Browsing by Subject "ราคาหลักทรัพย์"
Now showing 1 - 9 of 9
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและราคาหุ้น บริษัทไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆที่ส่งผลราคาหุ้นบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กับตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคและทางการเงินรวม 5 ตัวแปร จากการใช้วิธีการทดสอบของ Pesaran et al. (2001) ไม่พบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างตัวแปรดังกล่าว จึงทดสอบหาความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้ด้วยวิธีการทดสอบของ Granger and Newbold (1974) และเพิ่มตัวแปรหุ่น การประกาศภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(Covid-19) พบว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนสูงสุด ปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยส่งผลกระทบในทิศทางทางบวกต่อราคาหุ้น ในขณะที่การประกาศภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ส่งผลกระทบในทิศทางลบต่อราคาหุ้น
146 513 - Publicationการศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาหุ้นแอมะซอน.คอมในระบบอีคอมเมิร์ซการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาหุ้นแอมะซอน.คอมในระบบอีคอมเมิร์ซ โดยใช้ข้อมูลอนุกรมรายไตรมาส (Time series) ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2551 ถึง ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2563 ระยะเวลา 12 ปีย้อนหลัง รวมทั้งสิ้น 48 ไตรมาส โดยใช้แบบจำลอง ARDL (Autoregressive Distributed Lag) และทดสอบด้วยวิธี Cointegration เพื่อหาความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวระหว่างอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ และราคาหุ้นแอมะซอน.คอม ผลการศึกษาความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวของตัวแปรอิสระทั้งหมด 5 ตัวแปร โดยใช้ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินจาก 5 กลุ่มอัตราส่วน ได้แก่ 1.อัตราส่วนเงินหมุนเวียน (Current Ratio: CR) 2. อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover: TAT) 3. อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio:D/E) 4. อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on equity ratio: ROE) 5. อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (P/BV Ratio: PBV) ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนเงินหมุนเวียน (Current Ratio: CR) อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover: TAT) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on equity ratio: ROE) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (P/BV Ratio: PBV) ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์แอมะซอน.คอมอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาว แต่อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio: D/E) ไม่ส่งผลกระทบต่อ ราคาหลักทรัพย์แอมะซอน.คอมอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาว
213 670 - Publicationความสัมพันธ์ของการวางแผนภาษีและกำไรทางบัญชีที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET100วัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการวางแผนภาษีและกำไรทางบัญชีที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET100 โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินของปี 2560 และปี 2561 มีบริษัทกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 42 บริษัท และมีตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 84 ตัวอย่าง ตัวแปรที่ใช้ใน การศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรต้น คือ การวางแผนภาษีซึ่งวัดจากอัตราภาษีที่แท้จริง (ETR) และการวางแผนภาษีซึ่งวัดจากอัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) กำไรทางบัญชีซึ่งวัดจากอัตรากำไรต่อหุ้น ตัวแปรตาม คือ ราคาหลักทรัพย์ และตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของกิจการ และกลุ่มอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า กำไรทางบัญชีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หมายความว่า ถ้ากำไรทางบัญชีเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้ากำไรทางบัญชีลดลงจะส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ลดลง การวางแผนภาษีซึ่งวัดจากอัตราภาษีที่แท้จริง (ETR) และการวางแผนภาษี ซึ่งวัดจากอัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) ไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ และในส่วนของตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาหลักทรัพย์ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกลุ่มอุตสาหกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์
435 5909 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2561 เป็นเวลา 12 ไตรมาส 37 บริษัท ทำให้มีจำนวนตัวอย่างที่มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 434 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยอย่างง่าย (Simple Linear Regression) จากผลการศึกษาแบบ จำลอง ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ พบว่า อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (ROA) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพราะเมื่อกิจการมีความสามารถบริหารงานหรือใช้สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกำไรสูง บริษัทก็จะจ่ายเงินปันผลดี มูลค่าบริษัทสูงขึ้น ทำให้ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นส่วนอัตราส่วนกำไรสุทธิของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (NPM) และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (OIM) ไม่มีความสัมพันธ์กันกับอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือ อัตราส่วนกำไรสุทธิของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (NPM) และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (OIM) ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นลงเช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ สถานการณ์การเมือง นโยบายของรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ การแข่งขันในอุตสาหกรรม และอีกหลายๆ ปัจจัยที่ส่งต่อผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์
345 1198 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการหมวดขนส่งและโลจิสติกส์การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 64 ตัวอย่าง ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2561 โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน จำนวน 4 อัตราส่วน คือ อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนนโยบายทางการเงิน โดยใช้ราคาหุ้น ณ วันสิ้นปี เป็นตัวแปรตาม และวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ คือ อัตราส่วนนโยบายทางการเงิน และ อัตราส่วนสภาพคล่อง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาหุ้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
163 617 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 8 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 28 บริษัท และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จำนวน 2 บริษัท รวม 38 บริษัท ในช่วงไตรมาศที่ 1 พ.ศ.2557 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รวมทั้งสิ้น 912 ตัวอย่าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า มีอัตราส่วนทางการเงินจำนวน 8 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราความสามารถในการชำระดอกเบี้ย อัตรากำไรขั้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญจากนั้นเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการใส่ตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) ทำการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ที่อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราความสามารถในการช าระดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ในขณะที่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษากับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการแทนค่าตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) พบว่าความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ตลาดหลักทรัพย์ไม่มีความแตกต่างกัน
1325 24445 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นอุตสาหกรรม S-Curve ที่มีการทำธุรกิจและการลงทุนในจีนการศึกษาครั้งนี้ได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มที่เป็นอุตสาหกรรม S-Curve ที่มีการทำธุรกิจและการลงทุนในประเทศจีน ปัจจัยที่เลือกในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ประเทศจีน (Shanghai Composite (SSEC)) และ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่อยู่ในภาคการผลิตและมีความเชื่อมโยงกับจีน ทั้งที่มีรายได้จากจีน และการลงทุนในจีน โดยการเลือก 3 บริษัท คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา (Secondary Time Series Data) เป็นรายเดือนตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2559 – 31 พฤษภาคม 2564 รวมระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง สถิติในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นอุตสาหกรรม S-Curve ที่มีการทำธุรกิจและการลงทุนในจีน ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าที่ระดับนัยสำคัญร้อยละ 95 ตัวแปรที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ของ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) อย่างมีนัยสำคัญมี 1 ตัวแปร คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ตัวแปรที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ของ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) โดยมีตัวแปรที่มีนัยสำคัญทั้งหมด 3 ตัว คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวน (CNY_THB) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ประเทศจีน (Shanghai Composite (SSEC)) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีน มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ตัวแปรที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ของ พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) โดยมีตัวแปรที่มีนัยสำคัญทั้งหมด 2 ตัว คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวน (CNY_THB) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
46 436 - Publicationปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของรัฐในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของรัฐ ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้รูปแบบสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regressions) แล้วประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square) ซึ่งจะใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 รวมทั้งสิ้น 84 เดือน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์ของรัฐ ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาติ จำกัด มหาชน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับปัจจัยที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐอายุ 7 ปี ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากการศึกษาผล พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีราคา หลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของรัฐ ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้ง 3 ธนาคารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอัตราแลกเปลี่ยน เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของรัฐ ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์เพียง 2 ธนาคาร คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญและเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ในส่วนของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐอายุ 7 ปี ไม่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของรัฐในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ทั้ง 3 ธนาคาร
184 861 - Publicationผลกระทบของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ เรื่องสัญญาเช่า ต่อความเกี่ยวข้องของข้อมูลทางบัญชีในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย = The Impact of the new financial reporting standard “Leases” on the value relevance of accounting information of companies listed on the Singapore Stock Exchange and the Malaysia Stock Exchange(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2021)
; ; ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของข้อมูลทางบัญชีจากการปฏิบัติใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า (IFRS 16) ของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละประเทศ ได้แก่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียเมื่อต้องปฏิบัติตาม IFRS 16 เป็นครั้งแรก และเพื่อทดสอบความแตกต่างของความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละประเทศ รวมถึงศึกษาความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละประเทศ โดยจะศึกษาข้อมูลจากงบการเงินและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ช่วงเวลาที่ทำการศึกษาอยู่ระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2561 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์จำนวน 107 บริษัท และกลุ่มตัวอย่างจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียจำนวน 252 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทที่มีรายการสัญญาเช่าตาม IFRS 16 เท่านั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบสมการถดถอยด้วย Chow test จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติใช้ IFRS 16 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชีกำไรต่อหุ้น และกำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่ใช้ในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย แต่เมื่อพิจารณาสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าที่เป็นรายการที่รับรู้ขึ้นโดยตรงตาม IFRS 16 พบว่า สินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่ามีความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนทั้งสองประเทศ และผลการศึกษายังพบว่าการจัดประเภทสัญญาเช่าใหม่ตาม IFRS 16 ส่งผลต่อความเกี่ยวข้องของสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย นอกจากนี้จากการทดสอบความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ส่วนเพิ่ม พบว่า ความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ไม่มีความแตกต่างกัน และจากการทดสอบความแตกต่างของความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้น พบว่าความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นที่ใช้ในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ไม่มีความแตกต่างกัน หรือกล่าวได้ว่าเมื่อ IFRS 16 มีผลบังคับใช้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้น ดังนั้นผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า IFRS 16 มีส่วนช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์จากข้อมูลทางบัญชีที่รับรู้ขึ้นโดยตรงจากการปฏิบัติตาม IFRS 16 ได้แก่ สินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า ซึ่งเป็นการให้หลักฐานใหม่ว่าสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าเป็นข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียหรือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ถึงแม้ว่า IFRS 16 จะไม่ส่งผลต่อความเกี่ยวข้องระหว่างมูลค่าตามบัญชี กำไรต่อหุ้น และกำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อหุ้นกับราคาหลักทรัพย์ของทั้งสองประเทศ219 308