยกู้สินเชื่อชีวิตสุขสันต์ ไม่ทราบว่าสลากออมสินสามารถนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินได้ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อชีวิตสุขสันต์สูงกว่าดอกเบี้ยการฝากสลากที่ลูกค้าจะได้รับ และสลากออมสินครบอายุแต่ลูกค้าสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ที่นำสลากออมสินมาเป็นหลักประกันไม่ทราบ เมื่อวิเคราะห์แล้วพบแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ แนวทางการเตรียมความพร้อมในการจัดช่องบริการพิเศษสำหรับซื้อสลากออมสิน โดยเฉพาะแนวทางกิจกรรมเชิงรุกประชาสัมพันธ์สินเชื่อชีวิตสุขสันต์103 729 - Publicationแนวทางการแก้ปัญหาการซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อที่ลดลงของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการตัดสินใจซื้อหรือขายประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินกู้ (MRTA) ประสบการณ์ในการซื้อและขายประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ การศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อการให้กู้เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อและเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มรายได้ค่านายหน้าของธนาคาร ตลอดจนค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาการซื้อประกันเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อที่ลดลงของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในจังหวัดเชียงราย ทำการสำรวจเฉพาะในจังหวัดเชียงราย ใช้แบบสอบถามจำนวน 100 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานสินเชื่อ จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า อายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับรายได้ และทัศนคติต่อการประกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อที่แตกต่างกัน รวมถึงช่องทางการขายและการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานและลูกค้าในเรื่องการประกันมีข้อจำกัด ส่วนสาเหตุที่ไม่ซื้อประกันแบบคุ้มครองวงเงินสินเชื่อคือทัศนคติของกลุ่มลูกค้าที่มีต่อการประกันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่อยากทำประกันแต่รายได้น้อยทำให้วงเงินกู้สำหรับชำระค่าเบี้ยประกันที่แยกสัญญาตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและมีการพิจารณาการกู้ตามเกณฑ์รายได้ทำให้ขาดโอกาสในการทำประกัน 2 กลุ่มที่ไม่อยากทำประกัน อาจมีอคติส่วนตัวกับการทำประกันชีวิตจะรีบปฏิเสธการทำประกันทันทีที่พนักงานให้คำแนะนำเนื่องจากเป็นประกันภาคสมัครใจ และส่วนใหญ่มีประกันชีวิตอยู่แล้วไม่อยากเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย 3. กลุ่มที่ลังเลใจมักไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจทำด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ไม่ต้องการมีภาระในการผ่อนค่าเบี้ยประกันเพิ่มจากสัญญาการกู้หลัก ผู้วิจัยเลือกกลยุทธ์การเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายประกัน เนื่องจากช่องทางการขายมีความสำคัญ การจำกัดช่องทางการขาย หรือการสื่อสารก็จะส่งผลให้การนำเสนอข้อมูล ไม่ครบถ้วน ช่องทางการสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกและน่าเชื่อถือ จึงเป็นการดีที่ทางธนาคารจะเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อช่วยให้พนักงานมีทางเลือกในการสื่อสารกับลูกค้าแม้จะอยู่ห่างไกล เช่น กรณีลูกค้ายื่นกู้ผ่านต่างสาขา35 324 - Publicationแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจํานําทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน สายงานกิจการสาขา 1(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาเรื่อง แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อ จำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน สายงานกิจการสาขา 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน ได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการธุรกรรมทางเงินธนาคารออมสินจากสาขาในสังกัดสายงานกิจการสาขา 1 ที่มีความสนใจใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท มีสถานภาพโสด และมีรายได้อยู่ในช่วง 10,000 – 20,000 บาท ด้านของพฤติกรรมการใช้บริการพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถของธนาคารออมสิน มีเหตุผลที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ต้องใช้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อจำนำทะเบียนรถของธนาคารออมสิน ผ่านช่องทาง Social media โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยที่มีความต้องการวงเงินกู้ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาท ด้านแรงจูงใจในการเลือกใช้บริการส่งเชื่อจำนำทะเบียนรถ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่สนใช้บริการมีแรงจูงใจจากการใช้สินเชื่อจำนำทะเบียนรถง่าย เพราะไม่ต้องใช้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายในอยู่ในระดับสำคัญมาก และแรงจูงใจภายนอก คือ ขั้นตอนการใช้บริการที่สะดวกรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก ในด้านของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับสำคัญมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านราคา มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับสำคัญมากที่สุด โดยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญปัจจัยด้านราคา ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ในการใช้พิจารณาการใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน ปัจจัยด้านอื่นที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญรองลงมาโดยเรียงลำดับจากสำคัญมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านพนักงาน ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ70 534