Browsing by Subject "ภาพลักษณ์องค์การ"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
- Publication7 ทศวรรษ อัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ สู่ฉากทัศน์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564 – 2573) = 7 decades of television news brand identity to the scenario in the next decade (2021 – 2030)(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2023)
; ; ; ; งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 โดยเป็นการวิจัยเชิงอนาคต (futures research) ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน ได้แก่ผู้บริหารองค์กรสื่อโทรทัศน์ จำนวน 10 คน ผู้บริหารองค์กรสื่อออนไลน์ จำนวน 3 คน ผู้บริหารองค์กรวิชาชีพสื่อ จำนวน 2 คน และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์ของอัตลักษณ์ตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 มี 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านวิสัยทัศน์ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรมุ่งนำเสนอข่าวเพื่อตอบสนองกลุ่มคนรุ่นใหม่ และมีเนื้อหาพิเศษที่ผู้ชมต้องเสียค่าใช้จ่ายในการชม 2. ด้านวัฒนธรรม 2.1 องค์กรข่าว ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อเท็จจริง กองบรรณาธิการทำงานอย่างคล่องตัว ต้องบูรณาการทุกสื่อรวมกัน โดยผลิตข่าวให้สอดคล้องกับช่องทางการนำเสนอในแต่ละช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้ความสำคัญกับศิลปะในการผลิตข่าวโทรทัศน์มีการสร้างแฟนคลับรายการข่าว 2.2 คนข่าว คนข่าวควรมีทักษะในการสืบค้นข้อมูล มีความสนใจเรื่องเทคโนโลยีมีทักษะการทำงานในหลายแพลตฟอร์ม มีทักษะในการเล่าเรื่องข้ามสื่อ นำเสนอข่าวด้วยทักษะความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล 3. ด้านตำแหน่งทางการตลาด มองกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเฉพาะ สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม 4. ด้านบุคลิกภาพ กำหนดบุคลิกภาพรายการที่สอดคล้องกับบุคลิกของผู้ชม เช่น บุคลิกภาพแบบไม่เป็นทางการ เป็นกันเอง เป็นคนรุ่นใหม่ มีสาระบันเทิง มีนวัตกรรม อธิบายให้เข้าใจง่าย เล่าสนุก เป็นต้น 5. ด้านความสัมพันธ์ ผู้สร้างสรรค์รายการข่าวโทรทัศน์ควรนำเสนอเนื้อหาเชื่อมกับทุกแพลตฟอร์ม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม สร้างการมีส่วนร่วมแบบทันทีทันใด สร้างรูปแบบให้ติดตามข่าวแบบเพลย์ลิสต์ นำข้อมูลของผู้บริโภคในโลกออนไลน์มาใช้ในการสร้างสรรค์รายการข่าว สร้างตราสินค้าคนข่าว สร้างช่องทางให้ประชาชนรายงานข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 6. ด้านวิธีการนำเสนอ กำหนดเนื้อหาตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย มีเนื้อหาที่เชื่อมประสบการณ์ผู้ชม มีแขกรับเชิญที่น่าสนใจ การนำเสนอ ใช้รูปแบบการเล่า ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่มีศิลปะ อธิบาย วิเคราะห์ให้เข้าใจง่าย คำนึงถึงรสนิยมคนดูและมีวิธีการนำเสนอที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการรายงาน49 311 - Publicationกลยุทธ์การรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์องค์กรต่อการสื่อสารในภาวะวิกฤต : กรณีข่าวลวงผ่านสื่อออนไลน์ = Brand image strategy in crisis communication : fake news via online media(University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
; ; ; งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการลวงที่เกิดขึ้นกับแบรนด์องค์กรผ่านสื่อออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของแบรนด์องค์กรจากการเผยแพร่ข่าวลวงผ่านสื่อออนไลน์ 3) เพื่อศึกษากลยุทธ์การกำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์องค์กรในกรณีข่าวลวงผ่านสื่อออนไลน์ และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือของแบรนด์องค์กรกับภัยคุกคามจากสื่อออนไลน์กรณีข่าวลวง ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าจำนวนประเด็นข่าวลวงที่นำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ มากที่สุด คือข่าวกลุ่มภัยพิบัติ และใช้วิธีการลวงด้วยการเผยแพร่/แชร์/โพสต์คำเตือนที่เป็นเท็จ รวมถึงการวนซ้ำข่าวเก่า/ข่าวลือ/กลโกง มากที่สุด สำหรับวิธีการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวลวงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มากที่สุด คือการขึ้นต้นด้วยข้อความพาดหัวข่าวด้วยคำว่า “ข่าวปลอม! ข่าวบิดเบือน!อย่าแชร์! และผลกระทบจากการเผยแพร่ข่าวลวงผ่านสื่อออนไลน์ มากที่สุด คือทำให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนก90 353 - Publicationการศึกษาแรงจูงใจ ทัศนคติด้านภาพลักษณ์องค์กรและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส ทวีรัก99 กรณีศึกษาสํานักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดร้อยเอ็ด(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาแรงจูงใจ ทัศนคติด้านภาพลักษณ์องค์กรและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส. ทวีรัก99 กรณีศึกษาสํานักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจของลูกค้าที่มีผลต่อการใช้บริการผลิตภัณฑ์เงิน ฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส. ทวีรัก99 2) เพื่อศึกษาทัศนติด้านภาพลักษณ์ขององค์กรของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส. ทวีรัก99 3) ทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดของลูกค้าต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส. ทวีรัก99 เพื่อนําไปวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด พัฒนาช่องทางในการส่งเสริมการขายให้กับสํานักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดร้อยเอ็ด ให้มีการซื้อผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส. ทวีรัก99 เพิ่มมากขึ้น โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างลูกค้าผู้ถือผลิตภัณฑ์ จํานวน 400 คน จาก 5 สาขา ในสํานักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพเกษตรกร ในครอบครัวมีจํานวนสมาชิกเพียง 2-3 คน มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท พฤติกรรมการซื้อเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส.ทวีรัก99 ส่วนมากซื้อวงเงินคุ้มครอง 100,000 บาท โดยจะซื้อเพื่อเป็นเงินทุนหลังการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ทราบข้อมูลผลิตภัณฑ์จากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ได้แก่ ครอบครัว เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ส่วนมากจะซื้อผ่านนายหน้าประกัน/เคาเตอร์ธนาคาร 1) แรงจูงใจมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส. ทวีรัก99 ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% 2) ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อภาพลักษณ์องค์กร ในด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความสัมพันธ์ และด้านการบริหาร มีผลต่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% 3) ทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านหลักฐานกายภาพบริการ ด้านราคา และด้านกระบวนการ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส.ทวีรัก99 ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% นั้นหลากหลายด้านซึ่งลําดับตามที่ลูกค้าให้ความสําคัญต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ธ.ก.ส. ทวีรัก99 ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านหลักฐานกายภาพบริการ ด้านราคาและด้านกระบวนการตามลําดับ57 460 - Publicationภาพลักษณ์องค์กรและทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้เครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ของธนาคารออมสิน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาภาพลักษณ์องค์กรและทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้ เครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ของธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์องค์กรและศึกษาทัศนคติด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการใช้บริการ EDC ของธนาคารออมสิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มร้านค้าสมาชิกที่ใช้บริการ EDC ของธนาคารออมสิน จำนวน 105 ร้านค้า และกลุ่มร้านค้าที่ใช้บริการ EDC ของธนาคารอื่น จำนวน 8 ร้านค้า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 105 คน เลือกใช้เครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ของธนาคารออมสิน ที่มีผลต่อด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านองค์ประกอบทางกายภาพ มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.79 อยู่ในระดับมาก ดังนั้น สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการตลาดด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการให้กับธนาคารออมสินได้41 396