logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "สมรรถภาพในการทำงาน"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานด้วยการพัฒนาขั้นตอนการดําเนินงานและการจัด Layout กรณีศึกษาแผนก Operation บริษัท FLS1993 (Thailand) Co., Ltd.
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    ฐิตินันท์ เย็นสบาย.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบปัญหาจากการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า แต่ละฝ่ายต้องมีการติดต่อสื่อสารกันภายใน เพื่อให้งานแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นไปด้วยดีแต่การวาง Layout ของแผนก ทำให้ฝ่ายที่มีการติดต่อสื่อสารมากอยู่ไกลกัน ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างแผนก การส่งเอกสารต้องใช้ระยะทางและเวลามากขึ้น และยังพบว่า ขั้นตอนการดำเนินงานบางส่วนมีการซ้ำซ้อนกันของแต่ละฝ่าย กล่าวคือ งานที่ควรเป็นของฝ่ายที่ 1 แต่ฝ่ายที่ 2 กลับมาทำงานนี้ด้วย ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการทำงาน จากปัญหาที่กล่าวมา ถือเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับพนักงานโดยไม่จำเป็น ทำให้พนักงานต้องทำงานหนักขึ้น และเป็นการใช้เวลาในการทำงานมากเกินไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานโดยการลดระยะเวลาในการทำงาน และขั้นตอนของการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการทำงานและการจัดวาง Layout ภายในสำนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในด้านระยะเวลาการปฏิบัติงานของพนักงาน จากการศึกษาความรู้เรื่องทฤษฎี Load-distance Technique, ทฤษฎี ECRS, Lean Office และการจัดวาง Layout สำนักงาน เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานและปรับปรุง Layout ของสำนักงานใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อขั้นตอนการนำเข้า ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานของ CS ลดลงจาก 5 ขั้นตอน เหลือ 2 ขั้นตอน เวลาในการทำงานรวมลดลง 1 ชั่วโมง จากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน คิดเป็น 19.34% เวลาในการติดต่อสื่อสารลดลง 15 นาที คิดเป็น 42.85% ระยะทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและส่งเอกสาร ลดลง 20 เมตร คิดเป็น 33.89% เส้นทางการติดต่อสื่อสารและการส่งต่อเอกสารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การทำงานไหลลื่นมากขึ้น หลังจากปรับปรุงกระบวนการทำงานและการจัด Layout ใหม่ช่วยให้เวลาและระยะทางในการทำงานลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในด้านระยะเวลาในการทำงาน และขั้นตอนของการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา นอกจากนี้การปรับปรุงที่เกิดขึ้นยังช่วยให้เส้นทางการติดต่อสื่อสารและการส่งต่อเอกสารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การทำงานไหลลื่นเป็นขั้นตอนมากขึ้น
      136  1170
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    นรินทร์ภัทร์ อ่อนละมูล.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานตรวจสอบการเงิน 2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) กลุ่มตัวอย่างจากผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 10 ท่าน และใช้แบบสอบถามตามแนวคิดมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert Rating Scales) ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงิน จำนวน 5 ปัจจัย และปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น จำนวน 4 ปัจจัย โดยใช้สูตรคำนวณหาขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จำนวน 278 คน การวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินโดยภาพรวม มีระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.00 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.88 โดยมีปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.23 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินสูงที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กรระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.96 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.87 ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 และปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.83 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.93 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมมีระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 โดยมีปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.37 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้นสูงสุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กร ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.34 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.22 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 และปัจจัยด้านลักษณะของการทำงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.09 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยเฉพาะปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ และจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการตรวจสอบการเงินของบุคลากรนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ดังนั้นควรมีข้อกำหนดที่ชัดเจนในการชี้แจงเหตุผลและแสดงพยานหลักฐานของหน่วยรับตรวจ พร้อมสื่อสารข้อกำหนดดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้องค์กรควรส่งเสริมด้านฝึกอบรม พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมให้แก่บุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      169  1487
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS