Browsing by Subject "ลูกหนี้"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationสาเหตุและแนวทางแก้ไขปริมาณลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปริมาณลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย เกิดจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ลดลง โดยจากผลการดำเนินงานในปี 2563 มีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อทั้งหมดร้อยละ 3.60 ของสินเชื่อรวม ซึ่งธนาคารต้องดำเนินการตั้งสำรองเพื่อรองรับไว้มากกว่าร้อยละ 200 ของ NPLs ทั้งหมดของธนาคาร วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1. เพื่อศึกษาสาเหตุการเกิดหนี้ค้างชำระของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ทั้ง 3 สาขา 2. เพื่อนำข้อมูลมากำหนดแนวทางการปรับปรุง และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อลดปริมาณการเกิดลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ของผู้ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์แบบ Mixed Method ได้แก่ 1. การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ที่มียอดค้างชำระเกิน 90 วัน จากรายการในระบบ Intranet ของธนาคาร จำนวน 156 บัญชี จากทั้งหมด 250 บัญชี 2. สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริหาร และพนักงานบริหารหนี้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้ลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในจังหวัดเชียงราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้มาจาก 3 สาเหตุหลัก และ 9 สาเหตุรอง คือ 1) ปัจจัยภายนอก สาเหตุรอง คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี นโยบายการควบคุมโรคระบาดของรัฐบาล และนโยบายการช่วยเหลือของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย 2) ปัจจัยภายใน (ธนาคาร) สาเหตุรอง คือ อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป 3) ปัจจัยส่วนบุคคล สาเหตุรอง คือ ไม่มีรายได้พิเศษอื่นนอกจากงานประจำ ถูกลดค่าจ้าง/ลาออกจากงานประจำ และมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และผู้ศึกษาได้เลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการประชาสัมพันธ์รายละเอียดมาตรการประนอมหนี้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และเงินงวดที่ปรับลดลงเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเพื่อให้ลูกค้าสามารถผ่อนชำระได้77 466 - Publicationแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากปัจจุบันมีแนวโน้มลูกหนี้ค้างชำระเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อธนาคารในระยะสั้นและระยะยาว วัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อหาสาเหตุของปัญหาลูกหนี้ค้างชำระที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการด้านสินเชื่อของลูกค้าเงินกู้ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระเพื่อลดและป้องกันการเกิดหนี้ค้างชำระ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าเงินกู้ธนาคารประเภทสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย ที่มีหนี้ค้างชำระ จำนวน 213 ราย และทำการสัมภาษณ์ลูกค้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด จำนวน 10 ราย รวมถึงสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องทางด้านสินเชื่อโดยตรง จำนวน 3 รายคือ ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา หัวหน้าหน่วยอำเภอ และพนักงานพัฒนาธุรกิจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสาเหตุของปัญหาลูกหนี้ค้างชำระที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น พบว่าสาเหตุที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ มาจากปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายนอก และปัจจัยจากภายในธนาคาร โดยปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้มากที่สุด คือ รายได้ลดลง ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้มากที่สุด คือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัจจัยภายในธนาคารที่ส่งผลต่อการค้างชำระมากที่สุด คือ จำนวนการส่งชำระต่องวดสูงเกินไป และจากผลการสัมภาษณ์ลูกค้าและพนักงานทำให้ได้ข้อมูลว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ลดลงและสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันส่งผลต่อการประกอบอาชีพและรายได้ของลูกค้า พนักงานกำหนดงวดชำระไม่สอดคล้องกับรายได้ของลูกค้า ด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการสินเชื่อของลูกค้าผู้กู้ ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสินเชื่อมากที่สุดคือ ลูกค้าให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน พนักงานบริการ รองลงมาคือ ด้านกระบวนการบริการ ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ตามลำดับ แนวทางแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย เลือกใช้ 2 แนวทางเลือก คือแนวทางเลือก กลยุทธ์เชิงรุก เพิ่มความถี่ในการติดตามหนี้ มีการติดตามหนี้อย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของทีมงาน หัวหน้างานมอบหมายให้พนักงานแต่ละคนรับผิดชอบ มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และควรมีการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้น และแนวทางเลือกกลยุทธ์เชิงแก้ไข มีการจัดอบรมให้ความรู้พนักงาน ด้านกระบวนการให้สินเชื่อ การวิเคราะห์สินเชื่อ และการบริหารจัดการหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น เกิดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคาร สามารถวิเคราะห์สินเชื่อได้อย่างมีคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง กำหนดงวดชำระได้ตรงกับที่มาของรายได้ลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระหนี้ของลูกค้า และเมื่อลูกค้ามีปัญหาในการชำระหนี้ พนักงานสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการหนี้ได้ถูกต้องตรงจุด เพื่อลดและป้องกันการเกิดหนี้ค้างชำระ55 489